Business

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ จ่อ ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ แก้เงินเฟ้อ

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ส่งสัญญาณ ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ นโยบาย แก้เงินเฟ้อ ชี้ถึงเวลาต้องถอนคันเร่ง หากไม่ทำอะไรเลย ผลกระทบจะหนักกว่าขึ้นดอกเบี้ย 

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า  ปัจจัยเศรษฐกิจตอนนี้ ยังมีความไม่แน่นอน ทำให้จำเป็นต้องสร้างกันชน-ภูมิคุ้มกัน ทางเศรษฐกิจ 5 ด้าน ได้แก่ เสถียรภาพต่างประเทศ เสถียรภาพการคลัง เสถียรภาพการเงิน เสถียรภาพราคา และ ปัญหาเงินเฟ้อ

ขึ้นดอกเบี้ย

โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อ จากเดิมที่เคยต่ำมาก ทำให้ไม่ต้องสนใจอะไรมากนัก แต่หลังเกิดสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นจนเกินเป้า ซึ่งคาดจะถึงจุดพีคในไตรมาส 3 ปีนี้ ทำให้เรื่องเงินเฟ้อเป็นโจทย์สำคัญมากต่อภาวะเศรษฐกิจนี้

ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย อาจช่วยได้บางส่วน

จากการคาดการณ์ ปีนี้เศรษฐกิจโต 3.3% และปีหน้า 4.2% แต่จากปัญหาที่กล่าวมาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย การฟื้นตัวก็ช้า เนื่องจากไทยพึ่งพาการท่องเที่ยว แม้ตัวเลขจะฟื้นตัว แต่ปัญหาเงินเฟ้อทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจโต โดยเฉพาะหมวดพลังงาน ซึ่งส่งผลกระทบไปหลายด้าน ดังนั้นโจทย์ของนโยบายยังไม่เปลี่ยน คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้เศรษฐกิจโตไปได้ต่อเนื่อง

การมีนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาก อาจไม่จำเป็นเหมือนในอดีต ซึ่งคณะกรรมการ กนง.กังวลกระทบเรื่องปากท้อง การท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ดังนั้นกลไกการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย อาจเข้ามาช่วยในจุดนี้ได้บางส่วน

ขึ้นดอกเบี้ย

ประชาชนเจอผลกระทบหนัก ค่าใช้จ่ายพุ่ง

นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะสะท้อนกับกระทบเงินทุนเคลื่อนย้าย ตอนนี้เสถียรภาพเราไม่มีปัญหา สิ่งที่เราต้องดูคือเรื่องของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ เสถียรภาพการเงิน ทำให้การขึ้นดอกเบี้ยของไทย ควรเป็นแบบไทย ไม่ใช่ตามต่างชาติ

ดังนั้นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ช้าเกินไปก็ไม่ดี เร็วไปก็ไม่ดี เหมือนการเหยีบคันเร่งกับการแตะเบรก ที่ผ่านมานโยบายการเงินเราผ่อนปรนมากหากเทียบกับภูมิภาค ระยะต่อไปเราจึงต้องค่อยๆ ถอนคันเร่งแล้ว

การขึ้นดอกเบี้ยแม้จะส่งผลกระทบต่อประชาชนก็ต้องดูแล แต่ถ้าไม่ทำอะไร ผลกระทบต่อประชาชนจะยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ เพราะค่าใช้จ่ายในชีวิตของเขาจะเพิ่มขึ้น จากเงินเฟ้อมากกว่าอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต่างกันถึงประมาณ 7 เท่าตัว

ขึ้นดอกเบี้ย

นายเศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า ก่อนเกิดโควิด หลายคนประเมินว่าเศรษฐกิจจะโตได้ 3% แต่พอเกิดโควิดมาเศรษฐติดลบ 6% ถัดมาเจอเรื่องสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน จากเดิมเงินเฟ้อคาดไว้ 1% แต่สถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบันพุ่งไปถึง 6.2%

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่มากระทบเศรษฐกิจในขณะนี้  จะไม่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตามมา แต่ยอมรับว่ามีความกังวลเรื่องของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญ  สร้างการจ้างงาน จำนวนมาก หากไม่ฟื้นกลับมาเต็มที่ ก็จะมีปัญหา ซึ่งเชื่อว่าหลังจากเปิดประเทศ น่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo