Economics

เตรียมพร้อม! ‘ศบศ.’ เคาะแจกเงิน 3000 บาทแล้ว เช็คเงื่อนไขก่อนลงทะเบียนที่นี่

แจกเงิน 3000 บาท “ศบศ.” ไฟเขียวโครงการคนละครึ่ง แจกเงิน 3,000 บาท 10 ล้านคน วงเงินกว่า 51,000 ล้านบาท ห้ามผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหมดสิทธิ์ เริ่มลงทะเบียนกลางเดือน ต.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (ศบศ.) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์โครงการ คนละครึ่ง โดยภาครัฐจะให้สิทธิประโยชน์โดยอาศัยวิธีการร่วมจ่าย หรือ Co-pay 50% ไม่เกิน 100 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน จำนวน 10 ล้านคน จนถึงสิ้นเดือน ธันวาคม 2563 สำหรับผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และลงทะเบียน ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคมนี้

แจกเงิน17963

ขณะเดียวกัน จะเปิดรับลงทะเบียนร้านค้าในโครงการ ซึ่งไม่ใช่นิติบุคคล เช่น ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ส่วนร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไม่สามารถเข้าร่วมได้ พร้อมเพิ่มวงเงินใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จากเดิม คนละ 200 – 300 บาท เป็น 500 บาท เป็นเวลา 3 เดือน แทน และไม่สามารถเข้าโครงการคนละครึ่งได้ คาดใช้วงเงินรวม 51,000 ล้านบาท ซึ่งจะเสนอคณะรัฐมนตรีสัปดาห์หน้า

นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการ ศบศ. ระบุว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เสนอให้มีการปรับปรุงเงื่อนไขสมาร์ทวีซ่าเพื่อดึงนักธุรกิจต่างชาติเข้ามาในไทย โดยให้ปรับปรุงเงื่อนไขให้เชื่อมโยงกับการลงทุน และการถือครองหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และพำนักในไทยในระยะยาว พร้อมกับให้ ททท. ศึกษาการปรับเงื่อนไขกลุ่มนักท่องเที่ยวอีลิทการ์ดให้เชื่อมโยงกับการลงทุนในไทยด้วย โดยนำรายละเอียดกลับมาเสนอในที่ประชุม ศบศ. อีกครั้ง

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รับสิทธิ์ มีดังนี้

  • มีสัญชาติไทย
  • อายุ 18 ปีขึ้นไป

โดยจำกัดไว้ที่ 15 ล้านคน สมัครเข้าร่วมโครงการแบบใครมาก่อนได้ก่อน รัฐจะ แจกเงิน 3000 บาท ให้ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของธนาคารกรุงไทย

ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ

  • ร้านค้าทั่วไป
  • หาบเร่
  • แผงลอย ที่เป็นรายย่อย

เงื่อนไขการใช้จ่าย

  • ใช้ได้ไม่เกินวันละ 100 – 250 บาท
  • รัฐบาลจะช่วยค่าใช้จ่าย 50% และอีก 50% ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเอง
  • ครอบคลุมอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้า ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และบุหรี่
  • มีระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2563

ขณะที่กลุ่มร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ จะมุ่งเน้นไปที่ร้านค้ารายย่อยทั่วไป ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการหาบเร่ แผงลอย ประมาณ 80,000 ร้านค้า ผ่านกลไกการดำเนินงานผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล โดยที่ประชุมมีมติให้กระทรวงการคลังจัดทำรายละเอียดโครงการ เพื่อนำเสนอต่อ ศบศ. ภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ คาดจะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ 90,000 ล้านบาท

“มาตรการ แจกเงิน 3000 บาท ทาง ศบศ.ให้กระทรวงการคลังไปดูรายละเอียดและนำกลับมาเสนอ ศบศ.เห็นชอบอีกครั้ง เพื่อเข้า ครม. คาดว่าจะเริ่มโครงการเดือนตุลาคม 2563” นายดนุชา กล่าว

TravelBubble

ด้าน น.ส. ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงโครงการแจกเงิน 3000 บาท ก่อนหน้านี้ว่า ตามที่สื่อบางสำนัก รายงานโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ประชาชน 15 ล้านสิทธิ์ รับ 3,000 บาท เพื่อจับจ่ายใช้สอย เป็นการเอื้อทุนใหญ่ เงินเข้ากระเป๋าห้างสรรพสินค้า และ ร้านสะดวกซื้อ รัฐบาลขอชี้แจงว่า โครงการดังกล่าว เป็นมาตรการทางเศรษฐกิจ เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ที่ต่อยอดจากโครงการชิมช้อปใช้

โดยร้านค้าที่เข้ามาโครงการ จะยังเหมือนเดิม แต่วัตถุประสงค์หลัก ของโครงการนี้ เพื่อขยายร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีเป้าหมาย คือกลุ่มร้านค้าหาบเร่แผงลอย ร้านโชห่วย ร้านขายข้าวแกง ร้านขายอาหาร และ เครื่องมือตามตลาด หรือ ตลาดนัด เป็นต้น เพื่อกระจายรายได้ลงสู่ผู้ประกอบการรายเล็กให้ได้มากที่สุด

“รัฐบาลได้กำหนดหลักการเบื้องต้น ให้สามารถใช้จ่ายได้วันละ 100 บาท โดยรัฐออกค่าใช้จ่ายให้ 50% ผู้ได้รับสิทธิ์ออกเอง 50% ให้สอดคล้องในการจับจ่ายใช้สอยกับผู้ประกอบการรายเล็ก เช่น การซื้ออาหาร เครื่องดื่ม ตามร้านค้าหาบเร่แผงลอง หรือร้านโชห่วย” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการดังกล่าว รัฐบาลต้องการช่วย เรื่องค่าครองชีพของประชาชน พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ลงไปสู่ผู้ค้ารายเล็กรายน้อย หลังจากที่ได้ผลกระทบ จากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยไม่ได้ตั้งเป้า ให้เงินเข้ากระเป๋าทุนใหญ่แต่อย่างใด แม้โครงการดังกล่าว จะมีห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อเข้าร่วมก็ตาม แต่จะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์การใช้จ่ายนั้น เอื้อให้มีการซื้อของกับผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อยจริงๆ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo