General

เมาแล้วขับ เล็งใช้ค่าปรับ ตั้งกองทุนเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เมาแล้วขับ เล็งใช้ค่าปรับ ตั้งกองทุนเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำเมา พร้อมเร่งแผนควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระยะที่ 2 ปี 2564–2570

นายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดี กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า จากการประชุมเชิงปฏิบัติ การจัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระยะที่ 2 พ.ศ.2564–2570 มีข้อเสนอให้ จัดตั้งกองทุนเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบ จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และรณรงค์หยุดพฤติกรรม เมาแล้วขับ

เมาแล้วขับ

สำหรับ แหล่งที่มาของกองทุน คือ ค่าปรับจากคดี เมาแล้วขับ ร้านค้าและเจ้าของธุรกิจ ที่ควรมีส่วนรับผิดชอบ กรณีเกิดอุบัติเหตุ จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้ลงพื้นที่ จัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระยะที่ 2 พ.ศ.2564–2570 ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ ยกระดับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มุ่งสู่การปรับเปลี่ยนค่านิยม และลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของสังคมไทย

ข้อเสนอดังกล่าว เป็นผลมาจากการเปิดรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงาน จากผู้รับผิดชอบ งานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2563 ณ เขตพื้นที่ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

นอกจากการเสนอให้ จัดตั้งกองทุนเยียวยาแล้ว จากการหารือร่วมกัน ยังมีข้อเสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความตระหนักถึงโทษ พิษภัย และผลกระทบ ที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เริ่มตั้งแต่เยาวชนชั้นประถมขึ้นไป

นายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส
นายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส

พร้อมกันนี้ ยังเห็นว่า ควรเพิ่มการทดสอบความรู้ข้อกฎหมาย ก่อนการขอ หรือต่อใบอนุญาตจำหน่าย รวมถึงห้ามใช้ชื่อสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น และ กำหนดวันห้ามขายเพิ่มเติม เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ และทุกวันพระ เป็นต้น

ด้านนายแพทย์นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวเสริมว่า การควบคุม และแก้ไขปัญหา การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความท้าทาย และจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน

ทั้งนี้ เพื่อร่วมมือกัน ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จริงจัง ในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับนโยบาย จนถึงระดับพื้นที่ เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว และนำไปสู่การยกระดับ การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประเทศให้มีสมรรถนะสูง มุ่งสู่การปรับเปลี่ยนค่านิยม และ ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของสังคมไทย อันจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ประชุม e1598459291481

ก่อนหน้านี้ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) เปิดเผยว่า จากสถิติดัชนีความรุนแรงของกรมทางหลวง พบว่า ในอุบัติเหตุ 100 ครั้ง จะมีผู้เสียชีวิต 15 คน ถึงแม้ว่าสถานการณ์ผู้ขับขี่ดื่มแล้วขับ ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเดือน มีนาคม – เมษายน 2563 จะมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปี 2562 เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่หลังจากมีมาตรการผ่อนปรนหลังวันที่ 3 พฤษภาคม พบว่า ตัวเลขอุบัติเหตุ เริ่มมีแนวโน้มกลับมาสูงขึ้น

ขณะที่ข้อมูลจาก กรมคุมประพฤติ ระบุว่า ยอดคดีเมาแล้วขับ ที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ถึง 2 มกราคม 2563 มีสถิติคดีที่เข้าสู่ระบบงานคุมประพฤติ 12,360 คดี เป็นคดีขับรถขณะเมาสุรา สูงสุดถึง 11,997 คดี หรือ 97% และคดีขับเสพ 345 คดี คดีขับรถประมาท 17 คดี คดีขับซิ่งและแข่งรถ 1 คดี

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถิติ กับเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา เพิ่มขึ้นถึง 3,291 คดี คิดเป็น 37.8% และ เป็นการกระทำผิดซ้ำย้อนหลัง 1 ปี 362 ราย และทำผิดซ้ำเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ 24 ราย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo