General

เตรียมรับมือพายุเข้าไทย 1-2 ลูก ฝนตกเพิ่ม ช่วงปลาย ก.ย.-ต.ค.

รัฐบาลพร้อมรับมือพายุเข้าไทย 1-2 ลูก แนวโน้มฝนตกเพิ่ม ปลายกันยายน-ตุลาคม ทุ่งรับน้ำลุ่มเจ้าพระยาเก็บเกี่ยวแล้ว 90%

วันนี้ (22 กันยายน 2565) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์น้ำช่วงปลายเดือน ก.ย. – ต.ค. 65 ในการประชุมคณะทำงานด้านการอำนวยการน้ำ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เมื่อวานนี้ พบว่า มีแนวโน้มทั้งปริมาณฝนที่จะเพิ่มขึ้น และร่องมรสุมพาดผ่านพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ส่งผลให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงอาจมีพายุ จำนวน 1-2 ลูก จะเข้ามาประเทศไทยในช่วงต้นเดือน ต.ค. 65 อย่างไรก็ตามจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดเกณฑ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด

พายุ
นางสาวรัชดาฯ กล่าวว่า ในที่ประชุม มีการกำหนดเกณฑ์ระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่ขณะนี้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีประมาณ 2,200 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที ในขณะที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำในอัตราประมาณ 1,980 ลบ. شركة بوين ม. ต่อวินาที กรณีหากมีปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา 2,500 ลบ. مواقع مراهنات كرة قدم ม. ต่อวินาที จะบริหารจัดการน้ำลงมายังท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และระบายออกทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของเขื่อนเจ้าพระยา โดยพิจารณาปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำป่าสักที่จะไหลเข้ามาสมทบด้วย เบื้องต้นกำหนดให้มีปริมาณน้ำ ณ สถานี อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3,000 ลบ.ม. ต่อวินาที ซึ่งปรับลดลงจากเกณฑ์เดิมซึ่งอยู่ในอัตรา 3,500 ลบ. العاب الكازينو مجانا ม. ต่อวินาที เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงกรณีมีฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้ลำน้ำเจ้าพระยามีศักยภาพในการระบายน้ำได้ดี สามารถรองรับการระบายน้ำออกจากชุมชนเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พายุ 2

นอกจากนี้ จะมีการบริหารจัดการน้ำโดยใช้ทุ่งรับน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งปัจจุบันการเก็บเกี่ยวข้าวในพื้นที่รับน้ำได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 90% คาดว่าจะสิ้นสุดประมาณช่วงปลายเดือน ก.ย. และจะมีการรับน้ำเข้าทุ่งในปริมาณที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเสียหายแก่ประชาชน ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องการปล่อยปลาเพื่อใช้สำหรับเป็นอาหารและสร้างรายได้เสริมให้แก่ประชาชนในช่วงระหว่างการรับน้ำเข้าทุ่ง และจะมีการเร่งระบายน้ำออกจากทุ่งเมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว โดยจะเหลือปริมาณน้ำไว้จำนวนหนึ่งเพื่อใช้สำหรับเพาะปลูกพืชฤดูแล้งที่มีความเหมาะสมต่อไป

“รัฐบาลมีมาตรการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ กอนช. ประเมินสถานการณ์น้ำของประเทศไทยพบว่าอยู่ในช่วงลานีญา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 20% ของค่าปกติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินงานเชิงรุกล่วงหน้า เช่น การเตรียมพร่องน้ำในเขื่อนต่าง ๆ ฯลฯ โดยสถานการณ์ปริมาณน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ยังสามารถรองรับน้ำได้มาก โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ทางภาคเหนือ สามารถรองรับน้ำได้หากมีพายุจรเข้ามา รวมทั้งสามารถกักเก็บไว้ใช้น้ำต้นทุนสำหรับเพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้ด้วย อย่างไรก็ กรณีเขื่อนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กบางแห่ง ที่ขณะนี้มีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก ทางกรมชลประทานได้ปรับเกณฑ์เพิ่มการระบายน้ำและต้องเฝ้าระวังหากมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีการติดตามอย่างใกล้ชิด รวมทั้งจะมีการประเมินพื้นที่เสี่ยงและแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์” นางสาวรัชดาฯ กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo