Economics

‘สุพัฒนพงษ์’ เตรียมสรุปแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในเดือนนี้ เน้นดูแลทุกกลุ่ม

“สุพัฒนพงษ์” คาดได้ข้อสรุปแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในเดือนนี้ ชี้อาจไม่ใช่การแจกเงินเหมือนที่ผ่านมา แต่เน้นดูแลทุกภาคส่วน ด้าน “ปรีดี” คาดเศรษฐกิจปีหน้าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการมอบนโยบายให้ผู้บริหารกระทรวงการคลัง ว่า พร้อมออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยมาตรการชุดนี้ จะไม่ใช่การแจกเงินเหมือนที่ผ่านมา หรือ อาจจะปรับลดวงเงินลง แต่ส่วนหนึ่งจะเป็นการดูแลช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน พร้อมย้ำจะดูแลทุกภาคส่วน โดยยินดีรับข้อเสนอของภาคเอกชน

ส่วนการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) 500,000 ล้านบาท ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่พบว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนมาก ยังไม่สามารถเข้าถึงมาตรการดังกล่าวได้นั้น จะกลับไปพิจารณา และขอเวลาในการศึกษาถึงแนวทางว่าจะดำเนินการได้อย่างไร

สุพัฒนพงษ์178631

สำหรับแนวทางการดูแลด้านเศรษฐกิจที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำชัด เพื่อดูแลประชาชน 5 ข้อ ได้แก่

1. เยียวยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเอสเอ็มอีและประชาชนในภาคส่วนต่าง ๆ ที่ต้องตกงานในช่วงที่ผ่านมา

2. ทำงานบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

3. สร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจต่าง ๆ ให้ยังคงการจ้างงานต่อไป และให้ธุรกิจต่าง ๆ พลิกองค์กรของตัวเองให้กลายเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น

4. ต้องการให้คนรุ่นใหม่ หรือนักศึกษาจบใหม่จำนวนมากกำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานต้องมีงานทำ

5. รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกคนในสังคม รวมถึงการทำงานต่าง ๆ เหล่านี้ จะต้องทำด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส

117876048 1450781885127123 9023151691538088986 o

ด้านนายปรีดี ดาวฉาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คาดเศรษฐกิจไทยจะหดตัว 7.5% คาดปี 2564 จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ความท้าทายของเศรษฐกิจไทยระยะสั้น คือ เศรษฐกิจหดตัวจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง การส่งออกหดตัว อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 745,000 คน หรือ 2% ของกำลังแรงงาน โดยมีแรงงานมากกว่า 2 ล้านคนที่ไม่ได้รับเงินเดือน แต่มีงานรอกลับไปทำ ขณะที่เม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจมีจำกัด

สำหรับนโยบายเร่งด่วน คือ การดูแลค่าครองชีพและการจ้างงานโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ประคับประคองผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีด้วยการเสริมสภาพคล่อง กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวและการบริโภค โดยนโยบายเศรษฐกิจระยะต่อไปจะวางรากฐานเศรษฐกิจใหม่หลังสถานการณ์โควิด โดยการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว เร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ และพัฒนากลไกการรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินและการกำกับดูแล SFIs

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo