Finance

รู้หรือไม่? การจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ จุดเริ่มต้นของการเป็นหนี้เกินตัว

รู้หรือไม่!!! ทำไมการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นหนี้เกินตัวที่คุณคาดไม่ถึง เตรียมตัวรับมือกับเงื่อนไขใหม่บัตรเครดิตอย่างไร อ่านเลย!

การจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ คือ การผ่อนชำระในยอดขั้นต่ำที่ธนาคารรกำหนดคือ 5% ของยอดการใช้จ่ายทั้งหมดที่รูดไป ดูเผิน ๆ การจ่ายค่าบัตรเครดิตขั้นต่ำเหมือนจะเป็นการผ่อนชำระที่สะดวก มีระยะเวลาให้ค่อย ๆ จ่ายไป ไม่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่เพื่อจ่ายค่าบัตรเครดิตทั้งหมด ทำให้เรามีเงินสดเหลือพอที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ

แต่…ในความเป็นจริงแล้ว คุณอาจจะต้องเผชิญกับภาระดอกเบี้ยที่พอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ จากการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาที่ทำให้เงินเดือนไม่พอใช้ หรือเงินตึงมือในทุก ๆ เดือนได้

ในปี 2567 นี้ ธนาคารปรับอัตราดอกเบี้ยการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตจากเดิม 5% ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 8% ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป

ดังนั้น ผู้ใช้บัตรเครดิตที่จ่ายขั้นต่ำ ต้องเตรียมความพร้อม เช่น ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น มีเงินสำรองเพิ่มขึ้น และไม่สร้างภาระหนี้เพิ่มเมื่อถึงเวลาจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องมีเงินเหลือไม่เพียงพอชำระหนี้บัตรเครดิต แต่หากคิดว่าเงินคงเหลือในแต่ละเดือนจ่ายหนี้บัตรเครดิตไม่ไหว ขอให้รีบมาติดต่อกับธนาคารเพื่อหาทางออกร่วมกัน

จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ

สำหรับเงื่อนไขการชำระขั้นต่ำ 8% จะเริ่มมีผลตั้งแต่รอบบัญชีเดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป จากตัวอย่างด้านบนสมมติว่ามียอดใช้บัตรเครดิต 100,000 บาทต่อบัตร ในรอบปี 2566 ยอดชำระขั้นต่ำ 5,000 บาท แต่พอถึงรอบปี 2567 เป็นต้นไป ยอดชำระขั้นต่ำ 8,000 บาท ซึ่งทำให้ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 3,000 บาท ดังนั้น เพื่อให้ผู้ใช้บัตรเครดิตได้มีการเตรียมตัวรับมือกับเงื่อนไขใหม่บัตรเครดิตได้อย่างทันท่วงทีมีข้อแนะนำ ดังนี้

เตรียมตัวรับมือกับเงื่อนไขใหม่บัตรเครดิตอย่างไร

ต้องมีเงินสำรองเพิ่มขึ้น สำหรับรายที่มีการใช้บัตรเครดิตและผ่อนชำระขั้นต่ำ จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้ใช้บัตรเครดิตต้องมีเงินสำรองเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น หากมียอดคงค้างบัตรเครดิตเฉลี่ย 100,000 บาทต่อเดือน จากเดิมที่ต้องชำระขั้นต่ำ 8,000 บาท ในรอบบัญชีเดือนมกราคม 2567 ยอดชำระขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นอีก 2,000 บาท เป็น 10,000 บาท ทำให้มีภาระที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ควบคุมเงินคงเหลือในแต่ละเดือนให้เป็นบวก (รวมค่าใช้จ่ายการผ่อนขั้นต่ำแล้ว) เพื่อให้ผู้ใช้บัตรเครดิต มีเงินคงเหลือเพียงพอในการดำรงชีพในแต่ละเดือนด้วย ไม่ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานการใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล หลีกเลี่ยงการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย หรือใช้จ่ายเกินความจำเป็น ซึ่งผู้ใช้บัตรเครดิตต้องเป็นผู้ประเมินเอง

จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ

ไม่สร้างหนี้เพิ่ม หากใช้บัตรเครดิตผ่อนชำระขั้นต่ำ โดยเฉพาะการใช้บัตรเครดิตกับสิ่งฟุ่มเฟือยหรือใช้ในการสันทนาการที่ไม่จำเป็น หากจำเป็นต้องใช้ควรใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเท่าที่จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ไม่จบสิ้น หรือตกอยู่ในวังวนแห่งการเป็นหนี้ ที่สำคัญต้องหลีกเลี่ยงการกู้หนี้นอกระบบมาเพื่อจ่ายหนี้เดิม ซึ่งจะทำให้มีโอกาสเข้าสู่วงจรอุบาทว์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หากประเมินว่าจ่ายไม่ไหว หากผู้ถือบัตรเดรดิตมีภาระหนี้มากกว่า 60% ของรายได้ เช่น มีเงินเดือน 20,000 บาท มีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมดมากกว่า 12,000 บาท นั่นคือสัญญาณที่บอกว่ามีภาระหนี้อยู่ในเกณฑ์ที่สูง ดังนั้น การขอปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมแต่ขอให้รีบทำเสียแต่เนิ่น ๆ อย่าทิ้งไว้นาน อย่าหนี อย่าเชื่อกูรูบนโลกออนไลน์ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน เพราะสถานการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลายครั้งคำแนะนำที่ได้รับยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม ดังนั้น ขอให้ผู้ใช้บัตรเครดิตเข้ามาคุยกับธนาคารแบบเปิดใจ เพื่อจะได้ช่วยกันหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด

จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ

ตัวอย่างเช่น การแปลงหนี้บัตรเครดิตเป็นเงินกู้แบบผ่อนชำระรายเดือน เช่น ผู้ใช้บัตรเครดิตเป็นหนี้ 100,000 บาท ผ่อนชำระขั้นต่ำ 8% เท่ากับ 8,000 บาท หลังจากผ่อนชำระขั้นต่ำเสร็จ ก็เบิกใช้ใหม่ทุกครั้ง จึงเท่ากับว่าต้องผ่อนชำระขั้นต่ำเช่นนี้ไปตลอด จนกลายเป็นหนี้ไม่จบสิ้น ดังนั้น การปรับโครงสร้างหนี้ โดยการแปลงหนี้บัตรเครดิตเป็นเงินกู้ จำนวน 100,000 บาท ระยะเวลาผ่อน 60 งวด อัตราดอกเบี้ย 16%* (ใช้อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตในการคำนวณยอดผ่อนชำระ) ยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือนเท่ากับ 2,500 บาท ซึ่งทำให้มีภาระการผ่อนลดลงในแต่ละเดือนเท่ากับ 5,500 บาท ซึ่งจะช่วยทำให้ไม่เป็นภาระที่หนักจนเกินไป

ที่มา : ธนาคารกสิกรไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK