Politics

ถึงคิว ‘พืชกระท่อม’ สภาฯ ตั้งข้อสังเกตุ เพื่อประโยชน์ และป้องกันความเสี่ยง จากการใช้ ‘ไม่เหมาะสม’

ถึงคิว ‘พืชกระท่อม’ สภาฯ ตั้งข้อสังเกตุ เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านการแพทย์และเศรษฐกิจ และป้องกันความเสี่ยง จากการใช้ ‘ไม่เหมาะสม’

วันนี้ (1 ส.ค. 65) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สืบเนื่องจาก ร่างพระราชบัญญัติพืชกsะท่อม พ.ศ. ….ได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว โดยมีสาระ เป็นการกำหนดมาตรการกำกับดูแลการเพาะปลูกพืช กระท่อม การขายและการนำเข้าหรือการส่งออกใบกระท่อม เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประชาชนมากที่สุด

พืชกระท่อม

และกำหนดมาตรการกำกับดูแลการขาย การโฆษณาและการบริโภคใบกระท่อม เพื่อคุ้มครองสุขภาพของบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีและบุคคลกลุ่มเสี่ยงอื่น

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสังเกตจากคณะกรรมธิการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฯ จากทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งรัฐบาลเห็นชอบที่จะรับไปพิจารณาต่อไป เพื่อให้การใช้พืชกsะท่อม เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านการแพทย์และเศรษฐกิจ และป้องกันความเสี่ยงจากการบริโภคที่ไม่เหมาะสม

ในการนี้ กระทรวงยุติธรรม จะเป็นหน่วยงานหลักในการรับข้อสังเกตดังกล่าว และนำไปพิจารณาร่วมกันกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยต้องนำกลับมาเสนอสำนักเลขาคณะรัฐมนตรีต่อไป

พืชกระท่อม

ข้อสังเกตจากสภาฯ

  1. กระทรวงสาธารณสุขควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหารและเครื่องสำอางเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการ สามารถใช้ประโยชน์จากพืชกsะท่อม เป็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้
  2. รัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพืชกsะท่อมในทุกมิติ โดยเฉพาะมิติประโยชน์ทางการแพทย์ สนับสนุนให้มีการใช้ใบกระท่อมตามวิถีชุมชน
  3. สนับสนุนการส่งออกพืชกsะท่อมเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผู้เพราะปลูกพืชกsะท่อม ผู้ค้าใบกระท่อม และอุตสาหกรรมพืชกsะท่อมในประเทศ เป็นระยะเวลาอย่างน้อยห้าปีแรก
  4. กำหนดเพิ่มเติมสถานที่ห้ามขาย วิธีการห้ามขาย หรือการห้ามขายในลักษณะอื่น

พืชกระท่อม

นางสาวรัชดา กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการใช้พืชกsะท่อมในทางการแพทย์ ขับเคลื่อนให้เป็นพืชเศรษฐกิจ และสร้างรายได้แก่เกษตรกร

ขณะนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและขยายกระท่อมพันธุ์ดี แจกจ่ายแก่เกษตรกรหลายแสนต้นไปแล้ว เพื่อให้ปลูกเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านในครัวเรือน และสามารถนำไปพัฒนาอาชีพเป็นพืชทางเลือกในอนาคต

ในส่วนของการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รัฐบาลส่งเสริมการสกัดสารไมทราไจนีน” (Mitragynine) ในใบกระท่อมเพื่อมาใช้ประโยชน์ทำผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และอื่นๆ เช่น ต้านโรคซึมเศร้า บรรเทาอาการพาร์กินสัน เป็นต้น มั่นใจได้ว่า พืชกระท่อมจะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศอย่างแน่นอน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo