Business

‘ไออาร์พีซี’ คว้า ‘รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ’ ปี 2565

‘ไออาร์พีซี’ รับรางวัลเกียรติคุณองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ในงานวันนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2565 จากการบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้ามาใช้ในทุกขั้นตอนธุรกิจทั่วทั้งองค์กร

นายกฤษณ์ อิ่มแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC รับรางวัลเกียรติคุณ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ในประเภทองค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ ในงาน “วันนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2565” จาก รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน

ไออาร์พีซี

รางวัลเกียรติคุณองค์กรนวัตกรรมดีเด่น

รางวัลเกียรติคุณองค์กรนวัตกรรมดีเด่น เป็นรางวัลสำหรับองค์กรที่บูรณาการระบบดิจิทัล เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาใช้ในทุกขั้นตอนธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทั่วทั้งองค์กร ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล  รวมถึงงานวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดคุณค่าทั้งเชิงพาณิชย์และความยั่งยืน

ด้วยวิสัยทัศน์ “สร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุุและพลังงาน เพื่อชีวิตที่ลงตัว (TO SHAPE MATERIAL AND ENERGY SOLUTIONS IN HARMONY WITH LIFE)” IRPC จึงมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมจากองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญ ยกระดับวัสดุที่สร้างมูลค่า และการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานแห่งอนาคต ที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมยุคใหม่ เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี

นอกจากนี้ ยังมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมที่เป็นเลิศในทุุกๆ ด้าน ที่พร้อมต่อยอดองค์ความรู้ ผ่านการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดใหม่เพื่อแสวงหาแนวทางสร้างสรรค์จากการดำเนินธุุรกิจ และสร้างความหลากหลายให้ธุุรกิจเป็นมากกว่าปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการ ควบคู่การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุุรกิจ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “IRPC สร้างสิ่งที่ดีเพื่ออนาคต”

ไออาร์พีซี

นวัตกรรมที่ภาคภูมิใจ

ความสำเร็จด้านนวัตกรรมที่ IRPC มีความภาคภูมิใจ ได้แก่ การคิดค้นวิจัยนวัตกรรมเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษทางการแพทย์  PP เกรด Melt Blown” การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมปุ๋ยนาโนซิงค์ออกไซด์ “ปุ๋ยหมีขาว” การนำระบบ Digital “EKON$” ใช้ทั่วทั้งองค์กร สามารถปรับเปลี่ยนค่าควบคุมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด

และการนำ Robotic Process Automation (RPA) เทคโนโลยีออโตเมชันจาก IBM ไปใช้ในกระบวนการทำงานด้านการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ ความรวดเร็ว และประหยัดต้นทุน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการทำงานให้กับพนักงาน เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo