COVID-19

อุปสรรคที่แก้ไขได้ ‘หมอธีระวัฒน์’ วิเคราะห์ 8 ข้อ อาการข้างเคียง หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค

อาการข้างเคียง หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค “หมอธีระวัฒน์” วิเคราะห์ 8 ข้อ ชี้เป็นอุปสรรคที่แก้ไขได้ เดินหน้าฉีดวัคซีนต่อ เฝ้าดูอาการอย่างน้อย 30 นาที และมีข้อระวังอีก 24 ชั่วโมง

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” ถึงกรณีการเกิดอาการคล้ายอัมพฤกษ์ 6 ราย ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็น อาการข้างเคียง หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค โดยมองว่า เป็นอุปสรรคที่แก้ไขได้ ขั้นตอนต่อไปคือ การฉีดวัคซีนต่อ พร้อมเฝ้าระวังอาการหลังฉีด โดยระบุว่า

shutterstock 1890903022

“วัคซีนชิโนแวค อุปสรรคที่แก้ไขได้

ถึงแม้ว่าจะมีผลข้างเคียง และพวกเราต้องขอบพระคุณ อาจารย์หมอทางสมองหลายท่าน ทั้งที่ ระยอง ลำปางศรีราชา อุบล พระมงกุฎ จุฬา รพ เอกชน รวมทั้งอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ และสถาบันประสาท เป็นต้น ที่มีคำอธิบายแล้ว

ลักษณะที่เกิดขึ้น ทำให้เส้นเลือดเกร็งและหดตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองไม่เพียงพอ และอาจเกิดขึ้นจนทำให้มีอาการเฉพาะส่วนได้ และพิสูจน์แล้วจากการสอดสายฉีดสีเข้าเส้นเลือดสมอง และให้ยาขยายเส้นเลือดผู้ป่วย อาการดีขึ้นทันที

ในขณะเดียวกัน ต้องระวังว่า ถ้าเส้นเลือดเกร็ง และหดตัวนาน จะเกิดเส้นเลือดตันซ้ำซ้อน และเนื้อสมองตายถาวร ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งหลายแห่งใช้วิธีนี้แล้ว ผู้ป่วยดีขึ้นเช่นกัน

การเกิดไม่น่าจากตัววัคซีนเอง แต่ควรจะมีสิ่งปนเปื้อน ในขณะเตรียม หรือการบรรจุขวด ซึ่งทางการจะได้ติดต่อบริษัทผู้ผลิตถึงความผิดปกตินี้ ทั้งนี้ โดยที่เอกสารแนบส่วนประกอบของวัคซีน จะไม่สามารถธิบายสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้

ขั้นตอนที่ต้องทำ คือ ฉีดวัคซีนต่อ และเตรียมการเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 30 นาที และมีข้อระวังตัวอีกอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เมื่อกลับไปบ้าน โดยสามารถให้การรักษาได้ทัน

ขณะที่เกิดอาการ ยาที่ขยายหลอดเลือดทุกโรงพยาบาลมีอยู่แล้ว ทั้งที่เป็นกิน และถ้าไม่ได้ผล จะเป็นในรูปการสอดใส่สายเข้าในเส้นเลือด เพื่อให้ยาขยายหลอดเลือด

ฟังดูเหมือนเป็นกระบวนการยุ่งยาก แต่ปฏิบัติได้แน่นอน และไม่ควรเป็นอุปสรรค สำหรับการให้วัคซีน สำหรับคนไทยทุก ๆ คน

โรคดังกล่าว ทราบดีมาแต่โบราณ vasospaatic amaurosis fugax ที่ตาบอดข้างเดียว หรือ 2 ข้าง และ reversible cerebral vasoconstriction syndrome” (RCVS) ซึ่งมีลักษณะทับซ้อนกับ PRES posterior reversible encephalopathy รวมทั้งไมเกรน ที่มีผลแทรกซ้อน ทางหลอดเลือดเกร็ง

กลุ่มอาการเหล่านี้ แม้ว่าส่วนมาก จะกลับคืนมาได้เอง ซึ่งอธิบายได้ว่า ทำไมการตรวจคอมพิวเตอร์สมอง CT หรือคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กMRI จะไม่เจอความผิดปกติ 70%
แต่ผู้ป่วยที่มีการหดเกร็งนาน โดยเฉพาะในกรณีของวัคซีนนี้ จะทำให้เส้นเลือดตัน และเกิดความพิการถาวรได้”

ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

ก่อนหน้านี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ได้โพสต์สรุป 8 ข้อ จากรายงานที่พบอาการไม่พึงประสงค์ หลังการฉีดวัคซีน ดังนี้

“จากการประเมินผู้ป่วยโดยละเอียด ของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางสมองที่พบ และตรวจรักษาผู้ป่วยเอง ที่เป็นเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ทั้งหมอ พยาบาล เป็นต้น ทั้งที่ ระยอง 7 ราย อุบล 1 ราย และที่ รพ. สมเด็จ ศรีราชา 1 ราย ตั้งแต่ 3 เมษายน

และมีผู้เชี่ยวชาญทางสมอง (3 คน) ทางโรคเลือด โรคติดเชื้อ ของรพ. จุฬา และจาก สถาบันประสาท รับทราบขัอมูลอย่างละเอียด และร่วมวิเคราะห์สาเหตุ (และมีรายงานจากที่ลำปาง อีก 7 ราย จากผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมประสาท รพ. สงขลา อีก 1 ราย จากผู้เชี่ยวชาญทางสมอง และอีก 1 จาก รพ. เอกชน ในกทม และอีก 1 จาก รร.แพทย์)

อายุน้อยส่วนมาก จาก 20 -30ปี และมีที่อายุ 40-50 กว่า

1. ไม่เป็นอาการของ functional neurologic disorder โดยเด็ดขาด อันที่เกิดจากความแปรปรวนจิดอารมณ์ และออกมาทางกาย ทั้งนี้ ไม่มีหลักฐานตรง และแวดล้อมที่ทำให้เป็นเช่นนั้น รวมทั้งการคาดเดาว่าเป็น “อุปาทาน”

2. อาการที่เป็น แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก ถีงบางรายขยับไม่ได้ การมองเห็นผิดปกติหนึ่งข้าง หรือครึ่งซีกของทั้ง2 ตา (homonymous hemianopsia) จากความผิดปกติของจอรับภาพ สมองท้ายทอย

3. บางรายร่วมกับ ปวดหัวท้ายทอยอย่างรุนแรง และ/หรือ เจ็บหน้าอก ชาที่ขาสองข้าง และความดันสูงผิดปกติ ผื่นขึ้น

4. อาการเกิดขึ้นในระยะนาที – ชั่วโมงหลังฉีดยา ปฎิเสธไม่ได้ถึงความเกี่ยวข้อง และเป็นอาการเข้ากับความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง และมีการให้ยาละลายลิ่มเลือด rTPA อย่างน้อย 6 ราย และอาการดีขึ้น แต่มี ที่กลับเป็นใหม่ ข้างเดิมอีก 2 สัปดาห์

ไม่มีภาวะอื่นๆ ที่อธิบายอาการทางหลอดเลือดนี้ได้ ทั้งหัวใจเต้นผิดปกติ การใช้ฮอร์โมนซึ่งมี 1 ราย และรายอื่นหยุดไปนานมาก หรือมะเร็งที่สงบมานานหลายปี

5. ไม่พบความผิดปกติในการตรวจคอมพิวเตอร์ CT หรือ MRI และเมื่อร่วมกับลักษณะเฉียบพลัน อาจบ่งชี้ถึง การที่เสันเลือดสมองหดตัวเฉียบพลัน ซึ่งถ้าแก้ไขไม่ทัน อาจทำความเสียหายถาวรได้ จากหลอดเลือดตัน ทำให้เลือดไม่ไปสมองส่วนนั้น ๆ

ทางผู้เชี่ยวชาญหลายท่านตั้งประเด็นดังกล่าว และแนะนำยาขยายหลอดเลือด เหมือนภาวะที่รู้จักกันดี ทางตา vasospastic amaurosis fugax และ reversible cerebral vasoconstriction syndrome” (RCVS) ซึ่งมีลักษณะทับซ้อนกับ PRES posterior reversible encephalopathy syndrome

และผนังหลอดเลือดในระยะต่อมารั่ว มีสมองบวม โดยที่ RCVS การตรวจ คอมพิวเตอร์สมองและหลอดเลือด อาจปกติได้ถึง 70% แล้วแต่ระยะเวลา และความรุนแรง ถ้าเนื้อสมองยังไม่ตาย

6. คล้ายมีความสัมพันธ์กับ ล็อต ของวัคซีน โดยที่ไม่ใช่ทุกหลอดทำให้เกิดอาการ ในแต่ละกล่องมีหลายหลอด ซึ่งหลักการเพื่อความปลอดภัยสูงสุด จำต้องหยุดใช้วัคซีนในล็อตนั้นก่อน จนกว่าจะทำการสรุปสาเหตุได้ และต้องติดต่อผู้ผลิตให้ตรวจสอบโดยด่วน

7. การฉีดวัคซีน คงต้องกระทำต่อไปรีบด่วนและรอบคอบ เตรียมการแก้ภาวะ ตั้งแต่แพ้ความดันตก ช็อก หลอดลมตีบ ไปจนถึงอาการทางสมองที่อาจมีหัวใจร่วม ตั้งแต่หลังฉีด 30 นาที และให้คำแนะนำเมื่อกลับบ้านจนถึง 24 ชม

8. คอยติดตามระยะกลาง ของผลข้างเคียง จาก 1-4 สัปดาห์ อาจเกิดได้ ในระบบต่างๆ

ทั้งนี้ ดูเหมือน วัคซีนแต่ละชนืดเช่น astra zeneca และ mRNA จะเป็น VITT vaccine induced thrombotic thrombocytopenia ลิ่มเลือด และเกร็ดเลือดต่ำ (sinovac อาจเกี่ยวกับ ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด อีก 1 ราย)

โรงพยาบาลต่าง ๆ ได้รายงานตั้งแต่วันแรกของผู้ป่วยทุกคนที่มีอาการทั้งสิ้น”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo