General

ทาง 2 แพร่งประเทศไทย! ยอดติดเชื้อพุ่งต่อหลักพัน-หมื่น? อยู่ที่ประชาชนทุกคน

ถึงทางสองแพร่ง ! หลังยอดติดเชื้อไวรัส COVID-19 ของไทย แตะ 721 คน ทีมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินฯ ชี้ยอดติดเชื้อไต่ขึ้นหลักพันหลักหมื่นในไม่ช้า ย้ำประชาชนเลือกได้ ให้สถิติติดเชื้อพุ่งต่อ หรือแบนราบ วอน “หยุด” เคลื่อนย้าย ่ห่วงกลุ่มผู้สูงอายุต่างจังหวัด ย้ำยอดป่วยพุ่งเท่ากับยอดตายเพิ่ม 

แนวโน้มผู้ติดเชื้อรายใหม่ในต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้น จาก 59 รายเมื่อ 19 มีนาคม 2563 เป็น 236 ราย เมื่อวันที่ 22 มีนาคม เหตุประชาชนบางส่วนเดินทางกลับภูมิลำเนา ทั้งก่อน และแม้หลัง มีประกาศปิดสถานที่ในกทม. และปริมณฑล เล่นเอาห้ามไม่อยู่ อยู่ เพราะเป็นที่รู้ว่าประชากรในกทม.หลักล้านคน ต่างมีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด แต่มาหางานทำในเมืองกรุง หลายคนคิดตรงกันเวลานี้ อยู่กทม.มีหวัง “อดตาย” สู้กลับบ้านหาพ่อหาแม่ เก็บผักเก็บหญ้ากิน หรือกินร่วมสำรับกับพ่อแม่ปู่ย่าตายายจะดีกว่า

DSC 5334

อาการ “ห้ามไม่อยู่” จึงเกิดขึ้น ขณะเดียวกันกทม.ก็เป็นพื้นที่ระบาดหนัก ยอดติดเชื้อ ณ วันที่ 21 มีนาคม ถึง 284 คน จากยอดติดเชื้อในวันนั้น 411 คน หรือมากกว่าครึ่ง

ทำอย่างไร ? ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน จึงย้ำให้ผู้กลับบ้านทุกคน ไม่เว้น ไปถึงบ้านแล้ว ต้องรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ได้แก่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, ผู้ว่าราชการจังหวัด, ผอ.โรงพยาบาล, นายอำเภอ, สาธารณสุขอำเภอ, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, อสม., ผู้นำชุมชน ทันทีทุกคน

พร้อมทั้งให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ให้กักกันตัวเองที่บ้านอย่างเคร่งครัด อย่างน้อย 14 วัน ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้อื่น เว้นระยะห่างระหว่างกัน 1 -2 เมตร งดและลด การเดินทางโดยไม่จำเป็น ไม่ไปในพื้นที่แออัด และแยกสำรับอาหาร สังเกตอาการ หากมีไข้ มีอาการระบบทางเดินหายใจ รีบพบแพทย์ทันที

โดยเฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง อาทิ ผู้ชม ผู้ทำงาน ในสนามมวย สถานบันเทิง ที่กลับไปภูมิลำเนา พ่อ แม่ ภรรยา สามี ลูก หลาน หรือผู้สัมผัสใกล้ชิดกับกลุ่มดังกล่าว มีโอกาสติดเชื้อได้ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การกักกันตัวเอง รักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)

897656

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ย้ำหนักแน่นถึงสถานการณ์ในอนาคตอันใกล้ของไทย เมื่อเห็นยังมีการเคลื่อนย้ายจากกทม.ไปต่างจังหวัด ว่า หลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อของไทยขึ้นหลักหลายร้อยแล้ว หลังจากนี้จะถึงจุดเปลี่ยน เป็นหลักพัน ถือว่าตอนนี้ เรากำลังอยู่ทาง 2 แพร่ง จากตัวเลขผู้ติดเชื้อ ณ วันที่ 23 มีนาคม กระโดดไปที่ 721 รายแล้ว  ตอนนี้จึงเป็น “เวลาทอง” หรือ “Gloden Period”  ที่เราจะเลือกว่า ยอดผู้ติดเชื้อจะพุ่งต่อ หรือฉีกออกไปแบบญี่ปุ่น และเกาหลี รวมถึงจีนที่มีสถิติลดลง

“ปกติเมื่อยอดผู้ติดเชื้อกระโดดขึ้นเป็นหลักร้อยแล้ว จะพุ่งเป็นหลักพันหลักหมื่น และอีกไม่นานเราจะ พุ่งเป็นหลักพันต่อวัน แต่ ณ วันนี้เราอยู่ที่  721 ราย ยังเป็นตัวเลยที่ พี่น้องประชาชนทุกคน จะช่วยกันได้ เลือกได้ ว่า จะให้ยอดผู้ติดเชื้อของไทย จะพุ่งไม่หยุด จนระบบสาธารณสุขรับไม่ไหว หรือปรับลดลง “

ข้อความสำคัญที่นพ.ศุภกิจ ต้องการสื่อสารไปยังประชาชนทั่วประเทศ ก็คือ ไทยจะเป็นอย่างไรต่อไปอยู่ที่ เราทุกคนแล้ว! เขา บอกว่า  เมื่อตัวเลขก้าวกระโดดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ ประชาชนต้องช่วยกันตัดสินใจ จากการติดตามสถานการณ์ต่างประเทศ มีประเทศที่มียอดติดเชื้อต่อวันถึงร้อยก่อนเราและกำลังพุ่ง เช่น อิตาลี อิหร่าน ยุโรป สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ระบบสาธารณสุขรองรับไม่ทัน แม้แต่ประเทศเจริญอย่าง อิตาลี หรืออเมริกา อังกฤษ แล้วก็มีคนตายลงจำนวนมาก จนน่าตกใจ

เปรียบเทียบกับญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับหนึ่ง แล้วก็เบนออกไป เกาหลีใต้เคยมียอดผู้ติดเชื้อไปถึง 7,000-8,000 คน ญี่ปุ่นก็หลักพัน ตอนนี้ยอดไม่พุ่งแล้ว ขณะที่ไทยกำลัง อยู่ที่  721 ราย (ณ 23 มีนาคม)  นั่นหมายถึง เรายังเลือกได้ว่าจะไปซ้ายหรือขวา จะทำให้กราฟพุ่งต่อ หรือทำให้ไต่ระดับลง

สำคัญอยู่ที่การปฏิบัติตัวของเราทุกคน หากเราปฏิบัติตามคำแนะนำ ซึ่งเป็นหลักการที่ช่วยป้องก้นโรคได้แน่อน และ มีวินัย อยู่บ้าน ก็จะช่วยหยุดการแพร่กระจายของเชื้อได้ แต่หากทำตรงข้าม ออกไปนอกบ้านกัน เขาปิดสถานที่ต่างๆ แต่ยังออกมารวมตัวก๋งเหล้ากัน เราก็จะเดินไปแบบยุโรป หรืออเมริกา แน่นอน หมายถึงมียอดผู้ติดเชื้อหลักพันคนและไปเรื่อยๆ

” หากไปถึงแบบนั้น ก็นึกไม่ออกว่าทางการแพทย์จะรับมือได้แค่ไหน แม้เราจะทำดีที่สุด แต่การมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่ม หมายถึงเราจะมีผู้เสียชีวิต เพิ่มตามสัดส่วน จากปัจจุบันจะมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตสัดส่วน 5% ของผู้ป่วยของโลกทั้งหมด “

นพ.ศุภกิจ ย้ำว่า หากชุมชนสังคมไม่ช่วยกัน วันหนึ่ง รัฐก็จำเป็นต้องล็อกดาวน์ บังคับทุกคนออกจากบ้าน แต่ตอนนี้เป็นเวลาทองที่เราทุกคนยังเลือกได้ อยู่ในมือทุกคน

ที่ย้ำเตือนอย่างนี้ เพราะเห็นการเดินทางกลับภูมิลำเนาจากกรุงเทพไปต่างจังหวัด ซึ่งเพียงแค่ก้าวไปขึ้นรถก็เสี่ยงแล้ว เพราะระหว่างทาง นั่งติดๆกันไปหลายชม. ในระบบปิด อากาศถ่ายเทน้อย บางคนนั่งเบียดกันบนรถตู้ อาจติดเชื้อเมื่อไหร่ไม่รู้ตัว กลับไปถึงบ้าน ไปอยู่กับพ่อแม่ ก็ไปคลุกคลีตีโมกับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ซึ่งมีโอกาสนำเชื้อไปติดท่าน ซึ่งย้ำมาตลอดว่า “ผู้สูงอายุ” เป็นกลุ่มเปราะบาง มีโอกาสที่จะติด และเสียชีวิตมีสูงมาก หากไปแล้ว

“หรือการที่เราต้องออกไปทำงานทุกวัน กลับมาบ้านก็ ขอให้อยู่ห่างผู้สูงอายุ ถ้าต้องไปสัมผัสใกล้ชิดคนจำนวนมาก ต้องใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ ในอเมริกา หรืออังกฤษ ที่มียอดผู้เสียชีวิตมาก เพราะมีคนสูงอายุสัดส่วนมาก ” 

สำหรบการรับมือยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นนั้น นพ.ศุภกิจ ระบุว่า ตอนนี้มีเตียงรองรับสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสทั่วไป 10,000 เตียง ผู้ป่วยหนัก 2,000-3,000 เตียง

Avatar photo