Business

ทำความรู้จัก ‘สะพานคานขึงรถไฟ’ แห่งแรกในไทย แลนด์มาร์คแห่งใหม่ เมืองราชบุรี

รฟท. ชวนทำความรู้จัก สะพานคานขึงรถไฟแห่งแรกในไทย จังหวัดราชบุรี เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ระเบิดที่จมอยู่ใต้แม่น้ำแม่กลอง

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย แนะนำ สะพานรูปแบบคานขึงรถไฟแห่งแรกในไทย แลนด์มาร์คแห่งใหม่ จังหวัดราชบุรี โดยระบุว่า

สะพานคานขึงรถไฟ

สะพานรูปแบบคานขึงรถไฟแห่งแรกในไทย Landmark แห่งใหม่ของ เมืองราชบุรี

เตรียมพบกับความตื่นตาตื่นใจของสะพานคานขึงรถไฟแห่งแรกในไทย เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ระเบิดที่จมอยู่ใต้แม่น้ำแม่กลอง

โดยสะพานนี้สร้างขนานไปกับสะพานจุฬาลงกรณ์ บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง มีความยาวกว่า 340 เมตร
ซึ่งโครงการสะพานคานขึงแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล

รฟท

สะพานคานขึง (Extradosed Bridge) คืออะไร

รูปแบบสะพานคานขึง เป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างสะพานคอนกรีตอัดแรงและสะพานขึง โดยตัวสะพานเป็นคอนกรีต แต่ใช้สายเคเบิล มาดึงเข้าสู่เสาเพื่อรับแรง ทำให้สามารถลดขนาด และความสูง ของฐานรากสะพานลงได้

รูปแบบการก่อสร้าง

  • ความยาวสะพาน 340 เมตร
  • ระยะปลอดเสา 160 เมตร
  • ความสูงของเสาขึงสายเคเบิล 17 เมตร

รฟท สะพาน1

ทำไมต้องสร้างสะพานรถไฟแบบคานขึง

เนื่องจากพบวัตถุระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จมอยู่ในแม่น้ำบริเวณสะพาน ทีมวิศวกรจึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการก่อสร้างต่อม่อ ที่อาจจะกระทบกับระเบิดใต้น้ำ เปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างเป็นสะพานคานขึงซึ่งไม่มีเสาอยู่ในแม่น้ำ

นับเป็นงานที่สร้างความท้าทายให้แก่บุคลากรของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งทุกคน มุ่งมั่น ตั้งใจ และทุ่มเทอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อให้สะพานคานขึงสำหรับรถไฟแห่งแรกของประเทศไทยมีความสมบูรณ์แบบที่สุด

รฟท สะพาน2

สำหรับการก่อสร้างงานโยธารถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล มีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2566

ในอนาคตหวังว่า สะพานแห่งนี้ คงเป็นอีกหนึ่ง Landmark แห่งใหม่ของเมืองราชบุรี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo