COLUMNISTS

ทำไม ‘หญิง-ชาย’ วัยทอง จึงขาด ‘แคลเซียม’

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
5633

วัยทอง ถือเป็นช่วงเวลาที่ระบบฮอร์โมนเพศในร่างกายจะลดลงและแน่นอน วัยทอง เกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและหญิง โดยการเปลี่ยนแปลงในวัยนี้ ถือว่าสำคัญมาก เพราะทำให้ฮอร์โมนทุกระบบในร่างกายทั้งผู้ชายและผู้หญิงลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิง เมื่อรังไข่หยุดทำงาน ระดับฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงระดับต่ำกว่ามาตรฐานที่จำเป็นในระดับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่เป็นปกติ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน จะมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมาก เพราะเมื่อหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะขาดหายไปตามธรรมชาติ ส่งผลทำให้แคลเซียมในกระดูกละลายหายจากเนื้อกระดูก การทำลายเซลล์กระดูกจะเพิ่มขึ้นในขณะที่การสร้างเซลล์กระดูกจะลดลง

แคลเซียม คือ 01

มีงานศึกษาวิจัย พบว่า กระดูกจะเริ่มบางลงตั้งแต่อายุเพียง 35 ปี โดยเมื่ออายุ 45 – 50 ปี ตัวกระดูกจะบางลงอีกประมาณ 3 – 8% และจะบางลงอีกภายหลังหมดประจำเดือนในระยะเวลา 5 ปีแรกถึงปีละ 5% จากนั้นปีต่อ ๆ ไป กระดูกจะบางลงอีก 1 – 2% ต่อปี และถูกต้องค่ะ ถ้าผู้หญิงอายุถึง 65 – 70 ปี กระดูกอาจจะบางลงถึง 30 – 50% ซึ่งเป็นสัญญาณว่าอยู่ในระยะอันตรายที่อาจเกิดภาวะกระดูกพรุน หรือ กระดูกหักได้ง่าย ๆ

เช่นเดียวกับเพศชายวัยทอง โดยผู้ชายวัยทอง ระดับฮอร์โมนเพศชายจะมีระดับค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ถึงแม้ว่า การเกิดโรคกระดูกพรุนจะมาช้ากว่าผู้หญิง แต่ความเสี่ยงก็ไม่ได้น้อยกว่ากัน มีงานวิจัยและศึกษาจากมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ ระบุว่า ผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ก็มีโอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะกระดูกพรุน เปราะแตกง่าย ถึงร้อยละ 30 ซึ่งมีความเสี่ยงพอ ๆ กับการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก กันเลยทีเดียว !

มารู้จัก “แคลเซียม” กัน

แคลเซียม คือ แร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบโดยส่วนใหญ่ในร่างกายมากกว่าแร่ธาตุอื่น ๆ ปกติร่างกายจะไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง จำเป็นต้องได้รับผ่านการย่อยอาหารและการดูดซึมร่วมกับวิตามิน ดี (Vitamin D) ที่ลำไส้เล็ก ดังนั้นเราจึงต้องรับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอ เพื่อทดแทนและเสริมสร้างการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้ง แคลเซียม ยังมีส่วนสำคัญต่อกระบวนการทางชีวเคมีภายในเซลล์ต่าง ๆ ช่วยพัฒนาและสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด กล้ามเนื้อ และช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนบางชนิด อีกด้วย

ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการ

ปัจจุบัน ในท้องตลาดบ้านเรา อาหารเสริมแคลเซียมรูปแบบเม็ดมีมากมายหลายยี่ห้อ แต่การทานแคลเซียมชนิดที่ดูดซึมไม่ดี ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด หรือ ท้องผูก ทั้งนี้ ร่างกายควรได้รับแคลเซียม ตามแต่ช่วงอายุ ดังต่อไปนี้

  • อายุ 9 – 18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ เท่ากับนม 4 – 5 แก้ว
  • อายุ 19 – 40 ปี ควรได้รับแคลเซียม 800 มิลลิกรัม หรือ เท่ากับนม 3 – 4 แก้ว
  • อายุ 41 – 50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม หรือเท่ากับนม 4 – 5 แก้ว
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ และอายุมากกว่า 60 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัม หรือเท่ากับนม 6 – 7 แก้ว

human skeleton 163715 1280

สัญญาณฟ้องร่างกายขาด “แคลเซียม”

  1. อาจทำให้เกิดอาการชา หรืออาการเจ็บกล้ามเนื้อ หรือชาตามปลายมือ ปลายเท้า
  2. อาจทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกและฟัน เช่น กระดูกอ่อนหักง่าย กระดูกพรุุน ปวดหลัง หลังโก่งงอ กระดูกบิดเบี้ยวผิดรูป
  3. อาการกระตุกของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ จังหวะการเต้นหัวใจผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระดับความดันเลือด
  4. ทำให้เกิดอาการเกร็งในช่องท้องอย่างผิดปกติ
  5. ทำให้ระบบประสาท และอวัยวะรับสัมผัสผิดปกติ ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย รวมถึงอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้
  6. เกิดความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด มีอาการเลือดไหลไม่หยุดในระหว่างผ่าตัด หรือเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ ทำให้เส้นเลือดเปราะ แตกง่าย โดยเฉพาะเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ที่ไปเลี้ยงดวงตา หัวใจ ตับ หรือ อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

จะเห็นว่าแคลเซียมมีประโยชน์ต่อร่างกายทุกวัยโดยเฉพาะวัยทองที่เน้นการบำรุงดูแลเป็นพิเศษ และถ้าทุกคนที่อยู่ในวัยทองเข้าใจพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองวัยทองอย่างเหมาะสม เน้นทางอาหารที่มีประโยชน์ แคลเซียมสูง เช่น บล็อกเคอรี่ คะน้า งาดำงาขาว น้ำส้ม ฯลฯ และขอเน้นเรื่องการออกกำลังกายเพิ่มอีกสักนิด

วัยทองก็จะเป็นวัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขตามอัตรา และในภาวะ COVID แบบนี้ เน้นมี “สติ” มองปัญหาเท่าที่มันควรจะเป็น ไม่มากเกินจริง ไม่น้อยเกินไป และใช้ “สติ” แก้ไขให้ถูกจุด พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ

(เครดิต : www.headlinecom/health/8-fast-facts-about-calcium, praram9.com/article, www.ods.od.nih.gov, siangpureoil, www.i-kinn.com)
#KINN_Holilstic_Healthcare