Technology

เดินหน้า 5G ยกระดับประเทศ เร่งวางโครงข่าย คลุม 98% อีอีซี-สมาร์ทซิตี้

เดินหน้า 5G คณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ นัดแรก 2563 ผ่านระยะ 1 พัฒนา 2 ช่วง ปี 2564-2570 เร่งขยายโครงข่ายเข้าถึงพื้นที่ 98% เขตอีอีซี และสมาร์ทซิตี้

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ นัดแรกปี 2563 โดยที่ประชุมมีมติ เดินหน้า 5G ยกระดับประเทศ โดยเห็นชอบ ร่างแผนปฏิบัติการ ว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ 5G ของประเทศไทย ระยะที่ 1 แบ่งการพัฒนาเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ระหว่างปี 2564-2565 และช่วงที่ 2 ระหว่างปี 2566-2570

เดินหน้า 5G

ทั้งนี้ ร่างแผนปฏิบัติการ ดังกล่าว มีตัวชี้วัดที่สำคัญคือ

  • โครงข่าย 5G มีความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ในเขตพื้นที่เทศบาล และ 50 Mbps ในทุกพื้นที่
  • โครงข่าย 5G ที่เข้าถึงร้อยละ 98 ของประชากรทุกพื้นที่ของเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ อีอีซี และประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดที่ได้รับการประกาศเขตให้เป็น สมาร์ทซิตี้

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบ โครงการนำร่องเพื่อต่อยอดการใช้ประโยชน์ 5G ของไทยในระยะสั้น ประกอบด้วย

1. โครงการนำร่องเกษตรดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยี 5G ได้แก่ โครงการนำร่องเกษตรดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยี 5G ณ ศูนย์ฝึกอบรมผาหมี อ.ดอยตุง จ.เชียงราย และโครงการนำร่องเกษตรดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี 5G ณ โครงการร้อยใจรักษ์ อ. แม่อาย จ.เชียงใหม่

2. โครงการนำร่อง โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ในโรงพยาบาลศิริราช เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G และ Critical Technology เพื่อพัฒนาบริการสาธารณสุขในรูปแบบใหม่ ตั้งแต่กระบวนการพยากรณ์ความเสี่ยง การป้องกันโรค และการรักษา ทั้งการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD ไปจนถึงการบริหารจัดการทรัพยากร ของโรงพยาบาล

1 7

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบในหลักการ มาตรการส่งเสริม และเพิ่มประสิทธิภาพ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรม ที่มี โปรโมชั่น แพ็คเกจ ประกอบด้วย

  • มาตรการส่งเสริม การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ที่กำหนดให้การวางระบบโครงข่ายไฟเบอร์เพื่อบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นสาธารณูปโภคเช่นเดียวกับระบบน้ำและไฟ
  • มาตรการยกเลิก และ ลดข้อจำกัดเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ประโยชน์ โดยพิจารณาอนุญาต ให้ใช้คลื่นความถี่ร่วมกันได้ สามารถลดขั้นตอนการติดตั้งสถานีฐาน ในพื้นที่ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย โดยไม่บังคับให้ทำประชาพิจารณ์
  • มาตรการภาษี ส่งเสริมการวางโครงข่ายไฟเบอร์ ส่งเสริมการลงทุนขยายโครงข่าย เช่น การลดภาษีเงินได้ (Corporate Tax) สำหรับการลงทุนในโครงข่าย และอุตสาหกรรมอื่น เช่น โรงงาน อาคาร หมู่บ้าน
  • มาตรการส่งเสริมการลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ที่ควรมีมาตรการ BOI เพื่อส่งเสริมการลงทุนพัฒนาระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ให้เป็นระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ

สำหรับคณะกรรมการชุดนี้ มีอำนาจหน้าที่สำคัญ ในการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศ ต่อยอดการใช้ประโยชน์ ของเทคโนโลยี 5G หลังจากที่ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ได้ประมูลคลื่นความถี่ และลงทุนขยายโครงข่าย ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมความพร้อม รองรับการใช้งานเทคโนโลยี 5G

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo