Personal Finance

‘ฟรีแลนซ์’ ต้องรู้!! ยื่นภาษี 2566 ต้องเตรียมตัวยังไง ใช้อะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง

“ฟรีแลนซ์” ต้องรู้!! ก่อนยื่นภาษี 2566 ต้องเตรียมตัวอย่างไร ใช้อะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง คำนวณภาษียังไง อ่านที่นี่เลย!

อาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ คือ การจ้างงานรูปแบบหนึ่งที่ให้คุณเลือกทำงานได้อย่างอิสระ แทนที่จะถูกจ้างงานโดยบริษัทหรือนายจ้างเพียงคนเดียว การทำงานของฟรีแลนซ์จะมีความยืดหยุ่นในการเลือกงานที่ต้องการทำ สามารถกำหนดตารางเวลา กำหนดอัตราค่าจ้าง และเงื่อนไขการให้บริการได้ด้วยตัวเอง ทำให้ฟรีแลนซ์แต่ละคนมีประสบการณ์การทำงานและรายได้ที่แตกต่างกันไป แม้ว่า ฟรีแลนซ์ จะมีข้อดีในการทำงานมากมาย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสายงานที่มาพร้อมความท้าทายและมีความเสี่ยงสูง

ยื่นภาษี 2566

และไม่ว่าอย่างไร ฟรีแลนซ์ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นภาษีไม่ต่างจากพนักงานประจำ แต่อาจจะมีวิธีการยื่นที่แตกต่างกันออกไป มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าอาชีพอิสระยื่นภาษีแบบไหน เพื่อวางแผนเสียภาษีประจำปีได้อย่างถูกต้อง

“ฟรีแลนซ์” ยื่นภาษี 2566 ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ค่าจ้างที่ฟรีแลนซ์ได้รับจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากลูกค้าหรือผู้จ้างงาน เพื่อนำส่งกรมสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์ หรืออยู่ในประเภทรับเหมาหรือบริการ รายได้ที่ได้รับจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% จากนั้นผู้จ้างงานจะออกหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่เรียกว่า ใบ 50 ทวิ ให้กับฟรีแลนซ์เก็บเอาไว้ เพื่อใช้ประกอบการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี

ฟรีแลนซ์ไม่มีใบหักภาษี ณ ที่จ่าย จะเป็นอะไรหรือไม่?

หากมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้จ้างงาน ใบหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือเอกสาร 50 ทวิ อาชีพอิสระและฟรีแลนซ์ทุกคนควรต้องมี เพื่อป้องกันการยื่นภาษีผิดพลาด ตัวเลขไม่ตรงกับกรมสรรพากร ซึ่งหากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรขอตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติม อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้นั่นเองครับ

ฟรีแลนซ์ยื่นภาษี ภ.ง.ด. อะไร?

ค่าจ้างที่ฟรีแลนซ์ได้รับจัดเป็น “เงินได้ประเภทที่ 2” หรือเงินได้ตามมาตรา 40(2) คือ เงินค่าจ้างทั่วไป ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าตอบแทนที่คุณไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายลูกน้อง หรือรายได้ในรูปแบบของการรับจ้างทั่วไป รับทำงานให้เป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งผู้ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) ถึง (8) เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และให้ ยื่นภาษีในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปี

ยื่นภาษี 2566

อัตราภาษีเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้

เมื่อฟรีแลนซ์ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยใช้แบบ ภ.ง.ด. 90 จึงใช้เกณฑ์การคำนวณอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกับพนักงานประจำเลยครับ คือ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีแบบขั้นบันได ดังนี้

ยื่นภาษี 2566

ฟรีแลนซ์ใช้อะไรไปลดหย่อนภาษีได้บ้าง

ค่าจ้างที่ฟรีแลนซ์ได้รับจัดเป็น “เงินได้ประเภทที่ 2” หรือเงินได้ตามมาตรา 40(2) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้อีก 60,000 บาท แต่หากคุณเป็นทั้งพนักงานประจำผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) และเป็นฟรีแลนซ์ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(2) ด้วยนั้น สามารถหักค่าใช้จ่ายรวมกันต้องไม่เกินจำนวนดังกล่าวเท่านั้น

วิธีคำนวณอัตราภาษีเงินได้

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับฟรีแลนซ์แบบง่าย ๆ คือ นำเงินได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่ายส่วนตัวตามมาตรา 40(2) จะออกมาเป็นเงินได้สุทธิ จากนั้นดูว่าเราต้องจ่ายอัตราภาษีที่ขั้นไหน แล้วจึงหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ที่เราเคยโดนหักไปแล้วจากผู้จ้างงาน ก็จะทำให้ได้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีจริง ๆ เช่น

  • เงินได้ทั้งปี 500,000 – 100,000 – 60,000 = เงินได้สุทธิ 340,000 บาท
  • ต้องเสียภาษี 340,000 x 10% = 34,000 บาท
  • หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ที่จ่ายไปแล้ว จะได้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีจริง ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก เงินติดล้อ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK