General

‘กรมทรัพยากรน้ำ’ ชวนคนไทย ‘ลดขยะลอยกระทง-ลดมลพิษในแม่น้ำ’

กรมทรัพยากรน้ำถือโอกาสเทศกาลลอยกระทง ร่วมรณรงค์คนไทยเลือกใช้วัสดุทำกระทง ช่วยลดขยะ ดูแลแหล่งน้ำ

S 99368984

นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ระบุว่า ตามนโยบายของ รัฐบมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการให้ เรื่องของการลดขยะ เป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้จริง เพราะปัญหาขยะกำลังเป็นวิกฤติของทั่วโลก กรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะหน่วยงานที่จัดหาแหล่งน้ำสะอาดให้ประชาชน จึงเห็นว่า การสร้างการตระหนักรู้สู่การปฏิบัติในการดูแลทรัพยากรน้ำ ไม่ใช่เรื่องยาก และทุกคนสามารถทำได้ โดยเริ่มจากการรณรงค์ในเทศกาลลอยกระทงที่กำลังมาถึง

DSC 4538

เมื่อดูจากสถิติข้อมูลย้อนหลังของ กรุงเทพมหานครเพียงจังหวัดเดียว พบปริมาณขยะ (กระทง) ที่เก็บได้ใกล้เคียงกันเกือบ 1 ล้านใบของแต่ละปี

  • ปี 2555 ปริมาณกระทง รวมทั้งสิ้น 916,354 ใบ (กระทงจากวัสดุธรรมชาติ 785,061 ใบ, กระทงโฟม 131,338 ใบ)
  • ปี 2556 ปริมาณกระทง รวมทั้งสิ้น 865,415 ใบ (กระทงจากวัสดุธรรมชาติ 757,567 ใบ, กระทงโฟม 107,848 ใบ)
  • ปี 2557 ปริมาณกระทง รวมทั้งสิ้น 982,064 ใบ (กระทงจากวัสดุธรรมชาติ 885,995 ใบ, กระทงโฟม 96,069 ใบ)
  • ปี 2558 ปริมาณกระทง รวมทั้งสิ้น 825,614 ใบ (กระทงจากวัสดุธรรมชาติ 754,587 ใบ, กระทงโฟม 71,027 ใบ)
  • ปี 2559 ปริมาณกระทง รวมทั้งสิ้น 661,935 ใบ (กระทงจากวัสดุธรรมชาติ 617,901 ใบ, กระทงโฟม 44,034 ใบ)
  • ปี 2560 ปริมาณกระทง รวมทั้งสิ้น 811,945 ใบ (กระทงจากวัสดุธรรมชาติ 760,019 ใบ, กระทงโฟม 51,926 ใบ)

S 99369002

S 99369004

แน่นอนว่า ประเพณีสวยงามที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษอย่างลอยกระทง เป็นเรื่องที่ปฏิเสธความเชื่อกันไม่ได้ แต่สิ่งที่ประชาชนทุกคนช่วยกันได้ คือ การเลือกใช้วัสดุของกระทง เพราะกระทงไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ต่างก็ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ ในลักษณะที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัสดุทำกระทง

  • กระทงจากขนมปัง โคนไอศกรีม ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3 วัน
  • กระทงจากต้นกล้วย ใบตอง กะลามะพร้าว ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 14 วัน
  • กระทงกระดาษ ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 2 – 5 เดือน
  • กระทงโฟม ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 50 ปี

นอกจากนี้ การใช้แนวคิด สู่การปฏิบัติ 1กระทง 1 หน่วยงาน 1ครอบครัว หรือ ลอยกระทงออนไลน์ น่าจะเป็นอีกตัวช่วยดูแลแหล่งน้ำสะอาดให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

Avatar photo