Politics

ฟาวิพิราเวียร์ : ตอบโจทย์ผู้ป่วยโควิด-19

ตั้งแต่ต้นปี 2564 ประเทศไทยพบคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อโควิด-19ในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หลายคลัสเตอร์เกิดขึ้นในชุมชนแออัดซึ่งมีประชาชนอาศัยรวมอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก ยากต่อการปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างและแนวทางตามที่ราชการกำหนด รวมทั้งการระบาดของโรคโควิด-19 จำนวนมากในครั้งนี้ เป็นเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์อังกฤษซึ่งมีการระบาดได้ง่ายและความรุนแรงของโรคมากทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวนมาก

จากข้อมูลการรักษาพบว่ามีผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือเรียกว่าผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ในระหว่างการรักษาได้มีอาการเริ่มแรงขึ้นจนกลายเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง หรือกลุ่มมีอาการและมีปอดอักเสบจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนหรือเครื่องให้ออกซิเจนแรงดันสูง รวมทั้งมีอาการมากขึ้นจนจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวนมาก

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงมีแนวคิดที่จะเริ่มให้ยา “ฟาวิพิราเวียร์” ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว เพื่อระงับยับยั้งความรุนแรงของโรค ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยต้องเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง ลดการสูญเสียหรือลดอัตราตาย อีกทั้งลดการใช้ห้องไอซียู ซึ่งปัจจุบันยังมีไม่พอเพียงในการรักษาผู้ป่วยสีแดง โดยได้หารือกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและเอกชนแล้ว

อัศวิน1 3

ฟาวิพิราเวียร์ : ตอบโจทย์ผู้ป่วยโควิด-19

สำหรับการใช้ยาครั้งนี้จะเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลภายใต้การดูแลของทีมแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ยาอย่างคุ้มค่าและลดการเกิดภาวการณ์ดื้อยาในอนาคต  โดยจะเป็นการใช้ในลักษณะการทดลองในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวที่ไม่มีอาการและไม่เป็นภาวะกลุ่มเสี่ยงต่างๆ โดยเลือกเฉพาะกลุ่มย่อยที่มีปริมาณเชื้อในร่างกายจำนวนมาก โดยดูจากค่า CT ของการทำ RT-PCR มาจากคำว่า Reverse transcription (RT) และ polymerase chain reaction (PCR) หากมีค่า CT น้อยกว่าหรือเท่ากับ 23 แล้วเปรียบเทียบผลของการให้ยาว่าคนไข้สีเขียวดังกล่าวมีจำนวนเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงเป็นสีเหลืองหรือสีแดงเมื่อเทียบกับก่อนหน้าที่มีการให้ยานำผลสรุปดังกล่าวมาเป็นแนวทางของการให้ยาในระยะต่อไป สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องเป็นไปตามความสมัครใจของคนไข้

อัศวิน2 1

ดูแลสุขภาพจิตผู้ป่วย-เจ้าหน้าที่ ผ่อนคลายหายเครียด

นอกจาก การดูแลทางร่างกายแล้ว กรุงเทพมหานครยังให้ความสำคัญกับการดูแลจิตใจของผู้ป่วยโควิด-19 ทุกราย โดยผู้ป่วยที่เดินทางมารักษาตัว ณ โรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel ) ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร จะได้รับการประเมินความเครียดเมื่อแรกรับ admit และในระหว่างพักรักษาในโรงพยาบาลสนามโดยใช้ “แบบประเมิน ST-5” ผ่านระบบ google form เพื่อประเมินความเครียดของผู้ป่วย เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีความเครียดระดับมากขึ้นไป (คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 8 ) จะให้มีการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาทางโทรศัพท์/ Appication LINE

โดยทีมจิตเวช สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร (ประกอบด้วยนักจิตวิทยาหรือพยาบาลจิตเวช และ/หรือจิตแพทย์ในกรณีมีอาการรุนแรง) ซึ่งมีการจัดเวรในการให้คำปรึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง

พร้อมมีแนวทางการประเมิน การรับปรึกษา และมีการติดตามสอบถามผู้ป่วยดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่ได้รับการปรึกษาจากจิตแพทย์แล้ว ยังมีอาการที่รุนแรง หรือควบคุมไม่ได้ จะพิจารณาประสานส่งโรงพยาบาลหลัก นอกจากนี้ กรณีของทีมบุคลากรทางการแพทย์ มีความกังวลหรือความเครียด สามารถรับคำปรึกษาโดยทีมจิตเวช สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้เช่นเดียวกัน

อัศวิน4

อัศวิน6

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight