Business

ขยายลงทะเบียน ‘เยียวยาเกษตรกร’ ถึง 15 ก.ค. จ่ายผู้ด้อยโอกาสเพิ่ม 1.3 แสนคน

“ครม.” ไฟเขียวขยายขึ้นทะเบียน “เยียวยาเกษตรกร” ถึง 15 ก.ค. พร้อมเพิ่มเยียวยา “กลุ่มเกษตรกรด้อยโอกาส” 1.3 แสนราย

เยียวยาเกษตรกร

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (16 มิ.ย. 63) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติ 4 โครงการช่วยเหลือเยียวยาภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาท ได้แก่

1.โครงการช่วยเหลือ เยียวยาเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติมจากที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ่ายไปแล้ว 7 ล้านรายในงวดแรก

  • ครม. เห็นชอบเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย “เกษตรกรที่ด้อยโอกาสและยังไม่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร” จำนวน 137,093 ราย โดยต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และยังไม่เคยได้รับการเยียวยาจากมาตรการอื่นๆ มาก่อน โดยเกษตรกรกลุ่มนี้ จะอยู่ภายใต้กลุ่มเป้าหมายการ เยียวยาเกษตรกร 10 ล้านคนที่กระทรวงเกษตรฯ เคยวางไว้
  • ครม. เห็นชอบขยายเวลาการจ่ายเงินให้เกษตรกร สำหรับ “เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 แต่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรได้สมบูรณ์ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563” จำนวน 120,000 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรในฤดูกาลที่แล้ว แต่ฤดูกาลนี้ขึ้นทะเบียนไม่ทันวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จึงให้ขยายเวลาการลงทะเบียนไปจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563

a 39 700x455 1

2.โครงการช่วยเหลือเยียวยาแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 สำหรับ “ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากโครงการอื่นๆ ของภาครัฐ ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด จำนวน 1,164,222 คน ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่

โดยกลุ่มนี้ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่มเติม และจะได้รับเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 กรอบงบประมาณรวม 3 พันกว่าล้านบาท

เงินเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน

2.โครงการช่วยเหลือเยียวยาสำหรับ “ผู้ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันไม่สำเร็จ” โดยกระทรวงการคลังรวบรวมข้อมูลได้ 302,000 คน กรอบวงเงินอยู่ที่ไม่เกิน 906 ล้านบาท

ทั้งนี้ ต้องตรวจสอบว่า ประชาชนกลุ่มนี้ไม่เคยได้รับการเยียวยาโควิด-19 จากหน่วยงานอื่นๆ มาก่อน ได้แก่ กระทรวงการคลัง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และไม่ใช่ผู้ประกันตนในระบบสังคมมาตรา 33

โดยที่ประชุม ครม. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังไปจัดทำรายละเอียดและกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน จากนั้นเสนอให้คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทฯ พิจารณาให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน

fig 07 09 2019 07 10 26

4.โครงการเยียวยากลุ่มเปราะบางตามที่ ครม. เคยเห็นชอบในหลักการมาแล้ว โดยเมื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำซ้อนกับมาตรการเยียวยาอื่นๆ พบว่า มีกลุ่มเปราะบางเข้าข่ายได้รับการเยียวยา จำนวน 6.7 ล้านคน แบ่งเป็น

  • เด็กแรกเกินถึง 6 ปี จากครอบครัวยากจน3 ล้านคน
  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 4 ล้านคน
  • ผู้พิการ3 ล้านคน

การจ่ายเงินเยียวยา จะจ่ายให้รายละ 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563  โดยเพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนเดิมที่เคยได้รับ ได้แก่ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด, เบี้ยความพิการ และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เงินจะโอนเข้าในเดือนมิถุนายน จำนวน 2 งวด รวม 2,000 บาท และเดือนกรกฎาคม 1 งวด อีกจำนวน 1,000 บาท รวมต้องใช้กรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท

ตรวจสอบสถานะ

ทั้งนี้ ล่าสุดวันนี้ (16 มิ.ย. 63) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้โอนเงิน เยียวยาเกษตรกร งวดที่ 2 ให้เกษตรกร จำนวน 999,984 ราย รวมผลการโอนเงิน 2 วัน จำนวน 1,999,968 ราย เป็นเงิน 9,999.84 ล้านบาท โดยคาดว่า จะดำเนินการเสร็จสิ้นวันที่ 21 มิถุนายนนี้

ผลการจ่ายเงินเยียวยางวดที่ 1 ของเดือนพฤษภาคม 2563 จ่ายแล้ว 7,235,675 ราย รวมทั้งสิ้น 36,178,38 ล้านบาท

ทั้งนี้ สำหรับผู้ขอรับสิทธิ์เยียวยาเกษตรกรสามารถตรวจสอบสิทธิ์การได้รับการช่วยเหลือผ่าน เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือแอพพลิเคชั่นเกษตรดิจิทัล-Digital Farmer รวมถึงตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทาง  www.เยียวยาเกษตรกร.com

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo