COVID-19

‘หมอธีระวัฒน์’ เตือน ลดกักตัวผู้ติดเชื้อเหลือ 10 วัน เสี่ยงแพร่โควิด!

“ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา” เตือน ลดเวลากักตัวผู้ติดเชื้อโควิด เหลือ 10 วัน ยังเสี่ยงแพร่เชื้อ แนะถ้าจะลดวันกักตัว ต้องไม่ตรวจพบ subgenomic RNA

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภากาชาดไทย โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” กรณีการเตรียมลดเวลาการกักตัว ผู้ติดเชื้อโควิดเหลือ 10 วัน ว่า ยังไม่ปลอดภัย โดยระบุว่า

นพ.ยง หมอธีระวัฒน์ ๒๐๑๐๐๙

“สืบเนื่องจากที่มีความพยายาม ที่จะให้ผู้ที่ติดเชื้อไปแล้ว และปล่อยเขื้อได้ กลับจากการกักตัว ได้เร็วขึ้น และตีว่าเป็น ซากเชื้อ

ทั้งนี้ โดยอิงจาก ข้อมูลงานวิจัย ที่พบว่า หลังจากวันที่ 10 จากที่มีอาการวันแรก Infective Virus จะน้อยมาก ทําให้เกิดการ แพร่เชื้อ ต่ำมาก ซึ่งเป็น “หลักการในการอนุญาตให้ผู้ติดเชื้อกลับบ้านได้หลังตรวจพบ 10 วัน (ตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19)”

อย่างไรก็ตาม ข้อที่ต้องทบทวนอย่างยิ่ง ก็คือ

1. หลักการที่ให้กลับบ้านหลังจากวันที่ 10 นั้น มีมูลเหตุมาจากการศึกษา โดยยึดผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากเป็นหลัก และผู้ป่วยไม่ได้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และ RNA ของเชื้อที่ตรวจคือ E gene ต้องน้อยกว่า 100,000 copies

2. ข้อมูลวิเคราะห์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นการพยายามที่จะหาปัจจัยยึดเหนี่ยว ว่ามีอะไรที่จะกำหนดว่า ไวรัสที่ยังปล่อยออกมานั้น ไม่ติดต่อ โดยการเทียบปริมาณ ของ Subgenomic RNA (ของ gene ต่างๆ เช่น ของ N หรือ E ) และเวลาที่ไม่พบ subgenomic RNA กับ ปริมาณของ genomic RNA และ การที่ไวรัสในระยะต่าง ๆ นั้น ยังเพาะเชื้อขึ้น หรือไม่

3. ข้อมูลจนถึงปัจจุบัน ตรงกันในแง่ของการยึด subgenomic RNA เป็นหลัก ที่จะบ่งชี้ว่ายังคงมีไวรัสที่ติดต่อได้ และพยายามที่จะยึดโยงไปว่า ปริมาณของ genomic RNA ไม่เกิน 6 log10 virus N gene หรือ ไม่เกิน 5 log 10 virus E gene จะไม่ติดต่อ

รวมกระทั่งถึง ถ้า ณ ขณะนั้น มีภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสได้ neutralizing antibody (NA)เกิน 1:10 เท่ากับไม่ติดต่อ และสัมพันธ์กับระยะเวลาประมาณ 10 วัน

4 . หลักฐานข้างต้น ล่าสุดพบว่า การมี subgenomic RNA เป็นตัวตัดสินที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ โดยที่แม้ปริมาณของ genomic RNA จะยังมีมหาศาลก็ตาม ก็เพาะเชื้อไม่ขึ้น และยังคงอยู่ได้ถึง 50 วัน และไม่ไปตามกับการที่มี NA ชึ้น (ข้อมูลล่าสุดจากฮ่องกง เป็นต้น)

5. ข้อมูลของห้องปฏิบัติการ ศูนย์โรคอุบัติใหม่สภากาชาดไทยจุฬา (คุณสินินาถ เพชราช ) ในผู้ป่วย 10 ราย พบข้อมูลเช่นกันว่า genomic RNA ยังพบได้ หลังจากที่ไม่เจอ subgenomic RNA แล้ว ตั้งแต่ 1 ถึง 14 วัน และในบางตัวอย่าง มีปริมาณมากกว่าที่เชื่อ ดังข้างต้น

6. ดังนั้นการยึดถือระยะเวลาที่ 10 วันโดยอนุมานจากข้อมูลวารสารก่อนหน้านี้ อาจจะไม่ปลอดภัย ทั้งนี้โดยไม่ได้พิจารณาถึง copies ของ subgenomic RNA หรือการที่ subgenomic RNA ต้องตรวจไม่พบก่อน

7. ดังนั้นมาตรการที่ปลอดภัยที่สุด สำหรับประเทศไทยขณะนี้ คือ ถ้าต้องการเปลี่ยนมาตรการในผู้ป่วยติดเชื้อ ที่อาการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานที่ต้องปกติก่อน โดยต้องไม่พบเชื้อ หรือ RNA ติดต่อกันอย่างน้อย สองวัน

การจะย่นระยะเวลาให้สั้นลง โดยที่ยังตรวจพบ RNA อยู่ ควรต้องไม่พบ subgenomic RNA ร่วมกับ RNA ของ E gene ของเชื้อที่ตรวจพบต้องน้อยกว่า 100,000 copies

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo