Economics

ขับเคลื่อน ‘เศรษฐกิจชายแดน’ 10 จังหวัด ยุทธศาสตร์นำความเจริญสู่ภูมิภาค

ขับเคลื่อน ‘เศรษฐกิจชายแดน’ 10 จังหวัด จับมือประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียน เป็นยุทธศาสตร์นำความเจริญสู่ภูมิภาค

วันนี้ 12 ธันวาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อน การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งประกอบด้วย 10 จังหวัด คือ ตาก มุกดาหาร ตราด สระแก้ว สงขลา หนองคายนราธิวาส เชียงราย นครพนม และกาญจนบุรี

ซึ่งการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว เพื่อใช้ภูมิประเทศที่มีประเทศเพื่อนบ้านรายล้อมรอบทิศ เป็นจุดแข็งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้มั่นคงและยั่งยืนโดยมีแนวทางการพัฒนา เช่น การกำหนดเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อนักลงทุน การต่อยอดการพัฒนาพื้นที่จากทรัพยากรที่มีอยู่เดิม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดน การยกระดับการจัดการแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการส่งเสริมการสร้างงาน

เศรษฐกิจชายแดน

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอาทิ

  1. การลงทุนของภาคเอกชนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนตั้งแต่ปี 2558 มีมูลค่าการลงทุนรวม 3.7 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยการส่งเสริมการลงทุนโครงการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่พัฒนาที่ราชพัสดุเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด กาญจนบุรี และนครพนม การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและสงขลา การจัดตั้งธุรกิจใหม่และการจัดตั้งเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก มุกดาหาร หนองคาย เชียงรายและสงขลา
  2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีความก้าวหน้าร้อยละ 89 โดยโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงปี 2564 – 2565 เช่น ทางหลวงหมายเลข 3 ตราด-หาดเล็ก (เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด) ทางหลวงหมายเลข 211 แยก 2 อำเภอศรีเชียงใหม่ (เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย) นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาและบริหารจัดการการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว (เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย)
  3. การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน  มีศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงานในทุกจังหวัด เพื่อสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการในพื้นที่ และอำนวยความสะดวกในการพิจารณาออกใบอนุญาตการทำงานแก่แรงงานต่างด้าวในกลุ่มช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ และกลุ่มซึ่งมิใช่ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ โดยตั้งแต่ ตุลา 2560 – มิถุนายน 2565 ได้อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทุกสัญชาติ จำนวน 5.08 คน แล้วเศรษฐกิจชายแดน
  4. การบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาที่ราชพัสดุเพื่อนำร่องการลงทุน ขณะนี้มีเอกชนและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้เช่าพื้นที่พัฒนาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และสงขลา เพื่อก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมแล้วเสร็จและมีนักลงทุนเข้าใช้พื้นที่ดำเนินการแล้วส่วนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด นครพนม และกาญจนบุรี มีเอกชนผู้เช่าพื้นที่พัฒนาอยู่ระหว่างเตรียมการเข้าใช้พื้นที่ ขณะที่ เขตพัฒนาพิเศษเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก ทางกนอ. ได้ออกแบบนิคมอุตสาหกรรมและจัดทำรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ สำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (แปลงที่ 1) มุกดาหาร และหนองคาย อยู่ระหว่างการสรรหาผู้ลงทุนพัฒนาพื้นที่
  5. โครงการศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จด้านแรงงานต่างด้าว เพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการพิจารณาออกใบอนุญาตการทำงานและเพื่อบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวบริเวณชายแดนที่เข้ามาทำงานในลักษณะไป-กลับและตามฤดูกาลอย่างเป็นระบบมีแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษจำนวน 2.7 หมื่นคน

เศรษฐกิจชายแดน

หวังกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค

รัฐบาลตั้งเป้าให้การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่ การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค  พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

โดยใช้โอกาสจากศักยภาพของพื้นที่ทำเลที่ตั้งบริเวณชายแดน ผนึกกำลังกับการมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งในส่วนของข้อตกลงและสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดประโยชน์  จับมือร่วมสร้างเศรษฐกิจของประเทศในพื้นที่ชายแดนสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

เศรษฐกิจชายแดน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo