Business

ทำความรู้จัก 5 ยักษ์ใหญ่ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หัวใจในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ทำความรู้จัก 5 ยักษ์ใหญ่ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก

อุปกรณ์แทบจะทุกชนิดที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ล้วนแล้วแต่มี ชิป เป็นหัวใจสำคัญ ที่อยู่เบื้องหลังกลไกการทำงานของอุปกรณ์เหล่านั้นแทบทั้งสิ้น ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ยานยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในบ้าน รวมทั้งอุตสาหกรรมการแพทย์

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

เมื่อโลกเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น จึงมีมากขึ้นตามไปด้วย

เราจะพาไปสำรวจ 5 ผู้นำของโลก ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีแห่งอนาคต

5 ผู้นำของโลก ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

อันดับที่ 1 Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC)

เป็นบริษัทที่มีรายได้มากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีบทบาทสำคัญในตลาดเซมิคอนดักเตอร์และตลาดอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก โดยเป็นที่รู้จักดีในวงการมาเกือบ 30 ปี

ธุรกิจหลักของบริษัทสัญชาติไต้หวันรายนี้คือ การผลิตแผงวงจร หรือชิปขั้นสูง ผู้ผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกรายนี้ยังมีลูกค้าระดับโลกอย่างบริษัท Apple เป็นต้น

อันดับที่ 2 Samsung Group

เป็นบริษัทจากเกาหลีใต้ ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสำหรับผู้บริโภคและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ Samsung ยังเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

บริษัทมีชื่อเสียงด้านการเป็นผู้นำทางนวัตกรรม และเทคโนโลยีระดับโลก ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยความจำในวงการเซมิคอนดักเตอร์ โดยได้ผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ออกมาหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ตัวขยายสัญญาณ ชิป หรืออุปกรณ์หน่วยความจำ

เรียกได้ว่า บริษัทสามารถออกแบบ และผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทตนได้อย่างไม่ต้องสงสัย

เซมิคอนดีกเตอร์

อันดับที่ 3 Intel

เป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์อันดับสามของโลก แต่เป็นผู้ผลิตซีพียู (CPU) และการ์ดจอ (GPU) สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก !!

เครื่องคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก มีไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งเป็นชิปที่ประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว และช่วยประหยัดพลังงานจาก Intel เป็นตัวประมวลผลหลัก

นอกจากนี้บริษัทยังผลิตไมโครชิป และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ โดยเป็นผู้ผลิตชิปรายสำคัญ ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและอุปกรณ์มือถืออื่น ๆ

Intel เป็นหนึ่งในแรงผลักดันสำคัญ ที่ทำให้เทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ พัฒนาอย่างก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้

อันดับที่ 4 Qualcomm

เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ และชิปสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อสร้างเครือข่ายโทรคมนาคม ที่อาศัยเทคโนโลยีที่มีความเร็ว และความเสถียรสูงในการรับส่งข้อมูล ได้แก่ CDMA, GSM, 4G และ 5G เป็นต้น

ปัจจุบัน Qualcomm เป็นผู้จัดหาชิปเบสแบนด์ อุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมสัญญาณการสื่อสารของสมาร์ทโฟน และเชื่อมต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และชิปโมบายที่จะแปลงสัญญาณข้อมูล ให้เหมาะสมสำหรับการสื่อสารสำหรับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่น ๆ

สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ที่วางจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด ต่างก็ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาโดย Qualcomm อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่ได้รับสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับมาตรฐานการสื่อสารไร้สายต่าง ๆ จำนวนมากที่สุด

shutterstock 1027460860

อันดับ 5 SK Group

เป็นบริษัทใหญ่สัญชาติเกาหลีใต้ อันดับห้า ของกลุ่มผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่มีรายได้สูงสุดในโลก

SK Group ดำเนินธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น พลังงาน อุตสาหกรรมเคมี การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

ในปี 2555 บริษัท SK ได้เข้าซื้อบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของเกาหลี Hynix เพื่อขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในนามของบริษัทย่อย SK Hynix ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปหน่วยความจำระดับโลก ที่ได้รับความนิยมในตลาดอุตสาหกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล หรือการประมวลผลข้อมูลแบบอัตโนมัติ

ความท้าทายของผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อผลิตชิปที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง ในขนาดที่เล็กลงเรื่อย ๆ ตามความต้องการของตลาด รวมถึงการไม่หยุดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานต่ำ และมีประสิทธิภาพสูงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิต และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น

เมื่อมองไปข้างหน้า เราจะเห็นว่า ตลาดเซมิคอนดักเตอร์ มีอนาคตอีกยาวไกล ซึ่งในตอนนี้ถือเป็นโอกาสทอง ที่จะพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตไปอีกขั้น

บีโอไอมุ่งสนับสนุน และส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในประเทศไทย โดยเฉพาะการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

ที่มา: BOI News

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo