Auto

‘Dow’ เปิดตัว ‘LASD’ นวัตกรรมเคลือบพื้นห้องโดยสารรถยนต์ ลดเสียงรบกวน ช่วยรถน้ำหนักเบา

“Dow” เปิดตัวนวัตกรรมวัสดุเคลือบพื้นห้องโดยสารชนิดเหลวแบบฉีดพ่น ช่วยลดเสียงรบกวนภายในรถยนต์ ใช้ทดแทนการปูแผ่นยางกันเสียงพื้นห้องโดยสาร ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้รถมีน้ำหนักเบาขึ้น ตอบโจทย์ความยั่งยืน พร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย บรรลุเป้าหมายลดคาร์บอน

นวัตกรรมวัสดุเคลือบชนิดเหลวแบบฉีดพ่น ช่วยลดเสียงรบกวนภายในรถยนต์ (Liquid Applied Sound Damping – LASD) ที่ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทระดับโลกด้านวัสดุศาสตร์ เปิดตัวมานั้น ใช้พ่นเคลือบบนพื้น และปิดช่องว่างภายในรถยนต์ แทนการใช้แผ่นยางรองพื้นห้องโดยสาร (bitumen pad) ช่วยดูดซับเสียงที่เกิดขึ้นจากแรงสั่นสะเทือน หรือการกระทบกันของชิ้นส่วนรถยนต์ ใช้วัสดุปริมาณน้อยแต่ประสิทธิภาพสูง สามารถพ่นบนโครงสร้างรถได้ทุกขนาด ทุกรูปร่าง ใช้งานง่ายกว่าแบบแผ่น เพราะไม่ต้องสต็อกแผ่นยางขนาดแตกต่างกันในแต่ละโมเดลรถ ไม่มีเศษแผ่นยางเหลือทิ้ง

Dow

วัสดุเคลือบชนิดเหลวแบบฉีดพ่น ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งจากการผลิต และการใช้งาน เพราะใช้ในปริมาณน้อยว่าวัสดุอื่นถึง 50% โดยใช้เพียง 2.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

ขณะที่วัสดุอื่นต้องใช้ปริมาณถึง 4-6 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จึงช่วยให้รถยนต์มีน้ำหนักเบาขึ้น ประหยัดพลังงาน ทั้งคุณสมบัติการปล่อยสารระเหยน้อยกว่ายาง จึงมีกลิ่นฉุนน้อยกว่าทั้งในโรงงานและในรถใหม่ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะมีโอกาสในการทำปฏิกิริยากับวัสดุในไลน์การผลิตอื่นน้อยกว่า

Dow

นายอาร์โนลด์ เบนิเตส ผู้จัดการฝ่ายการตลาดสีอุตสาหกรรม กล่าวว่า วัสดุเคลือบพื้นห้องโดยสารชนิดเหลวแบบฉีดพ่นนี้ ออกแบบมาเพื่อเพิ่มการลดแรงสั่นสะเทือนในยานพาหนะขนาดเล็ก รถบรรทุก รถไฟ เครื่องจักร และอื่น ๆ ซึ่งมีประสิทธิภาพเหนือกว่าแผ่นยางปูพื้นแบบดั้งเดิมและวัสดุทางเลือก LASD อื่น ๆ

ทางด้านนายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า นอกจากใช้ในการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแล้ว นวัตกรรมวัสดุเคลือบ LASD ยังสามารถใช้ลดเสียงรบกวนให้กับยานพาหนะได้หลากหลายประเภท ทั้งรถโดยสารขนาดใหญ่ เรือ หรือ เครื่องบิน ที่ต้องการให้มีน้ำหนักเบา และประหยัดพลังงาน

Dow

ยิ่งไปกว่านั้น ยังใช้ในการผลิตเครื่องจักรเพื่อการก่อสร้างและการเกษตร รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย ซึ่งนวัตกรรมนี้จะช่วยพัฒนาทั้งด้านประสิทธิภาพ ความยั่งยืน และความคุ้มค่าของต้นทุนในการผลิตสินค้าได้เป็นอย่างดี”

ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ล่าสุดในการผลิตยานยนต์ โดยคลิกที่นี่ 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo