Business

5 ข้อควรรู้!! ก่อนติดตั้ง ‘โซลาร์รูฟท็อป’ ให้คุ้มค่ากับการลงทุน

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน แนะข้อควรรู้ ก่อนตัดสินใจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ตรวจสอบบ้าน อุปกรณ์ คำนวณความคุ้มค่า

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน โพสต์เพจเฟซบุ๊ก EPPO Thailand ถึงข้อความรู้ก่อนการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป หรือแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน โดยระบุว่า

ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป

ข้อควรรู้ก่อนติดตั้ง Solar Rooftop

โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคาของบ้านที่อยู่อาศัยหรือบนอาคาร ที่เราต้องการใช้พลังงาน

แผงโซลาร์เซลล์ จะรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ และเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นจะผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ จึงสามารถใช้งานกับเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในบ้านหรืออาคารได้

ข้อควรรู้ก่อนติดตั้ง Solar Rooftop 

1. ต้องดูว่าบ้านหรืออาคารที่เราจะติดตั้ง มีการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันหรือไม่ เพราะหลักการของ Solar Rooftop จะผลิตไฟฟ้าและใช้ทันที ไม่มีการเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ เนื่องจากตอนนี้ต้นทุนแบตเตอรี่ยังสูง จะยังไม่คุ้มค่ากับการลงทุนติดตั้ง

โซสาร์รูฟ

2. สภาพอาคารและหลังคามีความแข็งแรงที่จะรองรับหรือไม่ เพื่อให้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เป็นไปอย่างปลอดภัย รวมถึงให้ความลาดเอียงหันไปทางทิศที่จะได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่เหมาะสม และหลังคาไม่ควรมีเงาจากต้นไม้ หรืออาคารสูงๆ มาบดบังแสงแดด

3. ตรวจสอบขนาดพื้นที่หลังคา และคิดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เท่าไหร่ โดยโซลาร์เซลล์ 1 กิโลวัตต์ จะใช้พื้นที่ประมาณ 4-5 ตารางเมตร และ 1 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าใช้ประมาณ 4 หน่วยต่อวัน หรือประมาณ 120 หน่วยต่อเดือน

หากติดตั้งระบบขนาด 3 กิโลวัตต์ จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ ประมาณ 1,800 บาทต่อเดือน (คำนวนจากค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 5 บาทต่อหน่วย)

shutterstock 1142760875

4. ตรวจสอบอุปกรณ์ ว่ามีมาตรฐานรองรับ และน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะแผงโซลาร์เซลล์ ควรได้รับมาตรฐาน มอก.61215 หรือมาตรฐาน IEC 61215 เป็นอย่างน้อย รวมถึงอินเวอร์เตอร์ ที่ขึ้นทะเบียนโดย กฟน. กฟภ. มีหลากหลายรุ่น ยี่ห้อ และขนาด สามารถเลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพได้ตามความต้องการ

5. คำนวณความคุ้มค่าในการติดตั้ง Solar Rooftop เพราะต้นทุนการติดตั้งโซลาร์รูปท๊อฟสำหรับบ้านอยู่อาศัย อยู่ที่ 4 -4.5 หมื่นบาท คิดเป็นค่าไฟฟ้าประมาณ 2 บาทต่อหน่วย ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 6 ปี ขณะที่ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของการไฟฟ้า อยู่ที่ประมาณ 5 บาทต่อหน่วย

ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo