World News

จีนคุมเข้มนำเข้า ‘ทองคำ’ คาดสกัดดอลลาร์ไหลออก รับมือหยวนอ่อน

แหล่งข่าวเผย จีนควบคุมการนำเข้าทองคำอย่างเข้มงวด ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ในการเคลื่อนไหวที่มีแนวโน้มว่า อาจมีเป้าหมายเพื่อควบคุมการไหลออกของเงินดอลลาร์ และหนุนค่าเงินหยวน ท่ามกลางการชะลอตัวในการเติบโตของเศรษฐกิจ

Gold AFPGetty

รอยเตอร์สรายงานอ้างแหล่งข่าววงในอุตสาหกรรมทองคำว่า จีน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ลดการนำเข้าทองคำลงมาราว 300-500 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หรือคิดเป็นมูลค่าตามราคาตลาดในปัจจุบันที่ราว 15,000-25,000 ล้านดอลลาร์

การควบคุมดังกล่าวเกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ ที่เพิ่มความรุนแรงขึ้น ฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่น ร่วงลงมาเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี และกดดันให้เงินหยวนอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา

ขณะข้อมูลจากกรุมศุลกากรจีน แสดงให้เห็นว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ จีนนำเข้าทองคำ 575 ตัน ลดลงจากจำนวน 883 ตันในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จีนนำเข้าทองคำ 71 ตัน ลดลงจากจำนวน 157 ตันในเดือนเดียวกันของปี 2561 ส่วนในเดือนมิถุนายน การนำเข้าลดลงเหลือเพียง 578 ตัน เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่นำเข้า 199 ตัน

e5c2a41a78ddf398f5420e1cb6d2c3eb

แหล่งข่าวในตลาดค้าทองคำในอังกฤษ ฮ่องกง สิงคโปร์ และจีน บอกด้วยว่า ตามปกติแล้ว ธนาคารกลางจีนจะเป็นผู้กำหนดโควต้านำเข้าทองคำให้กับผู้นำเข้าทั้งบริษัทท้องถิ่น และธนาคารข้ามชาติ แต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โควต้านำเข้าลดลงอย่างมาก หรือไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเลย

จีนเคยดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมเงินทุนไหลออกในช่วงเวลาที่เงินหยวนอ่อนค่า อย่างการลดปริมาณจัดหาเงินหยวนในตลาดต่างประเทศ และกระตุ้นให้ธนาคารต่างๆ ส่งเงินดอลลาร์ที่ถือครองอยู่ในต่างแดนกลับมาบ้านเกิด

แม้จีนจะเคยควบคุมการนำเข้าทองคำมาก่อนหน้านี้ โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2559 หลังเงินหยวนอ่อนค่าลงอย่างมาก แต่แหล่งข่าวต่างระบุว่า การควบคุมที่ผ่านมา ไม่เคยเข้มงวดในระดับนี้มาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายสำหรับการคุมเข้มเช่นนี้

190611asia

ทั้งนี้ จีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าทองคำรายใหญ่สุดของโลก โดยเมื่อปีที่แล้วนำเข้าทองคำราว 1,500 ตัน คิดเป็นมูลค่าราว 60,000 ล้านดอลลาร์ หรือเทียบเท่ากับ 1 ใน 3 ของปริมาณการจัดหาทองคำทั่วโลก

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความต้องการเครื่องประดับทองคำ เหรียญทอง และทองคำแท่งในจีนพุ่งขึ้นอย่างมาก จากการที่ประชาชนในประเทศมีความมั่งคั่งมากขึ้น ทั้งปริมาณทองคำสำรองของประเทศก็ทะยานขึ้นมาถึง 5 เท่า อยู่ที่ระดับเกือบ 2,000 ตัน

Avatar photo