General

ถอดบทเรียน คดีฆ่า ‘ป้าบัวผัน’ ถึงเวลาแก้เกณฑ์อายุเด็กรับโทษ?

ถอดบทเรียน คดีฆ่า “ป้าบัวผัน” ถึงเวลาแก้เกณฑ์อายุเด็กรับโทษ? ลดอาชญากรเด็ก นับวันยกระดับความรุนแรงขึ้น

คดีสะเทือนขวัญ สังคมตื่นตระหนกให้ความความสนใจเวลานี้ คงหนีไม่พ้น คดีฆาตกรรม “ป้าบัวผัน” ย้อนกลับไปวันที่ 12 มกราคม 2567 ตำรวจภูธรอรัญประเทศ ได้รับแจ้งเหตุว่าพบศพหญิงคนหนึ่งบริเวณบ่อน้ำบริเวณหลังปั๊มน้ำมัน ปตท.เก่า (ร้าง) ข้างโรงเรียนอนุบาลศรีอรัญโญทัย ถนนสุวรรณศร อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

เวลา

ภายหลังจากพบร่างไร้วิญญาณ ต่อมาทราบชื่อคือ “ “ป้าบัวผัน” หรือ “ป้ากบ” ชื่อจริง นางสาวบัวผัน ตันสุ อายุ 47 ปี หญิงวัยกลางคนสติไม่สมประกอบ ผู้ต้องหาแสดงตัวทันที “ลุงเปี๊ยก” หรือ “นายปัญญา คงแสนคำ” อายุ 54 ปี ซึ่งเป็นสามีของผู้เสียชีวิต ได้เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้ก่อเหตุทำร้ายร่างกายป้าบัวผันจนเสียชีวิต โดยพฤติการณ์ตนเอาเก้าอี้ฟาดศีรษะถึงแก่ความตายแล้วเอาศพไปทิ้งบ่อน้ำ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปฝากขังตามกฎหมาย

แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้สื่อข่าวที่ลงพื้นที่พบพิรุธจากคำให้การของลุงเปี๊ยกอยู่หลายจุด ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อในคำให้การของผู้ต้องหา พร้อมดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม

ภาพถ่ายหน้าจอ 2567 01 26 เวลา 19.25.50

คดีพลิก

กระทั่ง 14 มกราคม 2567 นักข่าวช่อง 8 พบหลักฐานจากกล้องวงจรปิด ตามคำให้การของ “ลุงเปี๊ยก” แต่กลับปรากฏว่าไม่พบภาพของ “ลุงเปี๊ยก” แต่กล้องวงจรปิดจับภาพ “กลุ่มวัยรุ่น 5 คน” กำลังรุมทำร้าย ป้าบัวผัน และมีการนำหลักฐานไปมอบให้ตำรวจ สภ.อรัญประเทศ จนนำมาสู่การจับกุมกลุ่มผู้ต้องหาตัวจริงซึ่งทั้งหมดเป็นเด็กและเยาวชน

สำหรับกลุ่มวัยรุ่นผู้ก่อเหตุประกอบด้วย เด็กชายแบงค์ อายุ 13 ปี, เด็กชายกั๊ด อายุ 13 ปี, เด็กชายโก๊ะ อายุ 14 ปี, นายบิ๊ก อายุ 16 ปี และ เด็กชายเชน อายุ 14 ปี ซึ่งเป็นลูกชายของข้าราชการตำรวจ ตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวน สภ.อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มวัยรุ่น 5 คน เป็นผู้ก่อเหตุ และทำการสอบสวนวัยรุ่นผู้ก่อเหตุทั้งหมดสารภาพว่าเป็นคนทำร้ายป้าบัวผันจริง โดยกลุ่มผู้ก่อเหตุเล่าเหตุว่าได้เข้าไปกลั่นแกล้งหญิงสติไม่ดี จนทำให้เธอรำคาญโวยวายกระทั่งปาขวดใส่ ทำให้กลุ่มวัยรุ่นไม่พอใจและได้เข้าทำร้ายร่างกายจนป้าบัวผันเสียชีวิตในที่สุด

ภาพถ่ายหน้าจอ 2567 01 26 เวลา 19.24.18

จี้ลดอายุรับโทษตามความรุนแรงของคดี

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นำมาสู่ข้อถกเถียงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับอายุของเด็กและเยาวชน รวมทั้งการเพิ่มโทษให้เด็กและเยาวชน ตามกฎหมายระบุว่า เด็กที่อายุไม่เกิน 12 ปี ไม่ต้องรับโทษ ส่วนคนที่อายุ 12 – 15ปี ถ้าทำผิดไม่ต้องรับโทษแต่ศาลมีอำนาจสั่งมาตรการพิเศษ ให้เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติได้มากที่สุดถึงอายุ 18 ปี และ อายุ 15 – 18ปี หากทำผิดศาลจะสั่งลงโทษหรือไม่ก็ได้ ถ้าลงโทษให้ลดลงกึ่งหนึ่ง แต่หากไม่ลงโทษ ให้เข้าสู่มาตรการฟื้นฟู ส่งไปคุมประพฤติที่สถานพินิจเด็กและเยาวชน ได้จนถึงอายุ 24 ปี

จากพฤติการณ์เด็กและเยาวชนในสังคมปัจจุบันมีความรุนแรงขึ้น และบทลงโทษในข้อกฎหมายที่ยังอ่อน จึงทำให้อาชญากรรมเด็กพบบ่อยมากขึ้น หลายหน่วยงานจี้ให้มีการลดอายุเด็กเพื่อให้รับโทษตามความรุนแรงของคดี ในเรื่องนี้ นายโกมล พรมเพ็ง รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้ออกมาชี้แจง ว่าเรื่องของกฎหมายที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าควรลดอายุเด็กที่กระทำผิดให้ต่ำลง หรือเพิ่มโทษเด็กที่กระทำผิดนั้น เมื่อปี 65 เพิ่งจะมีการปรับแก้กฏหมายจากเด็กที่เข้าสู้การยุติธรรมจากอายุ 10 ปี เป็น 12 ปี และอยู่ระหว่างบังคับใช้กฏหมาย หากจะแก้ไขกฎหมายในการเอาผิดเด็ก คงจะต้องใช้เวลา

ถอดบทเรียน

ซึ่งตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2565 มาตรา 73 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ที่กระทำผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ”

ส่วนมาตรา 74 บัญญัติว่า “เด็กอายุกว่า 12 ปีแต่ยังไม่เกิน 15 ปี กระทำผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนเด็กแล้วปล่อยตัวไป หรือวางข้อกำหนด ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้น ไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปี และกำหนดจำนวนเงินให้ผู้ปกครองจะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท เมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น

นี่ไม่ใช่คดีแรกที่เยาวชนก่อเหตุ หากย้อนไปในปี 2566 อีก 1 คดีสะเทือนขวัญ เมื่อเด็กชายอายุ 14 ปี ก่อเหตุกราดยิงในห้างดัง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 5 ราย ถึงเวลาหรือยังที่ทุกฝ่ายต้องร่วมถอดบทเรียนถึงพฤติกรรมเด็กที่นับวันเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo