COVID-19

‘จุฬา-ใบยา’ ลุ้นผลิต ‘วัคซีนโควิด’ ปี 64 ‘หมอธีระวัฒน์’ บอกคนไทยมีของดีในตัว เชื้อหายเองได้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับ บ.สตาร์ทอัพสัญชาติไทย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” โชว์ความสำเร็จพัฒนาวัคซีนต้านโควิด จากใบพืชตระกูลยาสูบ ตรียมทดสอบวัคซีนในหนูอีกครั้ง เพื่อทดสอบความเป็นพิษ และผลข้างเคียงต่ออวัยวะต่างๆ ก่อนทดลองในคน เชื่อจะสามารถยื่นขออนุญาต เพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน ในช่วงธันวาคมปี 2564 

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดงานเสวนาวิชาการ Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19” นำเสนอความก้าวหน้า การผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub พร้อมนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ

chuu

ภายในงานเสวนามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนา อาทิ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ นักวิจัยผู้ร่วมคิดค้นวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชตระกูลยาสูบ ร่วมเสวนา

ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวถึงความคืบหน้าของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่กำลังพัฒนาวัคซีนต้นแบบทั้งสิ้น 6 ชนิด ว่า ขณะนี้ วัคซีนต้นแบบชนิดแรก “Baiya SARS-CoV-2 Vax 1 ได้รับการนำไปฉีดในสัตว์ทดลอง และดำเนินการเสร็จสิ้น ในขั้นตอนของการทดลองในสัตว์ทดลองทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ หนูขาว และลิง ซึ่งผลที่ได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองทั้ง 2 ชนิด ได้ในปริมาณสู งจากการฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง

ขั้นตอนต่อจากนี้ จะมีการทดสอบวัคซีนในหนูอีกครั้ง เพื่อทดสอบความเป็นพิษ หรือผลข้างเคียงต่ออวัยวะต่างๆ โดยละเอียด จากการทดสอบดังกล่าว ทำให้จะสามารถกำหนดปริมาณ และขนาดของวัคซีนที่ จะนำไปใช้ศึกษาในมนุษย์ต่อไปได้

ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบภูมิคุ้มกันของลิงหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าลิงยังคงมีแอนติบอดี้ต่อเชื้อโควิด-19 อยู่หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าวัคซีนดังกล่าวนี้ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระยะยาวได้เป็นผลสำเร็จ

สำหรับการทดลองในมนุษย์ จะต้องมีการออกแบบวิธีการประเมินผล ซึ่งต้องหารือกับศ.นพ.ธีระวัฒน์ ซึ่งในช่วง 9 เดือนนี้ จะต้องมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับวัคซีนออกมาอย่างแน่นอน ซึ่งจุดที่เน้นในการทดลองคือความปลอดภัย

ด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวถึงผลการทดสอบวัคซีน จากใบยาสูบในลิงที่ฉีดไป 2 เข็ม เมื่อดูจากเซลล์และน้ำเหลือง พบว่าทั้งในหนู และลิง สามารถยับยั้งไวรัสได้สูงพอๆกับการทดลอง ที่มีการรายงานในต่างประเทศ และวัคซีนดังกล่าวยังมีผลกระตุ้นระบบหน่วยความจำในร่างกาย

เนื่องจากไวรัสโควิด เมื่อติดเชื้อจากร่างกายคนไปสู่อีกคน เช่น คนติดเชื้อคนแรกเป็นไวรัสเบอร์ 1 แต่มีการติดเชื้อไปเรื่อยๆ จนถึงเบอร์ 15 ที่ถือว่าเป็นลูกหลานของไวรัสเบอร์แรก ถ้าหน่วยความจำ จำไม่ได้ วัคซีนก็จะไม่มีผลในการป้องกัน

การทดลองในคน ที่จะมีขึ้นกลางปี 64 หรือในอีก 9 เดือนข้างหน้าถือเป็นการสร้างโอกาสให้คนไทย เพราะขณะนี้ ทั่วโลกกำลังทดสอบวัคซีน แต่ไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่ และครอบคลุมพันธุกรรมไวรัสที่ผันแปรหรือไม่ เพราะไวรัสโควิด เมื่อเข้าตัวมนุษย์ และไปสู่อีกคน จะมีการผันแปรพันธุกรรมให้ไม่เหมือนเเดิม

ถ้าวัคซีนโควิดจำลูกหลานตัวเองไม่ได้ ฉีดแล้วก็ไม่มีผลการในการป้องกัน ดังนั้น หน่วยความจำจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งพบว่าคนที่หายจากโควิด หลังจากนั้น 60 วัน ต่อมา แขนขาเกิดอัมพาต ตากลอกไปมาไม่ได้ ซึ่งเกิดในต่างประเทศหลายราย และในไทย 1 ราย ตอนนี้รักษาอยู่ที่ รพ.จุฬาฯ ส่วนสาเหตุที่ป่วยภายหลัง เพราะโควิด ส่งผ่านล่อลวงร่างกาย ให้คิดว่าเส้นประสาทเป็นเชื้อโรค จึงทำลาย เส้นประสาท ดังนั้น วัคซีนที่ผลิตออกมาจะต้องป้องกันตรงนี้ด้วย

thee

ขั้นตอนต่อจากนี้ จะมีการทดสอบวัคซีนในหนูอีกครั้ง เพื่อทดสอบความเป็นพิษ หรือผลข้างเคียงต่ออวัยวะต่าง ๆ โดยละเอียด จากการทดสอบดังกล่าว ทำให้จะสามารถกำหนดปริมาณ และขนาดของวัคซีนที่จะนำไปใช้ศึกษาในมนุษย์ต่อไปได้

หากการทดลองในสัตว์ทดลองซ้ำอีกรอบ ประสบความสำเร็จ คาดการณ์ว่า จะเริ่มทดสอบในคนได้ช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม ปี 2564 และหากการทดสอบผ่านทุกขั้นตอน คาดว่า จะสามารถยื่นขออนุญาตเพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน ในช่วงธันวาคมปี 2564  ส่วนราคาวัคซีน คาดว่า จะมีราคาไม่แพง เพราะผลิตและคิดค้นในไทย ที่สำคัญยังไม่ติดสิทธิบัตรด้วย

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ บอกด้วยว่า ในการจะทดสอบวัคซีนในคนนั้น ต้องทำให้แน่ใจด้วยว่า คนที่จะเข้าร่วมการทดสอบนั้น ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน เพื่อให้ได้ผลที่ออกมาแน่นอนว่า ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากวัคซีน ไม่ได้มาจากเชื้อไวรัสที่เคยติดมาก่อนแล้ว

“เรารู้สึกว่าคนไทยมีของดีอยู่ในตัว ของดีตรงนี้ จากการติดตามคนกลุ่มหนึ่ง ทำให้เราพบว่า ประเทศไทยมีการติดเชื้ออยู่ระดับหนึ่ง โดยที่ไม่มีอาการ มีการติดต่อกัน โดยไม่มีอาการ คำถามคือ ทำไมไม่มีอาการ ซึ่งของดีตรงนี้ อาจจะหมายความว่า คนไทยอาจจะเคยได้รับเชื้อ ที่เป็นเชื้อปู่ย่าของโควิด-19 มาก่อน และเมื่อไปติดเชื้อโควิด-19 มาจริงๆ แล้ว เชื้อก็ไม่เข้า หรือเชื้อถูกทำลายไปเลย”

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ระบุด้วยว่า เรื่องนี้ไม่ได้พูดลอยๆ มีหลักฐานในพื้นที่หนึ่ง ซึ่งนักวิจัยต่างประเทศกำลังจับตา ว่าเรามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ เพราะว่าคนไทยไม่เหมือนยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ฉะนั้น เรามีของดี จึงต้องรักษาของดีไว้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo