World News

ส่อง ‘ญี่ปุ่น’ กับปัญหาที่ต้องรับมือ ในช่วงเวลา ‘น้ำมันแพง’ เจอ สงคราม ‘อิสราเอล-ฮามาส’

เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากวิกฤติน้ำมัน ที่เกิดจากการห้ามส่งออก ซึ่งทำให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น และสงผลให้ทั้งประเทศต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อรักษาเชื้อเพลิง และไฟฟ้าเอาไว้ให้ได้ 

ปัจจุบัน ในช่วงเวลาที่ สงครามระหว่างอิสราเอล กับกลุ่มฮามาส กำลังสร้างความสั่นสะเทือนในตะวันออกกลางนั้น ญี่ปุ่น ซึ่งยังคงต้องพึ่งพาน้ำมันนำเข้าจากภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก ก็ต้องเผชิญกับต้นทุนพลังงาน และราคาสินค้าอื่น ๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ญี่ปุ่น

รัฐบาลนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ได้ดำเนินนโยบายอุดหนุนราคาน้ำมันเบนซินแล้ว แต่กระทรวงต่าง ๆ ก็กำลังเร่งสรุปมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้งในเดือนนี้

หนึ่งในแผนการหลักสำหรับมาตรการดังกล่าว ดูเหมือนจะเป็น “การลดหย่อนภาษี” ซึ่งสำหรับหลาย ๆ คนแล้ว มาตรการนี้ อาจดูหมือนเป็นการเปลี่ยนทิศทางที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เนื่องจากรัฐบาลกำลังจะหารือเรื่อง การขึ้นภาษี เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายด้านกลาโหมที่เพิ่มขึ้น รวมถึง การดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือกับอัตราการเกิดที่ลดลง

แน่นอนว่า เบื้องหลังของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือ “เงินเฟ้อ” ที่คนญี่ปุ่นเริ่มรู้สึกถึงเรื่องนี้ เป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ โดยที่ผ่านมา ความท้าทายขนาดใหญ่สุดที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเผชิญคือ “เงินฝืด” ซึ่งเป็นปัญหาที่ นโยบายเศรษฐกิจ “อาเบะโนมิคส์” และนโยบายเศรษฐกิจที่ตามมา ตั้งเป้าที่จะแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ธนาคารกลางญี่ปุ่น” (บีโอเจ)  ที่เข้ามารับบทบาทสำคัญในการต่อสู้ดังกล่าว ผ่านการดำเนินนโยบายการเงิน ที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ อดีตผู้ว่าการบีโอเจ

ในช่วงวิกฤติค่าครองชีพ การลดภาษีถือเป็นกลยุทธ์ยอดนิยมของเหล่านักการเมือง และในขณะนี้ นักการเมืองญี่ปุ่นบางคน ก็เรียกร้องให้มีการแจกเงินสดด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า นายคิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะมองหาช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพื่อจัดการเลือกตั้งเร็วกว่ากำหนดขึ้นมา

ญี่ปุ่น

อย่างไรก็ดี สำหรับบีโอเจแล้ว ภาระนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยนายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการบีโอเจคนปัจจุบัน ที่เข้ารับตำแหน่งต่อจากนายคุโรดะ ต้องรับมือกับความท้าทายใหม่อย่างเรื่องเงินเฟ้อ แม้ว่าจะมีการดำเนินนโยบายอาเบะโนมิกส์ ที่มีเป้าหมายหลักคือ การแก้ปัญหาเงินฝืด มาอย่างต่อเนื่องก็ตาม

หากพิจารณาถึงเรื่องสงครามอิสราเอล-ฮามาส จะเห็นว่า ประเทศต่าง ๆ  ในเอเชีย มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเรื่องนีอย่างหลากหลาย ซึ่งในช่วงแรกเริ่มนั้น นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้วางตัวเป็นกลางอย่างน่าทึ่ง เรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายอดทนอดกลั้น ควบคู่ไปกับการประณามการโจมตีของกลุ่มฮามาส แต่เมื่อถึงปลายสัปดาห์ โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น กลับกล่าวถึงพฤติกรรมของกลุ่มฮามาสว่า เป็นการก่อการร้าย

ญี่ปุ่นมีชื่อเสียง ถึงการดำเนินแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อเข้าถึงกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลจำนวนหนึ่ง ที่จับตาสถานการณ์ในตะวันออกกลาง มาตั้งแต่เดือนมกราคมนั้น ต่างมีแนวคิดเบื้องต้นเหมือนกับ บทความในไฟแนน เชียลไทมส์ ที่เขียนเกี่ยวกับ นายเบนจามิน เนทันยาฮุู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ว่า ดูเหมือนเขาจะเจอกับความล้มเหลว ในกลยุทธ์ทั้งหมดที่นำมาใช้กับชาวปาเลสไตน์

บทความ: ชิน นากายามะ บรรณาธิการบริหาร นิกเคอิ เอเชีย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo