World News

‘เฟซบุ๊ก-วอทส์แอพ’ เดินหน้าขจัดข่าวปลอม รับฤดูเลือกตั้งเอเชีย

ยักษ์ใหญ่สื่อสังคมออนไลน์ “เฟซบุ๊ก” และ “วอทส์แอพ” หน่วยงานในเครือ จัดตั้งคณะทำงานเลือกตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานในออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย

c9ab6f5f28f096e4ae37acc464214f4c

ทั้ง 2 บริษัทต่างให้คำมั่นถึงการจัดการที่เด็ดขาดกว่าเดิมกับ “ข่าวปลอม” ก่อนหน้าที่จะถึงการเลือกตั้งใหญ่ของหลายประเทศในเอเชีย แต่บรรดานักวิจารณ์พากันตั้งคำถามว่า นโยบายใหม่ๆ ที่ประกาศออกมานั้น จะสามารถจัดการกับผลลัพธ์ของการแพร่กระจายของข้อมูลที่บิดเบือนไปได้หรือไม่

นโยบายใหม่จะเริ่มขึ้นในอินเดีย ประเทศที่จะจัดเลือกตั้งในเดือนเมษายน และพฤษภาคมนี้ ทั้งยังเป็นตลาดใหญ่สุดของเฟซบุ๊กนอกสหรัฐด้วย

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เฟซบุ๊กประกาศว่า จะนำกฎข้อบังคับที่มีความเข้มงวดมากขึ้นเข้ามาใช้ในอินเดีย ในด้านการโฆษณาการเมือง และการแทรกแซงเลือกตั้ง ทั้งยังมีแผนที่จะดำเนินนโยบายเดียวกันนี้กับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย โดยพิจารณจากภัยคุกคาม และกฎหมายท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันออกไป

เคธี ฮาร์บาธ ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐบาล และการเมืองโลก ของเฟซบุ๊ก กล่าวว่า คณะทำงานด้านการเลือกตั้งของบริษัท ในดำเนินงานมาอย่างน้อย 18 เดือนแล้ว ในประเทศเอเชีย ที่กำลังจะจัดเลือกตั้งใหญ่ขึ้น รวมถึง ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งเฟซบุ๊กจะนำกฎการทำงานที่เข้มงวดขึ้นมาใช้สำหรับการเลือกตั้งที่เอเชียในปีนี้ พร้อมพิจารณาที่จะให้การเลือกตั้งเหล่านี้ เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของบริษัท

“เรามีคณะทำงานเพื่อป้องกันการแทรกแซงการเลือกตั้งผ่านบริการของเรา ซึ่งรวมถึง การตรวจจับ และถอดบัญชีปลอม จำกัดการแพร่กระจายข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง จัดการกับความร่วมมือในการล่วงละเมิด ป้องกันการแทรกแซงจากต่างประเทศ ทำให้เกิดความโปร่งใส และน่าเชื่อถือมากขึ้นสำหรับผู้ลงโฆษณา”

“เราทุ่มลงทุนจำนวนมาก เพื่อให้มั่นใจว่า เราเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม”

92595959 abccomco fake

ฮาร์บาธ บอกด้วยว่า นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา เฟซบุ๊กได้ดำเนินการเพื่อทำให้การจับตาการเลือกตั้งในเอเชีย มีความเป็นท้องถิ่นมากขึ้น

ปัจจุบัน บริษัทมีผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอก อยู่ในอินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน นอกเหนือจากการดำเนินโครงการต่อต้านการบิดเบือนข้อมูล ในประเทศเหล่านี้ รวมถึง ไทย และสิงคโปร์

“ตอนนี้เรามีทีมงานที่เข้าใจถึงความแตกต่างของการเลือกตั้ง และบริบทของภูมิภาค ดิฉันอยู่ในไทย และทีมงานของเราที่นี่ก็พูดภาษาไทย และเข้าใจในวัฒนธรรม” ฮาร์บาธ กล่าวและว่า เฟซบุ๊กยังลงทุนอย่างหนักในด้านดิจิทัล เพื่อรับประกันว่า เฟซบุ๊กจะสามารถช่วยผู้คนเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาเห็นบนโลกออนไลน์

ที่มา: South China Morning Post

Avatar photo