Business

ไม่มีอีกแล้ว!! ปิดตำนาน 129 ปี ‘ปั๊มเอสโซ่’ ในไทย เหลือไว้แต่ความทรงจำ

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่ 129 ปี ปั๊มน้ำมันพี่เสือในประเทศไทย เหลือไว้แต่ความทรงจำ ดีเดย์ 1 ก.ย. 66 เข้าสู่ “บางจาก” พร้อม 700 สถานีบริการน้ำมัน ภายใน 2 ปี 

แล้ววันนี้ก็มาถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2566  วันสุดท้ายของการปิดตำนานปั๊มเอสโซ่ ปั๊มน้ำมันตราเสือ ในประเทศไทย ที่มีอายุยาวนานถึง 129 ปี หรือกว่าหนึ่งศตวรรษ นับจากนี้ไปคงเหลือแต่ภาพทรงจำที่ดี ๆ ต่อผู้ใช้บริการ และผูัที่มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดเวลาที่ผ่านมา

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่

แต่แล้วก็ต้องเข้าสู่โหมดปิดตำนานปั๊มเอสโซ่ไป เนื่องด้วยเมื่อต้นปี 2566 บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) เข้าซื้อกิจการของ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย)ไปจนกลายเป็นที่สนใจของผู้คนทั่วไปและแวดวงธุรกิจน้ำมัน

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่

การเข้าซื้อกิจการ เอสโซ่ ประเทศไทย ของบางจากครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ 12 มกราคม 2566  ทั้ง 2 บริษัท ทำสัญญาซื้อขายหุ้นสามัญของ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ESSO ในวันที่ 11 มกราคม 2566 จำนวน 2,283,750,000 หุ้น หรือคิดเป็น 65.99% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออก และจำหน่ายแล้วทั้งหมดของเอสโซ่ จาก ExxonMobil Asia Holdings Pte. Ltd. (ผู้ขาย) โดยมีมูลค่ากิจการ 55,000 บาท

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่

 25 สิงหาคม 2566 บางจาก ได้รายงานความคืบหน้าการเข้าซื้อกิจการ เอสโซ่ ประเทศไทย ระบุว่า บริษัทจะดำเนินการซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวจากผู้ขายในมูลค่า 22,605,926,000 บาท หรือคิดเป็นราคา 9.8986 บาทต่อหุ้น (โดยการปัดเศษทศนิยม 4 ตำแหน่ง) และชำระราคาค่าหุ้นสามัญให้กับผู้ขาย วันที่ 31 สิงหาคม 2566  มีการทำ Tender Offer หุ้นส่วนที่เหลืออีก 34.01% หุ้นละ 9.8986 บาท มูลค่ารวม 11,651,721,248.80 บาท ในวันที่ 8 กันยายน – 12 ตุลาคม 2566 ชำระราคาหลักทรัพย์ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566

กลุ่มบริษัทบางจากประกาศกำลังทยอยเปลี่ยนป้ายสถานีบริการจาก “เอสโซ่” เป็น “บางจาก”  ร่วม 700 สถานี ทั่วประเทศภายใน 2 ปีนี้ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566

BCP จะได้รับจาก ESSO 

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บอกว่าการลงทุนครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญสู่ความมั่นคงทางพลังงานที่มากขึ้นของบางจากฯ และประเทศไทย เป็นการลงทุนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่เพิ่มความยั่งยืน เพิ่มการเข้าถึงพลังงานได้ง่ายขึ้น  เชื่อว่าการทำธุรกรรมครั้งนี้ ถือเป็นการพลิกโฉมสู่บริบทใหม่สำหรับบางจากฯ และประเทศไทย

การลงทุนครั้งนี้มีสินทรัพย์ที่เข้ามา คือ โรงกลั่นน้ำมันกำลังการกลั่น 174,000 บาร์เรลต่อวัน เครือข่ายคลังน้ำมัน และสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศกว่า 700 แห่ง  จะทยอยเปลี่ยนมาเป็นปั๊มภายใต้แบรนด์ของบางจากทั้งหมด โดยมีระยะเวลาดำเนินการปรับเปลี่ยนให้เสร็จภายใน 2 ปี

ดีลนี้สำเร็จ BCP จะมีกำลังการกลั่นน้ำมันรวม 294,000 บาร์เรลต่อวัน ถือว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีเครือข่ายสถานีบริการกว่า 2,100 แห่ง ก่อให้เกิดการประหยัดเชิงขนาดและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนของบริษัท

ฉะนั้นเราลองมาย้อนมองกลับไปที่จุดเริ่มต้นของเอสโซ่ดูว่าเป็นมาอย่างไรกว่าจะมาถึงจุดนี้ เชื่อว่าอีกหลายๆคนอาจจะเกิดไม่ทัน และยังไม่รู้ว่าจุดเริ่มต้นการทำธุรกิจนำ้มันเขาเข้ามาอย่างไร The Bangkok Insight จะมาไปส่องที่ไปที่มากันเลย

ย้อนตำนาน 129 ปี ปั๊มเอสโซ่ ก่อนจะมาเป็นวันนี้ 

พ.ศ. 2437
บริษัท แสตนดาร์ดออยล์ แห่งนิวยอร์ก เปิดสาขาในประเทศไทยที่ตรอกกัปตันบุช จำหน่ายน้ำมันก๊าดตราไก่และตรานกอินทรี

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่

พ.ศ. 2474
บริษัท แสตนดาร์ดออยล์ แห่งนิวยอร์ก และบริษัท แว๊คคั่มออยล์ ร่วมกันจัดตั้ง บริษัท โซโกนีแว๊คคั่ม คอร์ปอเรชั่น และจำหน่ายผลิตภัณฑ์หล่อลื่นตรา “การ์กอยส์”

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่

พ.ศ. 2476
ร่วมทุนกับบริษัทแสตนดาร์ดออยส์ (นิวเจอร์ซี) และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท แสตนดาร์ดแว๊คคั่มออยล์ จำกัด ใช้เครื่องหมายการค้า “ม้าบิน”

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่

พ.ศ. 2490
รับชื้อกิจการคลังน้ำมันช่องนนทรีจากกรมเชื้อเพลิงมาดำเนินการ

history1947 supporting

พ.ศ. 2505
เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด อีสเทอร์น จำกัด ในวันที่ 1 เมษายน 2505 และเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายการค้าจาก “ตราม้าบิน” มาเป็น “ตราเอสโซ่” ในวงรีรูปไข่

history1962retail supporting

พ.ศ. 2508
เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด

history1965 supporting

พ.ศ. 2510
ซื้อโรงงานจาก บริษัท ยางมะตอยไทย เพื่อจัดตั้ง โรงกลั่นน้ำมัน เอสโซ่ ศรีราชา

history1967sriracharefinery supporting

 

พ.ศ. 2514

ขยายโรงกลั่นครั้งแรก เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 35,000 บาร์เรลต่อวัน

history refinerybeforeexpansion

พ.ศ. 2515
ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังเลขที่ 1016 ถนนพระราม 4 ตรงข้ามสวนลุมพินี

history1972 supporting

พ.ศ. 2519
ขยายโรงกลั่น ครั้งที่ 2 เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 46,000 บาร์เรล ต่อวัน

history1976refineryexpansion supporting

พ.ศ. 2522
จัดตั้งบริษัท เอสโซ่ เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น โคราช อิงค์ โดยได้รับสัมปทาน การสำรวจและขุดเจาะหาพลังงานบนแหล่งที่ราบสูงโคราช และพบก๊าซธรรมชาติที่หลุมน้ำพอง จ.ขอนแก่น ภายหลัง บริษัทฯ เปลี่ยนชื่อเป็น เอ็กซอนโมบิล เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น โคราช อิงค์

history namphong

พ.ศ. 2528

ขยายโรงกลั่นเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 63,000 บาร์เรลต่อวัน

history sep

พ.ศ. 2534
ได้รับการอนุมัติให้ขยายกำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชาเป็น 185,000 บาร์เรลต่อวัน ร่วมมือกับบริษัทน้ำมันชั้นนำต่างๆ

จัดตั้ง บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด เพื่อวางท่อขนส่งน้ำมันจากโรงกลั่นศรีราชาไปยังลำลูกกา ดอนเมือง และสระบุรี

history1992 supporting

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่ เหลือไว้แต่ความทรงจำ 

พ.ศ. 2539

เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

history esso oval

พ.ศ. 2541
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราครุฑ แก่บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
เริ่มการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ในบริเวณโรงกลั่นน้ำมัน เอสโซ่ศรีราชา

history flyinggaruda

พ.ศ. 2544
ได้มาซึ่งกิจการของบริษัท โมบิลออยล์ ไทยแลนด์ จำกัด และดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

history esso mobil

พ.ศ. 2545
จัดตั้งบริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด เพื่อให้บริการแก่บริษัทในเครือเอ็กซอนโมบิลทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

history essotower

พ.ศ. 2546

จัดตั้งศูนย์บริการธุรกิจกรุงเทพ อย่างเป็นทางการ

history bkbsc

พ.ศ. 2551
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

history2008 supporting

พ.ศ. 2554
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ฉลองความสำเร็จ โครงการน้ำมันสะอาด ด้วยเงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่ 129 ปีในเมืองไทย 

พ.ศ. 2557
ดำเนินกิจการในประเทศไทยครบรอบ 120 ปี และปรับโฉมสถานีบริการน้ำมันรูปแบบใหม่

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่

พ.ศ. 2562
เปลี่ยนชื่อ ศูนย์บริการธุรกิจกรุงเทพ เป็น ศูนย์บริการธุรกิจระดับโลก
ฉลองการดำเนินกิจการในประเทศไทย ครบ 125 ปี

ปิดตำนานปั๊มเอสโซ่

ขอบคุณข้อมูล-ภาพ: เว็บไซต์ https://www.esso.co.th/th-th, วิกิพีเดีย 

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight