General

เหลือไว้แต่ความทรงจำ! เผาศพ ‘ซีอุย’ ชาวบ้าน ‘ทับสะแก’ ร่วมพิธี

เผาศพ ซีอุย กรมราชทัณฑ์ ทำพิธีฌาปนกิจ ที่วัดบางแพรกใต้ มีชาวบ้านจากทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ เดินทางมาร่วมงานด้วย  หลังร่างของซีอุย ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มานาน 60 ปิดฉากตำนาน “มนุษย์กินคน” 

วันนี้ (23 ก.ค.) พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดี กรมราชทัณฑ์  เป็นประธานในพิธี เผาศพ ซีอุย หรือ นักโทษชายลีอุย แซ่อึ้ง ที่วัดบางแพรกใต้ ถนนนนทบุรี 1 ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี  โดยมีพระครูศรีนนทวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดบางแพรกใต้ และเจ้าคณะตำบลสวนใหญ่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

cover ซีอุย

นอกจากนี้ ยังมีนายมนตรี บุนนาค ผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี นพ. ธวัชชัย อัครวิพุฒิ รองคณบดีฝ่ายบริหารโรงพยาบาลศิริราช พล.ต.ท.อำพล บัวรับพร ผบช.ภ 1 พล.ต.ต.ไพศาล วงศ์วัชรมงคล ผบก.ภ.จ.นนทบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางบางขวาง เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ และชาวบ้านจาก อ.ำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เข้าร่วมพิธีกว่า 50 คน

365110

เผาศพ ซีอุย

พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ อาคารอดุลยเดชวิกรม โรงพยาบาลศิริราช  ได้จัดแสดงร่างซีอุย และเปิดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการประมาณ 60 ปี ต่อมาในปี 2562 ได้มีชาวบ้านจากอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งข้อสังเกตถึงเรื่องการจัดแสดงร่างซีอุย

หลังจากมีชาวบ้าน อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เข้าร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนว่า การจัดแสดงนิทรรศการศพซีอุย ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้เสียชีวิต เนื่องจากผู้ต้องหาได้เสียชีวิตไปนานแล้ว ไม่ควรจะลิดรอนสิทธิ จึงได้ประสานไปยังโรงพยาบาลศิริราช เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว

S 3416131

พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า ทางกรมราชทัณฑ์เห็นว่า นายซีอุย เป็นบุคคลไร้ญาติ และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ สามารถดำเนินการได้ จึงกำหนดให้มีการเผาศพนายซีอุย โดยได้เชิญผู้เกี่ยวข้อง ทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ชาวบ้าน อำเภอทับสะแก เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน เข้าร่วมในงานฌาปนกิจครั้งนี้

เผาศพ ซีอุย

ขณะที่นายเทิดพร มโนไพบูลย์ อดีตซึ่งเคยรับบทแสดงเป็นซีอุย เดินทางมาร่วมงานศพด้วย กล่าวว่า  ตั้งใจจะมาเงียบๆ  จะมาขอบคุณว่าได้อาศัยชื่อเขา แล้วก็ประวัติของเขา ทำให้มีชื่อเสียงขึ้นมา มีคนรู้จักมากขึ้น

“ดีใจครับ และดีใจแทนเขาด้วยว่า อย่างน้อยที่สุด เขาก็ได้รับความเป็นธรรม หลังจากทนทุกข์ทรมานในตู้ 60 ปี ตอนนี้เขาเป็นอิสระแล้ว”

ก่อนจะได้ เผาศพ ซีอุย

ทั้งนี้  เรื่องราวของซีอุย หรือ “มนุษย์กินคน” กลับมาเป็นที่สนใจของสังคมไทยอีกครั้ง เมื่อปีที่แล้ว จากแคมเปญรณรงค์ “นำร่างซีอุย แซ่อึ้ง ออกจากพิพิธภัณฑ์ศิริราช คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ล้างฉายา มนุษย์กินคน” บนเว็บไซต์ Change.org

นายฟาโรห์ จักรภัทรานน ผู้ตั้งแคมเปญรณรงค์ดังกล่าว ระบุถึงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อให้สังคมไทย ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดว่า ในอดีตเคยมีชายคนหนึ่ง ตกเป็นจำเลยสังคม เพราะการเผยแพร่ข่าวลือ ที่ไม่มีพยานหลักฐานของสื่อสำนักพิมพ์ และเพื่อเป็นอีกหนึ่งย่างก้าว ในการตระหนักถึงสิทธิและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทั้งตนเอง และผู้อื่นของคนไทย

ซีอุย

ตำนาน “มนุษย์กินคน”

ตามบันทึกคำให้การของตำรวจ ระบุว่า ซีอุยเกิดประมาณปี 2464 ตำบลฮุนไหล เมืองซัวเถา ประเทศจีน เมื่อโตเป็นวัยรุ่น ได้ถูกเกณฑ์ไปประจำหน่วยทหาร ต่อสู้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่น เมื่อสงครามสิ้นสุด จึงถูกเกณฑ์ไปรบกับฝ่ายเหมาเจ๋อตุง จากนั้น หนีทหารเข้ามาในไทย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2489

เมื่อซีอุยมาถึงไทย ถูกกักตัวอยู่ที่กองตรวจคนเข้าเมือง 10 วัน ก่อนที่นายทินกี่ แซ่อึ้ง จะมารับรองออกไปได้ จากนั้นก็พักอยู่จังหวัดพระนคร ที่โรงแรมเทียนจิน ตรอกเทียนกัวเทียน ประมาณ 5-6 วัน ก่อนจะเดินทางไปทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตรงกับคำให้การเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2501 ที่ยืนยันว่า “มาอยู่เมืองไทยครั้งแรกที่ตำบลทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์”

หลังจากนั้น ซีอุยก็เดินทางไปมาทำงานรับจ้างอยู่หลายที่ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ขึ้นอยู่กับงานที่ทำ โดยในช่วง 8 ปีแรก ในไทย ซีอุยไม่ได้ก่อคดีร้ายแรงใด ๆ นอกจากคดีทะเลาะวิวาทบ้างเป็นบางครั้ง

แต่เงื่อนงำที่สำคัญก็คือ เส้นทาง และแหล่งพักพิงของซีอุย ตรงสถานที่เกิดเหตุของคดีทั้ง 7 อย่างเหลือเชื่อ คือ ประจวบคีรีขันธ์ 5 คดี กรุงเทพฯ นครปฐม และระยอง แห่งละ 1 คดี

หลังจากที่ซีอุยถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2501 คดีสะเทือนขวัญของซีอุยได้ถูกบอกเล่า เป็นตำนานของฆาตกรโหดเหี้ยม ทุกครั้งที่เด็กมีความประพฤติไม่ดี ผู้ใหญ่มักจะขู่ด้วยคำพูดที่ว่า “เดี๋ยวให้ซีอุยมากินตับ” ทำให้ภาพของการเป็นฆาตกรโรคจิต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo