General

เริ่มแล้ว! ผู้ป่วยโควิดสิทธิประกันสังคม พบแพทย์ออนไลน์ ผ่าน 3 แอป

อัพเดท! ผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิประกันสังคม ใช้บริการ 3 แอปพลิเคชัน Good Doctor, แอป MorDee และแอป Clicknic บริการจัดส่งยาถึงบ้าน

สปสช.ร่วมกับ 3 ผู้ให้บริการด้านสุขภาพดิจิทัล ดูแลผู้ป่วยโควิดผ่านบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมบริการจัดส่งยาถึงบ้านครอบคลุมสิทธิรักษาพยาบาลดังนี้

  1. สิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่ 11 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป
  2. สิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่ 11 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป
  3. สวัสดิการข้าราชการ (เบิกกรมบัญชีกลาง) ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป
  4. สิทธิประกันสังคมหรือผู้ประกันตน ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

ผู้ป่วยโควิด

เมื่อตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 

1.สามารถเลือกลงทะเบียน เพื่อพบแพทย์ผ่านออนไลน์ ซักถามและจ่ายยาตามอาการ (หากเข้าเกณฑ์ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ตามดุลยพินิจของแพทย์) พร้อมจัดส่งถึงบ้าน ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

  1. แอปพลิเคชัน Clicknic ให้บริการโดย บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด  รับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์)  สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @clicknic
  2. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ทั่วประเทศ สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @mordeeapp
  3. แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย)รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น  สอบถามเพิ่มเติม Line ID: @gdtt

ผู้ป่วยโควิดสิทธิ

2.รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อยืนยันตัวตนเข้ารับบริการ คัดกรอง ประเมินอาการเบื้องต้น และปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ให้คำแนะนำการดูแลตัวเอง

3.จัดส่งยาตามความจำเป็นให้กับผู้ป่วย โดยบางรายอาจได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ขึ้นอยู่กับอาการและดุลยพินิจของแพทย์

4.เมื่อรับการดูแลครบ 48 ชั่วโมงแล้ว เจ้าหน้าที่จะพูดคุยกับผู้ป่วยอีกครั้งเพื่อสอบถามอาการ และแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองให้ครบ 10 วันตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นแล้วก็จะออกจากระบบการดูแลได้  หากในระหว่างนี้ผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งข้อมูลต่อให้กับ สปสช.เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป

กรณีกลุ่มสีเขียว รับผู้ป่วยโควิด-19 ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 

  • อายุ 15-60 ปี
  • น้ำหนักไม่เกิน 90 กิโลรัม หรือ BMI ไม่เกิน 30
  • ไม่ตั้งครรภ์
  • ไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียง
  • ไม่มีโรคประจำตัว รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน แม้จะคุมอาการได้ก็ตาม
  • ไม่ใช่กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์
  • ไม่มีอาการของโรคโควิด-19 รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ
  • ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น ภาวะอ้วน
  • กรณีคนพิการ รับดูแลคนพิการที่สามารถใช้การสื่อสารทางออนไลน์ได้ และไม่มีอัตราเสี่ยงต่อตัวผู้ป่วยเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo