Finance

กรมศุลฯ โชว์ตัวเลข ‘ภาษีนำเข้า’ ครึ่งปีแรก 3.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2 %

กรมศุลฯ โชว์ตัวเลข “ภาษีนำเข้า” ครึ่งปีแรก 3.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2 % รถยนต์และส่วนประกอบ ยา เครื่องสำอาง เก็บได้สูงสุด

นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรมีภารกิจในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า และส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยมาตรการทางศุลกากรและข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องสังคมให้ปลอดภัยด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร และจัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ

ภาษีนำเข้า

เก็บภาษีนำเข้าได้ 3.4 แสนล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 2.6 หมื่นล้านบาท

โดยการปฏิบัติหน้าที่ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566) มีผลงานที่น่าสนใจดังนี้

  1. การจัดเก็บรายได้กรมศุลกากรในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566)

1.1 การจัดเก็บรายได้ศุลกากร เดือนมีนาคม 2566

ในเดือนมีนาคม 2566 กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้รวม 60,416 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 274 ล้านบาท (ปีก่อน 60,141 ล้านบาท) หรือ 0.5%

สำหรับการจัดเก็บรายได้ศุลกากร 11,187 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 1,411 ล้านบาท (ปีก่อน 9,775 ล้านบาท) หรือ 14.4% และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,987 ล้านบาท หรือ 21.6%

ภาษีนำเข้า

1.2 การจัดเก็บรายได้ศุลกากร ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566)

ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566) กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้รวม 346,577 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 26,294 ล้านบาท หรือ 8.2%

แ่บ่งเป็น การจัดเก็บรายได้ศุลกากร 67,322 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 14,282 ล้านบาท หรือ 26.9% เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าขยายตัว ประกอบกับมีการชำระอากรตามคำพิพากษาคดี และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 14,622 ล้านบาท หรือ 27.7%

ในด้านการจัดเก็บแทนหน่วยงานอื่น 279,255 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 12,013 ล้านบาท (ปีก่อน 267,242 ล้านบาท) หรือ 4.5% มีรายละเอียดดังนี้

  • จัดเก็บแทน กรมสรรพากร 206,535 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 3,794 ล้านบาท หรือ 1.9%
  • จัดเก็บแทน กรมสรรพสามิต 45,247 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 7,089 ล้านบาท หรือ 18.6%
  • จัดเก็บแทน กระทรวงมหาดไทย 27,473 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 1,130 ล้านบาท หรือ 4.3%

โดยสินค้านำเข้าหลักที่จัดเก็บภาษีนำเข้าได้สูง ได้แก่ รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบยานยนต์ ยารักษาโรค เครื่องสำอาง และกระเป๋า

ภาษีนำเข้า

จับกุมการกระทำผิดทางกฎหมาย 1.6 หมื่นคดี มูลค่า 1.7 พันล้านบาท

  1. ผลการตรวจพบการกระทำความผิดทางกฎหมายศุลกากร ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566)

กรมศุลกากร มีนโยบายในการเร่งรัดปราบปรามการลักลอบและหลีกเลี่ยงการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากราชอาณาจักร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงให้หน่วยงานในสังกัดพร้อมหน่วยปฏิบัติการวางแผนตรวจค้นจับกุมอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ยาเสพติด สินค้าเกษตร น้ำมัน IPRs และสินค้าละเมิดอนุสัญญา CITES

โดยในช่วงเดือนตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566 มีการจับกุมจำนวน 16,529 คดี คิดเป็นมูลค่ารวม 1,777,600,000 บาท

ภาษีนำเข้า

เตือนอย่าหลงเชื่อ แอบอ้างชื่อกรมศุลกากร หลอกลวงประชาชน

  1. กรมศุลกากรขอแจ้งเตือน โปรดอย่าหลงเชื่อกรณีแอบอ้างชื่อกรมศุลกากรในการหลอกลวงประชาชน ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ

3.1. กรณีหลอกให้รัก หลอกให้โอนเงิน ในกรณีที่ชาวต่างชาติหรือบุคคลที่ทำความรู้จักกับผู้เสียหายผ่านทางสื่อออนไลน์ แจ้งว่าได้ส่งของขวัญหรือของมีค่าต่าง ๆ มาให้ และขอให้ผู้เสียหายโอนเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและค่าภาษีศุลกากร

3.2  กรณีที่มิจฉาชีพโทรมาแจ้งว่ามีพัสดุติดค้างที่ศุลกากรและให้โอนเงินค่าภาษีศุลกากร

3.3. กรณีแอบอ้างว่ารู้จักกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เพื่ออำนวยความสะดวกในการประมูลของกลางของกรมศุลกากร

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัย ท่านสามารถสอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมศุลกากร 1164 หรือศูนย์บริการศุลกากร (Customs Care Center) โทรศัพท์ 02-667-6000,  02-667-7000 ต่อ 205844-8 หรือ website: ccc.customs.go.th หรือติดต่อด้วยตนเอง หรือโทรศัพท์สอบถามไปยัง สำนักงานหรือด่านศุลกากรทุกแห่ง ในวันและเวลาราชการ

อ่านข่่าวเพิ่มเติม

Avatar photo