Finance

กนง.ชี้เศรษฐกิจยังเสี่ยงสูง พร้อมออกมาตรการเพิ่ม จับตาการระบาดหลังเปิดประเทศ

เปิดรายงานการประชุมกนง.ชี้เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง พร้อมออกมาตรการเพิ่มหากจำเป็น จับตาสถานการณ์การระบาดโควิด-19 จากมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยว 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ฉบับย่อ ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564  มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี และพร้อมออกมาตรการเพิ่มเติมหากจำเป็น

เปิดรายงานการประชุมกนง.

รายงานระบุว่าเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ผ่อนคลายต่อเนื่องสำหรับมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบ ให้ตรงจุดและลดภาระหนี้ อาทิ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูระยะที่ 2 มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ และมาตรการอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เห็นผลใน วงกว้างและสอดคล้องกับความสามารถในการชาระหนี้ของลูกหนี้ในระยะยาว

ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสาคัญ

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามปัจจัยสาคัญที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ได้แก่ พัฒนาการของมาตรการควบคุมการระบาดในประเทศ รวมทั้งความเพียงพอของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสม เพิ่มเติมหากจำเป็น

ภาวะเศรษฐกิจไทย 

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 0.7% และ 3.9% ในปี 2564 และ 2565 ตามลาดับ ใกล้เคียงกับ ประมาณการ ณ เดือนสิงหาคม โดยแม้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากมาตรการ ควบคุมการระบาดและการส่งออกท่ีชะลอลงกว่าคาด

แต่พัฒนาการด้านวัคซีนท่ีดีข้ึนชัดเจนและการผ่อนคลาย มาตรการควบคุมการระบาดที่เร็วกว่าคาด จะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและการบริโภคภาคเอกชนในช่วงท่ีเหลือของปี 2564

สำหรับปี 2565 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวจากการใช้จ่ายในประเทศเป็นสำคัญ ตามความเชื่อมั่นท่ีปรับดีข้ึนต่อเนื่อง ขณะที่จำนวนนักท่องเท่ียวต่างชาติจะทยอยฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และการส่งออกจะยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหา global supply disruption

ท้ังน้ี ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงข้ึนมากเป็นสาเหตุสำคัญของประมาณการการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดชั่วคราวท่ี -15.3 พันล้านดอลลาร์ ใน ปี 2564 โดยการขาดดุลที่เพิ่มข้ึนเทียบกับประมาณการเดือนมิถุนายนมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผลจากรายจ่ายค่าระวางสินค้า (freight) ท่ีเร่งสูงขึ้นมาก

อย่างไรก็ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเป็นบวกเล็กน้อยที่ 1 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2565 ตามสถานการณ์การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และเซมิคอนดักเตอร์ที่ คาดว่าจะเร่ิมคี่คลายตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 ด้านตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง แต่รายได้ของแรงงานในภาค บริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นบ้างตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มปรับลดลงในปี 2564 มาอยู่ใกล้ขอบล่างของกรอบเป้าหมาย จากราคาอาหารสด ที่ปรับลดลงเป็นสาคัญและมาตรการลดค่าไฟฟ้าของภาครัฐเพิ่มเติมเพื่อช่วยค่าครองชีพ ขณะท่ีราคาน้ามันดิบ คาดว่าจะสูงขึ้นในระยะสั้นจากผลกระทบชั่วคราวของพายุเฮอริเคนไอดาในสหรัฐฯ เป็นสาคัญ

สำหรับใน ปี 2565 อัตราเงินเฟ้อท่ัวไปมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ตามราคาอาหารสดท่ีจะเพิ่มข้ึนจากการคลี่คลายของปัญหาอุปทานสินค้าเกษตรส่วนเกินในประเทศหลังจากท่ีสามารถกลับมาส่งออกได้มากขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่าตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่ยังไม่เข้มแข็ง

สำหรับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะ ปานกลางยังคงยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย 

เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง โดยต้องติดตาม

  • แนวโน้มการระบาดและการกลายพันธุ์ของไวรัส รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยว
  • การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นภาคเอกชนหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งจะส่งผลต่อ การบริโภคและการลงทุน
  • ความต่อเนื่องของมาตรการของภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในระยะต่อไป
  • ปัญหา supply disruption และต้นทุนค่าขนส่งสินค้าทางเรือ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาค การผลิตและการส่งออกสินค้า

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo