Politics

‘ทนายยิ่งลักษณ์’ โพสต์แจงคำถามแบบเอาเรื่อง! มีคำวินิจฉัย 2 ศาล ทำไมยังรอด!!

“ทนายยิ่งลักษณ์” โพสต์แจงคำถามแบบเอาเรื่อง! มีคำวินิจฉัย 2 ศาล ทำไมรอดความผิดทางอาญา?

นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความประจำตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยกฟ้องไร้ความผิดทางอาญาและให้ถอนหมายจับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ดังนี้

ยิ่งลักษณ์

หลายคน ยังตั้งคำถามแบบเอาเรื่อง

หลายคน ยังงงทำไม 2 ศาลแล้วรอด

ผมขอแสดงความเห็นจากที่ได้ฟังคำวินิจฉัยของศาลตามคำพิพากษาศาลฎีกาฯ และตามที่เราเข้าใจและได้ต่อสู้ไว้ในคดี มีสาระสำคัญว่า แม้จะมีคำวินิจฉัยของ 2 ศาลมาแล้ว แต่โครงสร้างความรับผิดทางอาญา ต้องประกอบด้วย การกระทำที่ต้องมีเจตนา และข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตนั้น จำต้องมีเจตนาพิเศษด้วย ศาลฎีกาฯ ท่านจึงต้องพิจารณาและวินิจฉัยจากพยานในการไต่สวนของ ป.ป.ช. ให้ได้ข้อเท็จจริงและมีพยานหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ให้แน่ใจว่าจะลงโทษจำเลยได้ ด้วย

#ความน่าสนใจของทางนิติศาสตร์ที่แตกต่างกัน 2 ประการ คือ

  1. นิติวิธีทางกฎหมาย
  2. เจตนารมย์ของกฎหมาย

ทั้งสองประการส่งผลต่อการตีความและการให้เหตุผลในการวินิจฉัยของศาลที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่าศาลรัฐธรรมนูญ อาจตัดสินตามกฎหมายและยังต้องมองมิติในด้านทางการเมืองในเวลานั้นด้วย

ยิ่งลักษณ์

ข้อพิจารณาเพิ่มเติม (ความเห็นส่วนตัว)

ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 211 วรรค 4 บัญญัติให้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสรพ และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งขอบเขคของการมีผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนี้ แยกออกเป็น

  1. ผลของคำวินิจฉัย ผูกพันทุกองค์กร
  2. เหตุผลที่ศาลใช้จะผูกพันทุกองค์กร จะต้องเป็นเหตุผลที่เป็นสาระสำคัญในการวินิจฉัยเท่านั้น ไม่รวมถึงเหตุผลแวดล้อมหรือเหตุผลประกอบที่ศาลรัฐธรรมนูญหยิบยกเพื่อสนับสนุนคำวินิจฉัยของตน

สำหรับกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2557 ผลผูกพันคือ ความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุด ส่วนเหตุผลที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็นการก้าวก่ายแทรกแซง เข้าใจว่าเป็นเพียงเหตุผลแวดล้อมหรือเหตุผลประกอบที่ศาลหยิบยกมาเพื่อสนับสนุนคำวินิจฉัยเท่านั้น

บางคดีสำคัญก่อนหน้านี้ ศาลยุติธรรม ก็รับฟังพยานหลักฐานจากการสอบสวนและทางนำสืบในชั้นพิจารณาจากพยานหลักฐาน แตกต่างจากศาลรัฐธรรมนูญ ที่จำเลยยกเอาคำวินิจฉัยที่เป็นคุณมาใช้ต่อสู้ในศาล แต่เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาถึงสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ส่วนศาลยุติธรรม จะพิจารณาวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาจากการกระทำในทางอาญาให้ชัดแจ้งจึงจะลงโทษหรือยกฟ้อง

บันทึกหมายเหตุคดีนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจโอนย้ายข้าราชการระดับสูง

27 ธันวาคม 2566 08:48

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK