General

ป้องกันตัวเองจาก โรค ‘ลีเจียนแนร์’ อย่างไร? พร้อมรู้จักแบคทีเรียที่มากับน้ำ ก่อ ‘โรคฝีดิน’ ในบ้านเรา

ป้องกันตัวเองจาก โรค ‘ลีเจียนแนร์’ อย่างไร? พร้อมรู้จักแบคทีเรียที่มากับน้ำ ก่อ ‘โรคฝีดิน’ ในบ้านเรา 

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง จากแบคทีเรียที่มากับน้ำ อย่าเชื้อ ‘ลีจิโอเนลลา’ ที่ก่อให้เกิด ‘โรคลีเจียนแนร์’ ดังนีี้

ลีเจียนแนร์

แนะวิธีป้องกันตัวเอง เตรียมพร้อมรับมือ

ประชาชนจะป้องกันตัวเองอย่างไร?

การป้องกันตัวเราเองจากโรคปอดบวมลึกลับ หากคาดว่าเป็นเชื้อไวรัสติดต่อทางการหายใจ ที่ทำได้คือ การล้างมือบ่อยๆ การสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่ชุมชน และการเว้นระยะห่างทางสังคม

อย่างไรก็ดีหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องต้องรีบระบุสาเหตุของการระบาด หากเกิดมีขึ้นและแจ้งให้ประชาชนได้ทราบอย่างรวดเร็วเพื่อเตรียมพร้อมป้องกันตัวเอง อันอาจช่วยลดอันตรายจากการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อได้

เพราะหากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียไม่ใช่เชื้อไวรัส เช่น “ลีจิโอเนลลา” ที่มากับน้ำจืด การป้องกันจะแตกต่างออกไป กล่าวคือต้องมีการควบคุมคุณภาพของระบบน้ำในสถานที่พัก เช่น ระบบเครื่องปรับอากาศ, แหล่งน้ำ และจุดที่ปล่อยละอองน้ำ เช่น น้ำจากฝักบัว สปา และก๊อกน้ำ

ลีเจียนแนร์

โรคฝีดิน โรคที่มากับน้ำ เหมือนลีเจียนแนร์

“โรคไข้ดิน” หรือ “โรคฝีดิน”

ศ.เกียรติคุณ วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า สำหรับในประเทศไทยแบคทีเรียที่มากับน้ำที่พบมาก คือเชื้อแบคทีเรีย ‘เมลิออยด์’ (Burkholderia pseudomallei) ก่อให้เกิดโรคเมลิออยด์ หรือชาวบ้านเรียกว่า “โรคไข้ดิน”หรือ “โรคฝีดิน” พบมากในช่วงฤดูฝน เพราะเกิดน้ำท่วมขัง ดินชื้นแฉะ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม เกษตรกร หรือผู้ที่ต้องทำงานสัมผัสดินและน้ำโดยตรง จะมีความเสี่ยงที่จะป่วย ‘โรคเมลิออยด์’

เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเมลิออยด์อาศัยอยู่ในดินและในน้ำ จะเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผลที่ผิวหนัง การดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป รวมถึงการสูดหายใจเอาฝุ่นจากดินที่มีเชื้อเจือปนอยู่เข้าไป

ลีเจียนแนร์

หลังติดเชื้อประมาณ 1-21 วันจะมีอาการเจ็บป่วย บางรายอาจนานเป็นปีขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับ และภูมิต้านทานของแต่ละคน อาการของโรคนี้ไม่มีลักษณะที่จำเพาะ คล้ายโรคติดเชื้ออื่นๆ หลายโรค เช่น มีไข้สูง มีฝีที่ผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ อาจติดเชื้อเฉพาะที่หรือติดเชื้อแล้วแพร่กระจายทั่วทุกอวัยวะก็ได้

ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้เป็นหลัก จึงทำให้วินิจฉัยโรคได้ยาก ต้องอาศัยการตรวจ PCR หรือการเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการเป็นหลัก เพื่อใช้ประกอบการตรวจวินิจฉัยและรักษา

ขณะนี้ทางศูนย์จีโนมฯได้ทำการถอดรหัสพันธุ์กรรม “ทั้งจีโนมของเชื้อแบคทีเรียเมลิออยด์” ควบคู่ไปกับการถอดรหัสพันธุกรรม “ทั้งจีโนมของผู้ติดเชื้อเมลิออยด์” เพื่อหาความสัมพันธ์ของอาการที่มีลักษณะไม่จำเพาะ คล้ายโรคติดเชื้อหลายโรค เช่น มีไข้สูง มีฝีที่ผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ อาจติดเชื้อเฉพาะที่หรือติดเชื้อแล้วแพร่กระจายทั่วทุกอวัยวะ เป็นต้น

ลีเจียนแนร์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo