COVID-19

กลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 อายุ 20-29 ปี นำโด่ง ยังเดินทาง-สังสรรค์ ขอครอบครัวช่วยกัน เตือน!

ไทย พบผู้ป่วยรายใหม่ 103 ราย เป็นกลุ่มเดินทางจากต่างประเทศ 21 ราย ฝ่ามาตรการชะลอเดินทาง ประสานขอกลับอีกหลักร้อย จากอินโดนิเซีย-มาเลเซีย-กลุ่มนักเรียน AFS  พร้อมเพ่งเล็งผู่ป่วยกลุ่มอายุ 20-29 ปีรอบ 1 เดือนนำโด่ง เหตุยังเดินทาง-สังสรรค์ ขอครอบครัวช่วยกันเตือน วอนหลีกเลี่ยงใกล้ชิดผู้สูงอายุในบ้าน ด้านบุคลากรการแพทย์ติดอีก 5 ราย  เทียบประชากร “ภูเก็ต” ป่วยสูงสุดเต็มจังหวัด 100 ราย ชื่นชม 15 จังหวัดไร้ผู้ป่วย 

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าวสถานการณ์ประจำวันที่ 3 เมษายน พบว่า มีผู้ป่วยเพิ่ม 103 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 1,978 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 4 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 19 ราย มีผู้ป่วยหายกลับบ้านแล้ว 581 ราย โดยปัจจุบัน กรุงเทพเป็นกำลังหลัก ในการรักษาผู้ป่วยจนหายดี

3April UpDate02 01

สำหรับกลุ่มผู้ป่วยใหม่ 103 ราย ประจำวันที่ 3 เมษายน  ประกอบด้วย

  • กลุ่มสนามมวย 1 ราย
  • สถานบันเทิง 2 ราย
  • กลุ่มเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ที่อินโดนิเซีย 6 ราย
  • กลุ่มที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้า 39 ราย
  • กลุ่มที่กลับจากต่างประเทศ เป็นคนไทย 7 ราย ต่างชาติ 8 ราย
  • กลุ่มสัมผัสผู้เดินทางจากต่างประเทศ 2 ราย
  • กลุ่มไปสถานที่ชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว 4 ราย
  • สัมผัสชาวต่างชาติ 8 ราย
  • กลุ่มอาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในสถานที่แออัด หรือทำงานใกล้ชิดสัมผัสชาวต่างชาติ เป็นต้น 13 ราย
  • บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข 5 ราย
  • อื่นๆ 5 ราย
  • รอผลการสอบสวนโรค 11 ราย

สำหรับผู้เสียชีวิต 4 ราย ประกอบด้วย

1.ชายไทยอายุ 59 ปี เป็นพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ป่วยเมื่อวันที่ 16 มีนาคม รักษาตัวที่รพ.บางปะกอก เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ต่อมามีอาการหนักขึ้น ในวันที่ 31 มีนาคม อาการเหนื่อยหอบ รักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ด้วยอาการเหนื่อย ผลยืนยันเป็นโควิด-19 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 เมษายน

2.ชายไทย อายุ 72 ปี มีประวัติสัมผัสผูู้ป่วยมาก่อนหน้านี้ โดยลูกของผู้ป่วยรายนี้ไปดูมวย ผู้ป่วยรักษาตัวกรุงเทพ มีโรคประจำตัว คือ ไตเรื้อรัง ป่วยวันที่ 16 มีนาคม เข้ารับรักษาที่โรงพยาบาลราชวิถี และเสียชีวิตวันที่ 1 เมษายน

3.ชายไทย อายุ 84 ปี อาชีพ คือ เฝ้าประตูสนามมวย มีโรคประจำตัวเป็น ไตเรื้อรัง ความดัน ไขมันในเลือดสูง หัวใจขาดเลือด และเก๊าท์ เข้ารับรักษาที่โรงพยาบาลกลาง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ต่อมาเสียชีวิตวันที่ 2 เมษายน

4. ชายไทยอายุ 84 ปี มีประวัติไปสนามมวย รับการรักษาวันที่ 21 มีนาคม ด้วยอาการไข้ 39.3 องศา มีน้ำมูก และไอ โดยรักษาที่รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า เสียชีวิตวันที่ 2 เมษายน

โดยผู้เสียชีวิตทั้งหมดนี้ จะนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน ว่า 3 ใน 4 ราย เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว ซึ่งเดือนนี้เข้าเทศกาลสงกรานต์ หากเป็นลูกกตัญญู ต้องรักษาระยะห่างท่าน ไม่ควรเข้าใกล้ เพราะผู้สูงอายุ มีความเสี่ยงสูง

สำหรับกลุ่มผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ยังสูงเช่นกัน จึงเป็นที่มาของมาตรการชะลอการเดินทาง อย่างไรก็ตามมีการประสานงานขอกลับไทย มาจากอินโดนิเซีย ที่จะกลับในวันที่ 6 เมษายน จำนวน 100 ราย มาเลเซีย 83 ราย และนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ที่จะทยอยมา โดยขอให้ทุกคน ต้องร่วมมืออยู่ในพื้นที่ที่รัฐ จัดหาให้ 100% เพราะอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่จะนำเชื้อมาสู่คนไทยในประเทศ อย่างไรก็ตามเขาเป็นลูกหลานของเรา ก็ต้องดูแล อย่าไปรังเกียจกัน

report03 012

และจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่ากลุ่มผู้ป่วยอายุ 20-29 ปีเพิ่มขึ้น มาโดยตลอด ตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา เราต้องเพ่งเล็งไปที่กลุ่มนี้ เพราะมีการเดินทางเคลื่อนย้าย ยังมีการพบปะสังสรรค์จำนวนมาก ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มแพร่กระจายเชื้อ ทุกคสต้องช่วยกันสื่อสารไปยังกลุ่มนี้ให้มากขึ้น ทั้งผู้ปกครอง และครอบครัว

สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ ในพื้นที่กรุงเทพ ยังสูง หรือเพิ่มขึ้นอีก 47 ราย ส่วนต่างจังหวัดยังทรงตัว ผู้ป่วยรายใหม่ต่างจังหวัดมี 14 จังหวัด ภูเก็ต พบผู้ป่วยสูงสุด 12 ราย รวมจังหวัดเดียว มีผู้ป่วยสะสม 100 ราย ต้องถือว่าเป็นจังหวัด ที่มีอัตราผู้ป่วยสูงสุดของประเทศ ณ วันที่ 2 เมษายน สัดส่วน 21.6 ต่อแสนประชากร หรือภายใน 1 เดือน มีผู้ป่วยเต็มจังหวัด พบผู้ป่วยสูงสุดในอำเภอเมือง กระทู้ และถลาง ดังนั้นภูเก็ต และกรุงเทพ ต้องช่วยกันดูแลอย่างดี

report02 011

อย่างไรก็ตามในจำนวนผู้ป่วยรวม 62 จังหวัดนั้น มี 15 จังหวัดไม่พบผู้ป่วย ต้องขอชื่นชม ประกอบด้วย กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด น่าน บึงกาฬ พระนครศรีอยุธยา พังงา พิจิตร ระนอง ลำปาง สกลนคร สตูล สิงห์บุรี สมุทรสงคราม และอ่างทอง ขอให้ส่งใจช่วยให้ 15 จังหวัดไม่พบผู้ป่วยตลอดไป

หากมองภาพรวมของไทย และต่างประเทศ เทียบในอาเซียน เราอยู่อันดับ 3 จาก 10 ประเทศ แต่ในระดับโลก วันนี้ไทยอยู่อันดับ 37 ถือว่าอยู่ช่วงกลางลงล่าง เทียบยุโรป กราฟจะชันมาก เพราะมีผู้ป่วยเกิดขึ้น นับพันหรือหมื่นรายต่อวัน แต่ไทยหลักร้อยต่อวัน แต่เราก็ต้องตระหนัก เพราะมีผู้ป่วยใหม่ 100 รายต่อวัน 10 วัน ก็กลายเป็นพันราย จึงต้องช่วยกันทำให้ลดลง สำหรับอัตราเสียชีวิต ไทยอยู่ที่ 0.96 ต่อผู้ป่วยทั้งหมด

“เรายังไม่สามารถทำให้ยอดผู้ป่วยลดลงได้ ยังมีจำนวนผู้ป่วยใหม่เพิ่มมากกว่า 100 รายต่อวัน ขอให้เราทุกคนช่วยกัน ทำให้ผู้ป่วยลดจำนวนลงให้ได้” 

Avatar photo