Business

เพื่อชีวิตคนกรุง!! เร่งลงทุนระบบขนส่งมวลชนทางราง กทม.-ปริมณฑล ระยะทาง 553.41 กม.

ขนส่งทางราง กางแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล “ศักดิ์สยาม” ระบุหากดำเนินการครบทุกเส้นทางในปี 2572 จะมีโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกทม.และปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 553.41 กิโลเมตร 367 สถานี เพื่อสร้างจุดเชื่อมต่อ และกระจายการเดินทาง  ยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน และแก้ปัญหาการจราจรได้อย่างยั่งยืน

เมื่อเร็วๆนี้ คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม  เสนอเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ คจร. พ.ศ. 2521 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5 (1) มีสาระสาระสำคัญดังนี้

ขนส่งทางราง

ขนส่งทางราง เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

ความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

@ เปิดให้บริการแล้ว  11 เส้นทาง ระยะทางรวม 211.94 กิโลเมตร  ประกอบด้วยโครงการสายสีแดง (เหนือ) ช่วงบางซื่อ-รังสิต, สายสีแดง (ตะวันตก) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน,สายสีทอง ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน

@ อยู่ระหว่างก่อสร้าง 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 112.20 กิโลเมตร  อย่างเช่นโครงการสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี, แอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง

@ อยู่ระหว่างประกวดราคา มี 2 เส้นทาง ระยะทางรวม 37 กิโลเมตร ประกอบด้วย โครงการสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และโครงการสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์

@ อยู่ระหว่างดาเนินการตาม ขั้นตอนการร่วมลงทุน ระหว่างภาครัฐและเอกชน 6 โครงการ ระยะทาง 71.49 กิโลเมตร ประกอบด้วย โครงการสายสีแดง (เหนือ) ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต,โครงการสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ

@ โครงการส่วนต่อขยายเพิ่มเติม มี 9 เส้นทาง ระยะทาง 120.78 กิโลเมตร ประกอบด้วย โครงการสายสีแดง (ใต้) ช่วงหัวลาโพง-มหาชัย โครงการสายสีน้าตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี

ขนส่งทางราง

หากดำเนินการครบทุกเส้นทางในปี 2572 จะมีโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 553.41 กิโลเมตร 367 สถานี เพื่อสร้างจุดเชื่อมต่อ และกระจายการเดินทาง รวมทั้งยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน และแก้ไขปัญหาการจราจรได้อย่างยั่งยืน

การวางแผนเรื่องระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) เพื่อส่งต่อคนเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว และจะเริ่มทดลองในสายสีแดง ด้านทิศเหนือไปยังพื้นที่รังสิตต่อไป

 ความคืบหน้าแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล  ประกอบด้วย

1. การเพิ่มพื้นที่และความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรบนถนนในจุดที่จำเป็น ได้แก่ การก่อสร้างอุโมงค์ ถนน ทางยกระดับ สะพานข้ามแยก และจุดที่ยังไม่ได้ดำเนินการเชื่อมต่อเส้นทาง (Missing Link) เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดและการขาดความต่อเนื่องของโครงข่ายถนน จำนวน 12 เส้นทาง วงเงินรวม 271,741 ล้านบาท และการบริหารจัดการการใช้ถนนเดิมให้มีประสิทธิภาพ

2. การส่งเสริมการใช้ระบบขนส่ง สาธารณะเพื่อลดปริมาณรถส่วนบุคคลบนถนน วงเงินรวม 1,937 ล้านบาท เช่น การจัดพื้นที่จอดรถและจรตามแนว ขนส่งมวลชน มาตรการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะและการเพิ่มโครงข่ายเชื่อมต่อเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้า

ความคืบหน้าการศึกษาการแก้ปัญหาจราจรบนทางพิเศษ ซึ่งการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เสนอกรอบการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษ จำนวน 6 เส้นทาง และ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง [ของกรมทางหลวง (ทล.)] รวมทั้งทางขึ้นลงทางพิเศษและถนนที่เกี่ยวเนื่องกับบริเวณ ทางขึ้นลงทางพิเศษ โดยพบปัญหาการจราจร เช่น ความจุของทางพิเศษไม่เพียงพอ การจราจรติดขัดบริเวณด่าน เก็บค่าผ่านทาง และปัญหาจุดคอขวด เนื่องจากการลดจานวนช่องจราจร

“ศักดิ์สยาม” เตรียมนำเอไอแก้ปัญหาจราจรกทม.

การแก้ไขปัญหาในกทม. และ ปริมณฑล เป็นปัญหาใหญ่ กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างจัดลำดับความสำคัญของโครงการ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

ขณะที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ข้อมูลว่า การแก้ไขปัญหาในเขต กทม. และ ปริมณฑล เป็นปัญหาใหญ่ กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างจัดลำดับความสำคัญของโครงการ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก อีกทั้งได้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาจราจรด้วย คาดว่าจะสามารถเสนอแผนการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษต่อ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายใน 2 ปี

ขนส่งทางราง

ขนส่งทางราง ช่วยแก้ไขปัญหาจราจร

นอกจากนี้ ที่ประชุมครม. รับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (อจร.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1 ตุลาคม 2563-4 สิงหาคม 2564) ซึ่ง อจร. ได้พิจารณาการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ด้านการขนส่งและการจราจร รวมจานวน 202 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 84 เรื่อง อยู่ระหว่างการดำเนินการ 77 เรื่อง อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 41 เรื่อง

ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องๆ ดังนี้

แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)
– กระทรวงคมนาคมได้รับการจัดสรรงบประมาณระหว่างปี 2562-2563 เพื่อศึกษาการจัดทำแผนแม่บทฯ  เช่น ข้อเสนอแนะการวางโครงข่ายระบบขนส่งหลักและขนส่งรอง ผลคาดการณ์ สัดส่วนผู้ใช้งานระบบขนส่งสาธารณะในอนาคต รูปแบบการร่วมลงทุน รูปแบบองค์กรในการดาเนินงาน และ กรอบระยะเวลาของแผนแม่บท ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2563
– ที่ประชุมมีมติเห็นชอบผลการศึกษาจัดทาแผนแม่บทฯ และมอบหมาย ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพิจารณาผลักดันแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป
แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง  (Motorways-Railways Masterplan: MR-Map)
–  การจัดทาแผนแม่บท MR-Map มีระยะทางรวม 6,530 กิโลเมตร ประกอบด้วย เส้นทางทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับเส้นทางระบบราง 4,470 กิโลเมตร เส้นทางเฉพาะทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 1,710 กิโลเมตร และเส้นทางเฉพาะระบบราง 350 กิโลเมตร  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทำ MR-Map จำนวน 10 เส้นทาง เช่น เส้นทาง MR1 เชียงราย (ด่านเชียงของ)-นราธิวาส เส้นทาง MR2 หนองคาย (ด่านหนองคาย)-ชลบุรี (แหลมฉบัง)

เส้นทาง MR4 ตาก (ด่านแม่สอด)-นครพนม (ด่านนครพนม) และเส้นทาง MR9 ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี ในส่วนการดาเนินการระยะต่อไป ทล. กทพ. และการรถไฟแห่งประเทศไทยจะใช้แผนแม่บท MR-Map ในการวางแผนการลงทุนพัฒนาเส้นทางหลวงพิเศษและการพัฒนาเส้นทางรถไฟเพื่อให้ประชาชนมีโครงข่ายคมนาคมที่ดี กระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน

– ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการของโครงการศึกษาการจัดทาแผนแม่บท MR-Map และเห็นชอบรา่งโครงข่ายแผนแม่บท MR-Map

ขนส่งทางราง

– การดำเนินการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง (สถานีรังสิต) กทม. และปริมณฑล รวมถึงพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ประสบปัญหาการจราจรติดขัดเป็นจำนวนมาก ทั้งจากรถยนต์ส่วนบุคคลและรถโดยสารประจาทาง ส่งผลให้เกิดมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจราจร และรองรับการเปิดใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดง จึงพิจารณาให้มีการจัดให้บริการเดินรถด้วยระบบ Feeder ที่มีรูปแบบการเดินรถตามตารางเวลาที่สอดคล้อง กับการให้บริการของระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งเป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรองรับการให้บริการแก่ทุกคน จะทำให้ประชาชนให้ความสาคัญกับการใช้ระบบขนส่ง มวลชนหลักหรือรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ประชุมมีมติ ดังนี้

– เห็นชอบหลักการการจัดทาระบบ Feeder
– เห็นชอบแนวเส้นทางให้บริการระบบ Feeder เข้าสู่สถานีรถไฟรังสิต จำนวน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย สถานีรถไฟฟ้ารังสิต-ธัญบุรีคลอง 7, สถานีรถไฟฟ้ารังสิต- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) และ สถานีรถไฟฟ้ารังสิต-แยกกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight