Business

สลัดแฟคทอรี่ ลุยเปิด ‘คลาวด์คิทเช่น’ ป้อนเดลิเวอรี่

สลัดแฟคทอรี่ ปรับกลยุทธ์ รุกเพิ่มช่องทางการขาย เปิด จลาวด์ คิทเช่น พร้อมโมเดลใหม่ “Pop-Up Store” หวังกระจายจุดบริการให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น

นายปิยะ ดั่นคุ้ม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กรีนฟู้ด แฟคทอรี่ ผู้ดำเนินธุรกิจร้าน “สลัดแฟคทอรี่” เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเกือบทุกด้าน โดยในส่วนของร้านอาหารที่ไม่สามารถเปิดให้บริการที่หน้าร้านได้ แบรนด์จึงต้องปรับตัวเพื่อรักษารายได้ และสามารถดูแลพนักงานทุกคนได้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

ปิยะ ดั่นคุ้ม

สำหรับ สลัดแฟคทอรี่ ได้ปรับแผนงานให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและพฤติกรรมผู้บริโภคยุคโควิด-19 ด้วยการเปิดสาขาใหม่ในรูปแบบ คลาวด์ คิทเช่น ที่เน้นจัดส่งถึงบ้านหรือเดลิเวอรี่ โดยใช้พื้นที่ครัวเป็นหลัก ไม่มีบริการแบบนั่งทานที่ร้าน ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19  ในขณะนี้

ทั้งนี้ คลาวด์คิทเช่น จะบเป็นกลยุทธ์หลักในการสร้างการเติบโตของยอดขาย เนื่องจากการขยายสาขาในรูปแบบนี้สามารถทำได้รวดเร็วและลงทุนไม่สูงมากนัก รวมทั้งเลือกทำเลที่ย่านอารีย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความน่าสนใจในเชิงของผู้อยู่อาศัยที่มีกำลังซื้อ และความหนาแน่นของประชากรที่สูง จากนี้จะพิจารณาขยายสาชาคลาวด์ คิทเช่น เพิ่มเติมต่อไป

3.พร้อมเสิร์ฟทุกเมนู

นอกจากนี้ อีกกลยุทธ์สำคัญคือ การขยายโมเดลร้านใหม่รูปแบบ ป๊อบ-อัพ สโตร์ เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงและการใช้บริการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด รวมถึงยังเป็นการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยเปิดบริการที่โซนด้านหน้า ท็อปส์ มาร์เก็ต ในหลายสาขาทั่วกรุงเทพฯ เช่น เมกาบางนา, สีลมคอมเพล็กซ์, เซ็นทรัลพระราม3, เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เป็นต้น

พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้จัดแคมเปญส่งเสริมการตลาด โดยเน้นไปที่การบริการแบบเดลิเวอรี่ เช่น บริการส่งฟรี 5 กม. แรกสำหรับบางสาขา, ส่วนลด 50 บาทเมื่อสั่งผ่านช่องทาง Line OA : @SaladFactory และโปรโมชั่นพิเศษสำหรับสาขาใหม่ อารีย์ ซอย 2 มอบส่วนลด 100 บาท เมื่อซื้อครบทุก 500 บาท เป็นต้น

Tops Mega Bangna2

“สลัดแฟคทอรี่ ดำเนินธุรกิจแบบเติบโตไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นวันนี้ เราจะยังคงดูแลทุกคน ไม่มีการปลดพนักงานออก แต่ยังเร่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้พร้อมปรับตัวในทุกสถานการณ์ รวมไปถึงซัพพลายเออร์ ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ให้อยู่รอดต่อไป ด้วยการหารายได้จากช่องทางอื่นๆมาชดเชยในส่วนของหน้าร้านที่หายไป” คุณปิยะ กล่าว

Avatar photo