COLUMNISTS

ภาคการผลิตปรับตัวรับ New Normal ด้วย Sharing Economy

Avatar photo
892
สิทธิชัย แดงประเสริฐ
ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

COVID -19 นั้นอยู่กับพวกเรามาเกือบครึ่งปีแล้ว หลายภาคธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่ไตรมาส 1 ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยา-เวชภัณฑ์ สามารถขยายตัว 7.5% หรือคิดเป็นมูลค่า 5.7 พันล้านบาท ประเภทยาแก้ไข้ อาหารเสริม วิตามิน รวมถึงยาสมุนไพร เช่นฟ้าทะลายโจร เติบโต 4% แต่อย่างไรก็ตามครับการเมื่อย่างเข้าไตรมาสที่ 2 การเติบโตที่เห็นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทั่วทุกโรงงานในอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์อย่างที่ควรจะเป็น เพราะโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางหลายแห่งกลับมีความเสี่ยงต้องปิดกิจการ เนื่องจากไตรมาส 2 เป็นช่วงที่มีการล็อกดาวน์จึงเกิดปัญหาขึ้นหลายด้าน

หลายโรงงานไม่สามารถเปิดโรงงานผลิตสินค้ากะกลางคืนได้ หรือบางโรงงานก็ไม่สามารถส่งออกสินค้าไปต่างประเทศได้ และเมื่อสถานการณ์ยืดเยื้อก็ทำให้ออเดอร์ลดลง จึงทำให้เกิดเปิดโรงงานเพื่อเดินเครื่องจักรสำหรับผลิตสินค้า ไม่สามารถถึงจุดคุ้มทุนได้ เพราะออเดอร์มีจำนวนน้อยเกินไป และหากยังฝืนเปิดโรงงานต่อไปอาจถึงจุดที่แบกรับต้นทุนไม่ไหวจนต้องปิดกิจการในที่สุด

Sharing Economy11

แนวคิด Sharing Economy หรือ แนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่เหมาะกับภาคการผลิตในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยที่แต่ละโรงงานไม่ต้องแบกรับต้นทุนด้วยตัวเองทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันเราก็ได้เห็นโรงงานขนาดใหญ่รับเอาแนวคิดนี้ไปใช้ ด้วยการเปิดให้โรงงานขนาดเล็ก ส่งออเดอร์มาให้โรงงานขนาดใหญ่ทำการผลิตให้ โรงงานขนาดเล็กเองก็ตัดปัญหาเรื่องต้นทุนของการเปิดเดินเครื่องจักรแล้วไม่คุ้มทุนออกไป ด้วยการย้ายทะเบียนยาหรืออาหารเสริมไปที่โรงงานขนาดใหญ่แต่ยังสามารถทำการตลาดภายใต้แบรนด์ของตัวเองเช่นเดิม ซึ่งการใช้โรงงานร่วมกันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การใช้โรงงานร่วมกันเท่านั้น แต่ยังสามารถเข้าถึงทีมวิจัยและพัฒนาร่วมกันเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพ ซึ่งหากใครสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสก็จะสามารถไปต่อได้

แนวคิดนี้ไม่ได้เหมาะกับเพียงผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุนการผลิตเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับผู้ที่กำลังอยากมีสินค้าเป็นของตัวเอง ต้องการสร้างแบรนด์ของตัวเอง ก็สามารถใช้แนวคิดนี้ เพื่อสร้างสินค้าออกสู่ตลาดได้ ส่วนการเลือกโรงงานในการผลิตสินค้าให้นั้น แนะนำว่าต้องเป็นโรงงานที่มีกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน ไม่มีสิ่งปลอมปนในการผลิต สามารถให้คำปรึกษาด้านบรรจุภัณฑ์ และการขออนุญาตขึ้นทะเบียน อย. มีทีมวิจัยและพัฒนาที่สามารถช่วยทำงานวิจัยเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการ เพื่อพัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพมีงานวิจัยรองรับ

เจล11663

ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพใหม่ๆสำหรับผู้ที่ยังว่างงานหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19 ในการพัฒนาแบรนด์เป็นของตัวเอง ให้เกิดขึ้นได้จริงด้วยเงินลงทุนที่ไม่สูงมาก อย่างไรก็ตามไม่ควรเลือกโรงงานจากปัจจัยด้านราคาอย่างเดียว เพราะในบางครั้งแม้จะนำเสนอในราคาต่ำแต่หากการผลิตไม่ได้มาตรฐานก็จะทำให้เสียชื่อเสียงแก่แบรนด์ในระยะยาวได้

ส่วนการจะเริ่มผลิตสินค้าชนิดไหน ในปริมาณมากเท่าไหร่นั้น โซเชียลมีเดียก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการเทสต์ตลาดก่อนผลิตจริงได้ สามารถสำรวจความต้องการลูกค้า เผื่อให้เกิดการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการ ทำให้เกิดการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งครับ

ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานกรรมการบริหาร 

บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

อ่านข่าวเพิ่มเติม