Technology

เปิดแผน 5 ปี ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน คาดดูดเงินลงทุนอีอีซีกว่า 2.6 หมื่นล้าน

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน ครม.ไฟเขียวแผน 5 ปี ลงทุน 5,408 ล้านบาท คาดดึงเงินลงทุนเข้าไทย ลงอีอีซี ไม่ต่ำกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ และอนุมติ โครงการจัดตั้ง  ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG)

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน

ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการ ให้ดำเนินโครงการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568)

2. อนุมัติกรอบวงเงิน ในการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน เพื่อดำเนินโครงการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG) จำนวน 5,408.77 ล้านบาท

สำหรับสาระสำคัญ ของโครงการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม ที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ (SI) นักนวัตกร ตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการสาธิต การเรียนรู้ และการทดลองปฏิบัติจริง

การพัฒนาดังกล่าว จะครอบคลุม Industry Assessment Tools, Learning Station/Line และ testbed/sandbox รวมไปถึงกิจกรรมวิจัย เพื่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ โดยมีสถานที่ตั้งโครงการ บนพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEci) วังจันทร์วัลเลย์โซน E (ARIPOLIS Pilot Plant) อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

นวทางการดำเนินงานที่สำคัญ

กลยุทธ์การดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ EECi ผสมผสานกับแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ที่เกี่ยวข้อง จัดกลุ่มเป็น 2 ส่วนงานหลักคือ

  • ส่วนงานด้านพัฒนาผลงานวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบการผลิต (Manufacturing Management and Process Development) เพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิจัย พัฒนาและทดสอบ ในด้านกระบวนการพัฒนาต้นแบบการผลิต ให้กับผู้ประกอบการ
  • ส่วนงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ (Manufacturing Product Development) เพื่อรองรับ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทดสอบศักยภาพ ในด้านกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก่อนออกสู่ตลาด ให้กับผู้ประกอบการ

GettyImages 1164217818

กิจกรรมย่อยทั้งหมดของโครงการ SMC ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่

1. Reference Architecture and Standards หมายถึง งานบริการทดสอบและจัดทำมาตรฐาน

2. Service & Industry Promotion หมายถึง งานบริการและสนับสนุนอุตสาหกรรม : สร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่และสนับสนุนการประกอบธุรกิจเทคโนโลยีด้วยบริการครบวงจร

3. Workforce Development หมายถึง งานด้านการพัฒนาคน : เตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะแรงงาน สร้างและพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากรในภาคเอกชน

4. Pilot Line หมายถึง ศูนย์สาธิตด้าน อุตสาหกรรมอัจฉริยะ ได้แก่ 1) Re-Manufacturing 2) Warehouse 3) Smart Energy & utility 4) Command unit 5) Maintenance

5. Industry 4.0 Testlabs/Tested bed and R&I หมายถึง งานบริการทดสอบต้นแบบและผลิตภัณฑ์ งานวิจัยพัฒนาร่วมกับภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการร่วมวิจัยและนวัตกรรมกับภาคอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรม ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีกลุ่มพันธมิตรสำคัญ ในการขับเคลื่อน SMC ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 3 กลุ่มสมาชิก ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงข้อมูลและบริการลดหลั่นกันไปตามลำดับ ได้แก่

Tier 1 ได้แก่ กลุ่มร่วมทุน (Anchor) โดยมีเป้าหมายสำคัญในการก่อตั้งศูนย์ฯ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทยตลอดห่วงโซ่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ผลิตบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องทั่วไป

Tier 2 ได้แก่ กลุ่มสมาชิก (member) ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการที่นำผลิตภัณฑ์มาร่วมวาง/สาธิต/ทดสอบ ในศูนย์ และ ผู้ประกอบการที่ใช้บริการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ

Tier 3 ได้แก่ กลุ่มเครือข่าย (Partners) เช่น กลุ่มเมกเกอร์ นักศึกษา บุคคลทั่วไป โดยมีบทบาทสำคัญ คือ การร่วมส่งเสริมให้มีการขยายผลการใช้งานและแลกเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นไปอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะทำให้เกิดการส่วนร่วม ในระบบนิเวศนวัตกรรมอุตสาหกรรม

technology ๒๐๐๗๒๖

ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 เริ่มปีงบประมาณ 2564 กลุ่มปฏิบัติการ มุ่งเน้นด้านกระบวนการวางพื้นฐานองค์ความรู้ และองค์ประกอบสำหรับกระบวนการผลิต ในภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

ระยะที่ 2 เริ่มปีงบประมาณ 2565 – 2567 กลุ่มปฏิบัติการ มุ่งเน้นด้านยกระดับกระบวนการ การวางพื้นฐานทดสอบต้นแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพ ในกระบวการผลิต ของภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

ระยะที่ 3 เริ่มปีงบประมาณ 2568 กลุ่มปฏิบัติการ มุ่งเน้นด้านการพัฒนากระบวนการผลิตก้าวหน้า สู่การวางพื้นฐาน และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตขั้นสูง ของภาค อุตสาหกรรมอัจฉริยะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

1. โครงสร้างพื้นฐานและกำลังคน เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการพัฒนา สู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะ พร้อมให้บริการแก่หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยตลอดห่วงโซ่การผลิต (Value chain)

2. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ รวมถึงหน่วยงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สามารถทดสอบการขยายผลการวิจัยพัฒนา ไปสู่การลงทุนต่อยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ด้วยความพร้อม ทั้งทางเทคนิคและศักยภาพการแข่งขัน

3. ศูนย์กลางเครือข่ายองค์ความรู้ และโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี เพื่อการยกระดับการผลิตสินค้าและบริการ ของเขตนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกิดใหม่ แบบครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย และพร้อมสู่ระดับสากล ซึ่งจะเป็นปัจจัยดึงดูดนักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยต่างชาติ และนักลงทุน

ทั้งนี้ ยังคาดว่า โครงการดังกล่าว จะทำให้เกิดรายได้สำหรับการพึ่งพาตนเอง ลดภาระรายจ่ายงบประมาณภาครัฐ ของโครงการ SMC จะมุ่งเน้นการบริการในกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่และกลุ่มผู้ประกอบการ SME ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ที่จะช่วยให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนรวม 2,349.25 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน คาดว่าจะเกิดโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรม ที่จะมีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจ BCG โดยคาดว่า จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม เสริมศักยภาพความเข้มแข็งทางการแข่งขัน ของผู้ประกอบการ และภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีเชื่อมต่อกับห่วงโซ่อุปทานการผลิต รวมถึงก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนตั้งแต่ปี 2565

ที่สำคัญคือ คาดว่าจะเกิดมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มเติม ของผู้ประกอบการที่เข้ารับบริการจากโครงการ โดยวางเป้าหมายมีการปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นรวม 26,136.84 ล้านบาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo