COVID-19

‘สถานบันเทิง’ ปิดเพราะโควิด ลูกจ้างอย่าลืม! ขอรับเงินทดแทน ‘ประกันสังคม’

“สถานบันเทิง” ถูกปิดเพราะโควิด – 19 ลูกจ้างอย่าลืม! ขอรับเงินทดแทน “ประกันสังคม” จ่าย 50% ของค่าจ้าง สูงสุด 90 วัน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลได้กำชับให้กระทรวงแรงงานดูแลประชาชนที่ทำงานกลางคืนภายใต้กรอบของกฎหมาย เนื่องจากคนทำงานภาคกลางคืน เช่น ผับ บาร์ สถานบันเทิง ภัตตาคาร ร้านอาหาร สถานบริการ เป็นต้น ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว

ประกันสังคม สถานบันเทิง

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ในกรณีเหตุสุดวิสัยโควิด -19 นี้ กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ.2563 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป

กฎกระทรวงดังกล่าวให้ความคุ้มครองกรณีผู้ประกันตนที่ไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากต้องกักตัวเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือนายจ้างต้องหยุดประกอบกิจกรรมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเนื่องจากทางราชการมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ และลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น

ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในอัตรา 50% ของค่าจ้างรายวัน รวมกันไม่เกิน 90 วัน ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป และสำนักงาน ประกันสังคม ได้เปิดให้นายจ้างและผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนโดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ www.sso.go.th

 

ขั้นตอนยื่น ขอรับเงินทดแทน “ประกันสังคม” 

ลูกจ้างในสถานประกอบการที่ต้องการขอรับเงิน ฃเยียวยาโควิด – 19 จาก ประกันสังคม สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.ลูกจ้างผู้ประกันตนมีหน้าที่ กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส.2-01/7 ดาวน์โหลดที่นี่ แล้วนำส่งให้นายจ้าง พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก **โดยขอเน้นย้ำเรื่องเบอร์โทรศัพท์ติดต่อและเลขบัญชีธนาคารที่ถูกต้อง

2.นายจ้างรวบรวมแบบคำขอรับประโยชย์ทดแทน สปส.2-01/7 และจดบันทึกแจ้งข้อมูลการหยุดงานของลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน

3.นายจ้างบันทึกข้อมูลดังต่อไปนี้ในระบบ e-Service คลิกที่นี่ บนเว็บไซต์สำนักงาน ประกันสังคม ได้แก่

  • หนังสือรับรองการหยุดงาน กรณีกักตัวหรือกรณีปิดตามคำสั่งทางราชการ
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ประกันตนในแบบ สปส. 2-01/7 ได้แก่ เลขที่บัญชีธนาคารของผู้ประกันตน หมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งได้ยื่นไว้กับนายจ้างในแบบคำขอ

**ทั้งนี้ กรณีนายจ้างเข้าใช้งานระบบ e-Service เป็นครั้งแรก จะต้องลงทะเบียนก่อน

แรงงานพนักงานออฟฟิศ ๒๐๑๑๐๒

4.นายจ้างส่งแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส.2-01/7 ที่ได้บันทึกไว้บนระบบ e – Service ไปยังสำนักงาน ประกันสังคม ในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่บันทึกข้อมูลบน e – Service เสร็จสิ้น

5.ระบบทำการประมวลผลในแต่ละวัน โดยรวบรวมทุกรายการที่นายจ้างได้บันทึกข้อมูลแล้วส่งเข้าสู่ระบบ Sapiens ต่อไป ถ้าข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง

6.ระบบ Sapiens ประมวลผลในรูปแบบรายงานภายใต้สถานประกอบการรายบุคคล

7.เจ้าหน้าที่วินิจฉัย บันทึกวินิจฉัยสั่งจ่ายบนระบบ Sapiens รายคน

8.ระบบประมวลผลสั่งจ่ายข้อมูลเข้าบัญชีธนาคารที่แจ้งไว้

9.กรณีบัญชีถูกต้อง เงินจะโอนเข้าบัญชีลูกจ้างผู้ประกันตนภายใน 5 วันทำการ แต่กรณีที่เลขบัญชีธนาคารไม่ถูกต้อง นายจ้าง/ผู้ประกันตนต้องโทรหรือไลน์แจ้งบัญชี จากนั้นจะย้อนกลับไปขั้นตอนที่ 7 เจ้าหน้าที่วินิจฉัยสั่งจ่ายบน ระบบ Sapiens รายคน

“เมื่อนายจ้างบันทึกข้อมูลลูกจ้างเสร็จสิ้น ให้นำแบบฯ และหนังสือข้อมูลดังกล่าวข้างต้นในระบบ e-Service ส่งมายังสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางไปรษณีย์ (ลงทะเบียน) ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service บน www.sso.go.th หากข้อมูลถูกต้องครบถ้วน สำนักงาน ประกันสังคม จะโอนเงินเข้าบัญชี ภายใน 5 วันทำการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนายจ้าง ผู้ประกันตน และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาติดต่อ ที่สำนักงานประกันสังคม อีกทั้งลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 อีกด้วย”

fig 07 04 2020 11 27 24

เงื่อนไขการรับเงินเยียวยา

ผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยไวรัสโควิด-19 จะต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อดังต่อไปนี้

1.เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ

2.ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมครบ 6 เดือนใน 15 เดือน จึงจะเกิดสิทธิรับเงินกรณีว่างงาน

3.ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนอย่างใดอย่างหนึ่งจากไวรัสโควิด-19 ดังต่อไปนี้

  • ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค
  • ไม่ได้ทำงาน เนื่องจากนายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ

4.ลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น

ลูกจ้างซึ่งเข้าเกณฑ์ 4 ข้อดังกล่าวมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างรายวันจาก ประกันสังคม โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัว หรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าว แล้วแต่กรณีแต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo