General

‘สมัชชาแม่น้ำ’ ดึง 35 องค์กร ต้านสร้าง ‘ทางเลียบเจ้าพระยา’

สมัชชาแม่น้ำ เปิดเวทีค้านก่อสร้างทางเลียบเจ้าพระยา จับมือ 35 องค์กรต้านกรุงเทพมหานครหลังเดินหน้าก่อสร้างเฟสแรก ชี้กระทบสาธารณะ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตริมน้ำ

นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) เปิดเผยว่า ตามที่กรุงเทพมหานคร มีแผนที่จะเดินหน้าสร้างทางเลียบเจ้าพระยา โดยเฟสแรกจากสะพานพระราม 7 ถึงกรมชลประทานสามเสน (ฝั่งพระนคร) และจากสะพานพระราม 7 ถึงคลองบางพลัด (ฝั่งธนบุรี) โดยอ้างว่าไม่มีผู้คัดค้านโครงการดังกล่าว สมัชชาแม่น้ำ และ 35 องค์กร ขอคัดค้านโครงการดังกล่าว และขอให้นายกรัฐมนตรี สั่งยุติโครงการฯ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ชาติบ้านเมือง

31219 ทางเรียบแม่น้ำ ๑๙๑๒๐๓ 0035

ก่อนหน้านี้สมาคมฯ ได้เปิดเวทีสาธารณะในหัวข้อ “ทางเลียบเจ้าพระยาสร้างสรรค์หรือทำลาย” โดยได้เชิญองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งภาคประชาสังคมร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งจากการศึกษาและระดมความคิดจากหลายฝ่ายพบว่าโครงการนี้มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์วิถีชีวิตริมน้ำ ศิลปวัฒนธรรม การคมนาคม รวมทั้งในด้านวิศวกรรม และผังเมือง จากเหตุผลดังกล่าวถือซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายและขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น สมัชชาแม่น้ำและเครือข่ายจึงจัดแถลงการณ์ “หยุด! ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา”เพื่อคัดค้านโครงการสร้างทางเลียบเจ้าพระยา นอกจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ แล้วยังมีภาคีวิชาชีพ องค์กร ภาคประชาสังคมและชุมชนต่างๆ เห็นชอบที่จะคัดค้านการก่อสร้างโครงการนี้ อาทิ สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย สมาคมวิศวกรที่ปรึกษา สมาคมอิโคโมสไทย สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งเเวดล้อม (SCONTE) มูลนิธิ ศ. อันนิมมานเหมินท์เครือข่ายเพื่อนแม่น้ำ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนเครือข่ายมักกะสัน กลุ่มบิ๊กทรีส์เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคมฯลฯ

31219 ทางเรียบแม่น้ำ ๑๙๑๒๐๓ 0019

สำหรับจุดยืนเพื่อคัดค้านการดำเนินโครงการฯ สมัชชาแม่น้ำให้เหตุผลประกอบ ดังนี้

  • สมัชชาแม่น้ำ เห็นความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา ที่มีการพัฒนาที่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างเหมาะสมกับบริบทและคุณค่าของพื้นที่ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการก่อสร้างทางสัญจรที่รุกล้ำลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา
  • ทั้งที่ กทม.สามารถดำเนินการแก้ปัญหาการรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยาได้ตามอำนาจทางกฎหมายที่มีอยู่ได้ แต่กลับไม่ทำ ในทางตรงกันข้าม กลับทำเป็นถนนคอนกรีตขนาดใหญ่ที่รุกล้ำแม่น้ำเข้าไปอีก ซึ่งจะทำให้แม่น้ำคับแคบลงทั้งสองฝั่งร่วม 20 เมตร
  • แม่น้ำเจ้าพระยาสมควรถูกอนุรักษ์เป็นโบราณสถานตลอดสายน้ำ เพื่อยกฐานะเป็นมรดกโลกต่อไป แต่การทำถนนรุกล้ำลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา จะทำลายประวัติศาสตร์และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ จะเป็นตัวขวางกั้นความเชื่อมโยงของวิถีชีวิตริมน้ำอันจะส่งผลกระทบต่อความสงบสุขและความปลอดภัยของประชาชน31219 ทางเรียบแม่น้ำ ๑๙๑๒๐๓ 0025
  • การก่อสร้างถนนลงไปในแม่น้ำ เป็นประเด็นที่อ่อนไหวในกรณีที่เกิดอุทกภัย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการไหลของน้ำ ซึ่ง กทม.ควรศึกษาผลกระทบให้ครบถ้วนรอบด้านก่อนอย่างรอบคอบ มิเช่นนั้นจะเกิดผลเสียหายต่อส่วนรวมในอนาคต
  • ล่าสุดจากการที่ กทม.ตัดโครงการดังกล่าวออกบางส่วน จากเดิมที่วางแผนไว้ 14 กิโลเมตร คงเหลือความยาวรวมประมาณ 12.45 กิโลเมตร เพื่อหลบหลีกพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์นั้น แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้ยังมีการศึกษาไม่รอบคอบและยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายแม้แต่จากภาครัฐเองตามที่ กทม.กล่าวอ้าง

 

 

 

Avatar photo