Politics

‘หมออ๋อง’ ยอมรับเป็น 1 ใน 44 ยื่นแก้ ม.112

“หมออ๋อง” ยอมรับเป็น 1 ใน 44 ยื่นแก้ ม.112 ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ กังวลกระทบเสรีภาพ-กระบวนการนิติบัญญัติ 

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่เป็น 1 ในส.ส. 44 คน ที่ร่วมลงชื่อเสนอประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลังจากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยว่านโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกลมีการเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง จะมีการเตรียมการชี้แจงอะไรหรือไม่ ว่ายังไม่มีการเรียกแต่อย่างใด และคิดว่าเรื่องนี้จะไม่กระทบการทำงาน ซึ่งคงต้องหารือส.ส.ของพรรคก้าวไกล ทั้ง 43 คนที่ร่วมกันลงชื่อ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบ เพราะตนอยู่ในกรรมการบริหารพรรคชุดนั้นจริง

ยอม

และเห็นด้วยกับการออกนโยบาย 300 ข้อในการหาเสียง เรื่องในอดีตตนมีส่วนรับผิดรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ ที่จะมีการเรียกไต่สวน เรียกพยาน หรืออะไรก็แล้วแต่ ตนพร้อมจะให้ความร่วมมือเต็มที่ ส่วนการชี้แจงที่ผ่านมาสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกระบวนการยื่นกกต.ในเรื่องของนโยบาย รวมไปถึงการตอบคำถามกับสื่อมวลชน ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ทำงานพูดไปตามข้อเท็จจริงที่ เราเตรียมการ

ส่วนกังวลหรือไม่ที่จะกระทบต่อตำแหน่งในอนาคต นายปดิพัทธ์ ระบุว่า กังวลว่าจะกระทบสิทธิและเสรีภาพของกระบวนการนิติบัญญัติ ที่มีอำนาจอื่นหรือองค์กรอื่นมาบอกว่าส.ส.ทำอะไรได้ทำอะไรไม่ได้ ตนยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล ไม่ใช่เรื่องที่ตนจะอยู่ในตำแหน่งนาน แต่เป็นเรื่องที่ประเทศไทยยังไม่หลุดพ้น ออกจากอำนาจที่จะอยู่เหนือหรือล้ำรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางออกควรเป็นอย่างไร นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ขบวนการพิจารณาระยะสั้น สังคมจะเจอคำถามว่ากระบวนการพิจารณาความยุติธรรมขององค์กรอิสระ มีความยุติธรรมและเป็นไปตามจริยธรรมหรือไม่ และเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องใหม่ในสังคมที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เราไม่ได้ไปก้าวล่วงในการพิจารณาคดี แต่หากคำตัดสินไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ นักวิชาการจำนวนมากก็พูดว่าแบบนี้จะเป็นการใช้อำนาจเกินไปหรือไม่ ส่วนเรื่องระยะยาว องค์กรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี 2560 ถึงจะมีต้นกำเนิดมาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่เรื่องหน้าที่ถึงเวลาต้องทบทวนอย่างหนักในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อองค์กรอิสระเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้รับการประเมินอย่างตรงไปตรงมาถึงความจำเป็นที่จะมีอยู่ในอนาคต

เมื่อถามว่า ในอนาคตการนำเสนอนโยบายและการแก้กฎหมาย จะต้องกลั่นกรองหรือไม่ เพราะต่อไปจะทำให้ส.ส.ไม่กล้าเสนอกฎหมาย นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเป็นเรื่องของนิติบัญญัติที่โดนดูถูก และตกต่ำ ว่าถ้าส.ส.ที่เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่สามารถที่จะเสนอกฎหมายได้ ทุกเรื่องต้องผ่านศาลก่อน จึงสามารถดำเนินการได้ ตนกลัวว่าเรื่องนี้จะไม่เป็นไปตามการแบ่งศาลอำนาจ

ส่วนจะต้องดำเนินการอย่างไรนั้น นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ตนมองว่าหากคนในกระบวนการยุติธรรมกระทำความผิด ก็ควรมีกระบวนการในการเอาผิด ไม่เช่นนั้นจะมีอำนาจล้นเกินของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง และจะต้องแก้รัฐธรรมนูญ ว่าเราจะจัดสมดุลอำนาจกันอย่างไร ตนไม่เห็นด้วยที่นิติบัญญัติจะเป็นเอกเทศ โดยไร้การตรวจสอบ ขณะเดียวกัน ผู้ตรวจสอบกลับไม่มีอะไรไปตรวจสอบเขา เรื่องนี้ต้องมากลับมาจัดสมดุลนั้นอำนาจใหม่ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo