Politics

‘สธ.’ หนุนดันคนหนักเกิน 100 กก.ฉีดวัคซีนโควิดก่อน หลังโอกาสดับสูง!

“โฆษกกระทรวงสาธารณสุข” หนุนฉีดวัคซีนให้ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัมก่อน หลังที่ผ่านมาผู้มีน้ำหนักมากเสียชีวิตต่อเนื่องถึง 5 ราย พร้อมขอให้ประชาชนมั่นใจว่ามียารักษาเพียงพอ

นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (รก.11) ในฐานะโฆษกกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ” โดยระบุว่า อีกหนึ่งมุมมองคนทำงาน ขอให้กำลังใจชาวกระทรวงสาธารณสุข นักรบชุดขาว หมอ พยาบาล มดงาน และ อสม. ทุก ๆ ท่าน

ผมขอบคุณ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา ที่ท่านเข้าร่วมประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินฯ กระทรวงสาธารณสุข และส่งข้อความมาให้ครับ

วันที่ 25 เมษายน เข้าร่วมประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุข ที่มีท่านปลัด สธ. เป็นประธาน ผมขอบคุณผู้บริหาร สธ. ทุกคนที่ทำงานหนักสู้กับCovid-19 แทนคนไทยทั้งประเทศครับ ผมได้ข้อสังเกตหลายประการครับ

คนอ้วน วัคซีน26464

1. ฝ่ายบริหารทุกคนทำงานหนักมาก ทำงานโดยไม่มีวันหยุด มีคณะทำงานหลายชุดเพื่อกลั่นกรองเรื่องส่งศบค.ทั้งที่เป็นวันอาทิตย์ ประชุมตั้งแต่ 7.30 น. เสร็จแล้วประชุมร่วมกับรองนายกฯและรมว.สธ.ต่ออีก ทราบว่า… บางคณะทำงานถึงกว่าเที่ยงคืน เพื่อรวบรวมข้อมูลส่งให้คณะชุดเล็กที่จะประชุมตั้งแต่ 6.00 น.เพื่อส่งต่อให้ EOC ชุดนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมมีจำนวนมากครบทุกหน่วยงาน หลายหน่วยรวมทั้งจังหวัด ใช้วิธีประชุม on line

2. สถานการณ์ทุกด้านเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จึงต้องประชุมวันต่อวัน ตัดยอดเที่ยงคืน ข้อมูลสถิติรู้ตั้งแต่ 6.00 น.แต่ไม่อยากให้เปิดเผย เพราะต้องการให้นิ่งและมีการรับรองก่อน

3. ประเด็นปัญหาทุกประเด็นล้วนถูกยกขึ้นมาประชุมและเสนอแนะในที่ประชุมทั้งสิ้น ปัญหาที่ไม่ได้รับผิดชอบหรือข้อเสนอสำหรับหน่วยงานอื่นจะถูกรวบรวมนำเสนอหน่วยเหนือและศบค.ต่อไป

4. ยังคงมอบความรับผิดชอบให้ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดที่มีผู้ว่าฯเป็นประธานยกระดับมาตรการให้เข้มขึ้น รวมทั้งการบริหารจัดการวัคซีน

5. เชื่อว่าควบคุมการระบาดในภูมิภาคได้ แต่ยังมีความกังวลในเขตกทม. ที่โครงสร้างมีปัญหาในการแบ่งเป็น รพ.ของกรมการแพทย์ รพ.ของกระทรวงอุดมฯ รพ. ของกทม.และรพ.เอกชน

โดยเฉพาะกทม.ที่มีปัญหาในการสั่งการหรือขอความร่วมมือจากสธ.ทั้งที่แบ่งผู้ป่วย

  • สีเขียวให้กทม.รับผิดชอบ
  • สีเหลืองแดงให้กรมการแพทย์ดูแลไปแล้ว แต่มีปัญหาในการส่งต่อ ซึ่งล่าสุดจากเสียงcomplaintว่าผู้ป่วยโควิดเข้านอนในรพ.,รพ.สนาม และHospitelไม่ได้ ทั้งที่ยังมีเตียงว่าง เมื่อวานมีประชุมเคลียร์ปัญหา มีผู้ป่วยรอเตียง 1,980 ราย
  • แบ่งให้ผู้รับผิดชอบต่างๆไปทั้งภาครัฐและเอกชน วันนี้สพฉ.จะดำเนินการจัดส่งผู้ติดเชื้อทั้งหมดเหล่านั้น ปัญหาคงทุเลาลง คำถามคือทำไมจึงเกิดการคั่งค้างรอเตียงจำนวนมากมายเข่นนั้นเพราะจะตามมาด้วยเสียงบ่นต่อว่ารัฐบาล

6. ปัญหา Home isolation เป็นสิ่งที่ต้องชัดเจน เช่นเดียวกับผู้ติดเชื้อที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อในชุมชน แม้รัฐต้องการกักตัวเพื่อความปลอดภัยของผู้อื่น ถ้าเจ้าตัวไม่ยอมไป แม้เจ้าหน้าที่ สธ.จะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย แต่ก็ต้องอาศัยตำรวจช่วยอยู่ดี

7. เชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดียเป็นสิ่งที่คนทั้งโลกกลัวคนอินเดีย ลามไปถึงปากีสถานและบังคลาเทศ หลายประเทศสั่งห้ามสายการบินหรือคนอินเดียเข้าประเทศ ข้อเสนอคืออาจต้องกักตัวนานกว่า14วัน หรือห้ามเข้าเมืองในระยะนี้ แต่คงจะยากเพราะผู้ติดเชื้ออาจมาจากประเทศอื่นแต่เป็นสายพันธุ์อินเดีย

8. ปัญหาที่กรมควบคุมโรคพยายามควบคุมการระบาดคือแบ่งเป็นclusterต่าง ๆ ขณะนี้ที่กำลังวิตกคือภาคใต้ระนอง สุราษฎร์ นครฯ และภาคเหนือคือเรือนจำกลางเชียงใหม่

9. ตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิตรุนแรงเพิ่มขึ้น

แต่ผู้ป่วยรุนแรงกลับมีอายุน้อยลง วันนี้เสียชีวิต 11 ราย จำนวนสูงสุดตั้งแต่โรคมีการระบาด ผู้ป่วยอยู่ระหว่างใส่ท่อช่วยหาย ใจ 131 ราย บ่งว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะยังสูงอยู่จากความรุนแรงของเชื้อกลายพันธุ์

ที่น่าสนใจคือน้ำหนักของผู้เสียชีวิต 5 ราย มีน้ำหนัก 170 กก. 122 กก. 140 กก. 110 และ 117 กก. ล้วนเกิน 100 กก.ทั้งสิ้น

ส่วนรายอื่นมักมีโรคร่วมทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ซึ่งทุกคนทราบดี แต่ผู้ที่มีน้ำหนักมาก มีโรคประจำตัว จะต้องระวังตัวเองให้มากกว่าคนธรรมดา

มีข้อเสนอน่าสนใจให้ฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทุกคนที่น้ำหนักเกิน 100 กก.

ขอบคุณข้อแนะนำ และกำลังใจจากอาจารย์เจตน์ ครับ

ต่อมา นพ.รุ่งเรือง โพสต์ข้อความด้วยว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่ามียาเพียงพอสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19″

เมื่อเวลา 01.00 น (26 เม.ย.) ยาฟาวิพิราเวียร์ สำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 2 ล้านเม็ด ได้จัดส่งจากสนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น โดยเที่ยวบิน NH 8545 ได้มาถึงประเทศไทย เรียบร้อยแล้ว ซึ่งยาในส่วนนี้องค์การเภสัชกรรมจะได้เร่งกระจายจัดส่งให้สถานพยาบาลเครือข่ายต่างๆ ตามการจัดสรรของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) ทันที และภายในเดือนพฤษภาคมนี้ จะมีการจัดส่งมาเพิ่มอีกจำนวน 1 ล้านเม็ด รวมเป็น 3 ล้านเม็ด ซึ่งเป็นไปตามแผนการจัดหายาฟาวิพิราเวียร์ที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ พร้อมกันนั้นได้ให้องค์การฯ ดำเนินการจัดหาเพิ่มอีก 2 – 3 ล้านเม็ด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK