Economics

กกร. ห่วงจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าทำเศรษฐกิจไทยหดตัว ค่าแรง 450 บาทดันเงินเฟ้อ!

กกร. ห่วงจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าทำเศรษฐกิจไทยหดตัวจากเดิม 3-3.5% เหลือ 1-2%ค่าแรง 450 บาทดันเงินเฟ้อพุ่ง 0.82%

นายผยง ศรีวณิช ประธาน คณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน 3 สถาบัน กล่าวว่า ที่ประชุม กกร. มองว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่องจากการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดว่าทั้งปีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 30 ล้านคน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการจ้างงาน และสร้างรายได้เข้าประเทศ

ตั้งรัฐบาล

นอกจากนี้ รายได้ในภาคเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมยังขยายตัว ทำให้ผู้บริโภคมีกำลังใช้จ่ายบริโภคเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากการฟื้นตัวที่ล่าช้าของเศรษฐกิจโลก คาดว่าการส่งออกในปี 2566 หดตัว 1.0-00% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา GDP ขยายตัว 3-3.5% อัตราเงินเฟ้อ 2.7-3.2% โดยเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยท้าทาย หลัง กนง. ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% เพิ่มเป็น 2% และมีแนวโน้มว่าจะยังปรับชั้นต่อไปด้วยเหตุว่าเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับสูง

“ปัญหาภัยแล้ง ที่ประชุม กกร. มองว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบสูง หลังจากทั่วโลกเผชิญกับปัญหาเอลนีโญในปีนี้ อาจสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ 36,000 ล้านบาท กกร. จึงทำหนังสือส่งถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เสนอให้เร่งจัดทำมาตรการรับมือภัยแล้ง ทั้งในระยะเร่งด่วนและในระยะยาว มองว่าปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม เป็นตันทุนค่าเสียโอกาสของประเทศ” นายผยง กล่าว

ตั้งรัฐบาล
นายผยง ศรีวณิช

ทั้งนี้ ปัจจัยที่อาจกระทบต่อเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า ได้แก่ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาทต่อวัน อาจทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึง 0.82% ถ้าไม่มีการเพิ่มทักษะแรงงานและผลิตภาพแรงงานให้เหมาะสมไปพร้อมกับการปรับเปลี่ยน ราคาน้ำมันดีเซลอาจเพิ่มสูงขึ้น หากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลิตรละ 5 บาท สิ้นสุดลงในวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นทุนค่าขนส่งของผู้ประกอบการ ปัจจัยเหล่านี้จะกดดัน ต้นทุนของทั้งผู้ประกอบการและครัวเรือน

นอกจากนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อาจซ้ำเติมตันทุนของผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ตังนั้นมองว่าการปรับชั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. จะต้องรักษาสมดุลระหว่างเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และไม่ทั่วถึง เพื่อช่วยพยุงให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ที่ประชุม กกร. ยังคงมองว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลัก ที่ช่วยชับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในขณะนี้ การดูแลนักท่องเที่ยวให้มีความสะดวก ปลอดภัย จะเป็นแรงจูงใจดึงดูดให้ต่างชาติเลือกเดินทางเข้ามาในประเทศมากขึ้น ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนเพื่สร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ปัญหาคอขวดเรื่องการเพิ่มจำนวนเครื่องบินให้กับสายการบินของไทย ยังเป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว ซึ่งหากสามารถแก้ไขปัญหาสายการบินให้เพียงพอ นอกจากนี้ยังต้องแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำตามพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะตามเกาะต่าง ๆ

ตั้งรัฐบาล
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล

นายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตหสการรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า คงอาศัยเครื่องจักรจากการท่องเที่ยวอย่างเดียวไม่ได้ จึงต้องอาศัยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ แม้จะมีข้อจำกัดบางประการในช่วงเป็นรัฐบาลรักษาการ ยังพอมีช่องทางกระตุ้นให้เกิดกำลังซื้อ เพราะขณะนี้ค่าครองชีพสูงกว่ารายได้ของแรงงาน ขอให้เข้มงวดกวดขันการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ กระทบยอดขายเอสเอ็มอี 19 กลุ่ม ขณะนี้ผู้ประกอบการทำการผลิตสินค้าเพื่อยังชีพดูแลแรงงาน ต้องหาทางเพิ่มแหล่งทุนให้เอสเอ็มอี ในช่วงรอจัดตั้งรัฐบาลใหม่ช่วงเดือนสิงหาคม

“หากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าออกไป มาตรการต่าง ๆ การดึงดูดการลงทุน จากต่างชาติอาจรอไม่ได้ ทำให้แผนที่คาดการณ์ไว้ หากเลื่อนไป 1-2 เดือนอาจรอได้ หากเลื่อนออกไปครึ่งปี หรือ 1 ปี นักลงทุนต่างชาติ คงหนีไปลงทุนประเทศอื่นแทน และอาจทำให้จีดีพีคาดการณ์เดิม 3-3.5% เหลือ 1-2%

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK