General

รวมตัวตึง!! กลโกงมุกเด็ดมิจฉาชีพ ประจำปี 2023 เช็กเลย ที่นี่

ตลอดทั้งปี 2566 มิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ ต่างว้าวุ่น ป่วนคนบนโลกออนไลน์ไม่ใช่น้อย มีรูปแบบการหลอกที่หลากหลาย สารพัดวิธี ที่ทำให้เหยื่อหลงกล

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จะมาถอดรหัสรูปแบบการโกงของมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

มิจฉาชีพ

อ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center)

ปัจจุบันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ และวิธีการหลอกลวง สรรหามุกใหม่ ๆ มาหลอกตลอดเวลา มีการสร้างสตอรี่เรื่องราวให้ตื่นตระหนกโดยมักจะแอบอ้างเป็นหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในรูปแบบของเบอร์โทรปริศนาโทรเข้ามา หรือ SMS ข้อความแนบลิงก์ หลอกดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นเพื่อดูดเงิน

วิธีสังเกต

1. ส่วนใหญ่มักใช้เบอร์ต่างประเทศติดต่อเรามา โดยเบอร์ที่มักพบกันได้แก่ +66 ,+88, +87, +697, +598 และอื่นๆ อีกมากมาย

2. เบอร์ในประเทศไทยจะมีตัวเลขทั้งหมด 10 ตัว หากมีมากกว่าสันนิษฐานได้เลยว่าเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์แน่นอน

3. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐและเอกชน บอกว่าเรามีปัญหานู้นนี่นั้น ให้เราโอนเงินเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา

4. ให้เรากดลิงก์ หรือเพิ่มแอ็กเคานต์ LINE OA ปลอมที่สร้างขึ้น

  • LINE OA ของจริงต้องมีสัญลักษณ์โล่สีเขียวหรือสีฟ้าอยู่หน้าชื่อแอ็กเคานต์
  • LINE OA ของจริงต้องมีให้ผู้ใช้งานกดเพิ่มเพื่อนก่อน ถึงจะรับข้อมูลข่าวสาร หรือพูดคุยกันได้ ซึ่งต่างจากบัญชี LINE ส่วนบุคคล ที่สามารถพูดคุยกันได้ตั้งแต่ยังไม่ได้เพิ่มเพื่อน
  • ภาษาในการพูดคุยจะไม่เป็นทางการ พูดผิดหลักภาษา หรือมีการสะกดผิด
  • หน่วยงานรัฐและเอกชน จะไม่สอบถามข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลสำคัญผ่านช่อง LINE OA

5. ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญมากเกินจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นเลขบัตรเครดิตหน้าและหลัง เลขบัญชี รหัส ATM เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรืออัปโหลดสำเนาบัตรประชาชน แบบนี้มิจฉาชีพ 100 %

6. ลิงก์ที่ถูกส่งมาทาง SMS แล้วบังคับให้กดเพื่อติดตั้งแอปพลิเคชั่นเพิ่มเติม

7. นโยบายในปัจจุบัน ธนาคารยกเลิกการส่ง SMS ให้กับลูกค้าแล้ว


คอลเซ๋นเตอร์

หลอกขายสินค้าออนไลน์

การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสบายและเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน ซึ่งภัยจากร้านค้าออนไลน์ ก็มีหลายรูปแบบทั้งในสื่อโซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชั่นช้อปปิ้งต่างๆ หลอกให้โอนเงินแต่ภายหลังกลับไม่ยอมส่งสินค้าให้ หรือได้ของไม่ตรงปกเหมือนที่สั่งไว้ และเหล่าเพจปลอมสวมรอยเป็นร้านค้าต่างๆ

วิธีสังเกต

1. ความน่าเชื่อถือของร้านค้า ต้องมีสัญลักษณ์เพจ Official หรือหน้าร้านชัดเจน เบอร์โทรศัพท์หรือช่องทางติดต่อเพื่อแจ้งปัญา

2. ขายสินค้าถูกกว่าท้องตลาดมากเกินไป อาจบ่งบอกได้ถึงความไม่มีคุณภาพ หรือเป็นสินค้าปลอม สินค้าเลียนแบบ ควรเปรียบเทียบราคากับร้านอื่นด้วย

3. รีวิวสินค้าแปลกๆ มิจฉาชีพจะใช้แอคหลุม หรือหน้าม้า มารีวิวคอมเมนท์ในเชิงบวก แต่มักจะเป็นแพทเทิร์นเดียวกันหรือใช้ภาษาแปลกๆ เหมือนผ่านการใช้เว็บแปลภาษาต่างชาติให้เป็นภาษาไทย หรือ อาจเป็นรีวิวที่ทางร้านทำขึ้นมาเองก็ได้

4. ยิงโฆษณาใน Social Network เยอะจนผิดสังเกต เป็นเพจที่สร้างมาเพื่อยิงโฆษณาอย่างเดียว ไม่มีเนื้อหาคอนเทนต์อื่นๆ

5. ระบบจ่ายชำระเงินสินค้า หากเป็นร้านที่มิจฉาชีพทำขึ้นมาจะให้ทำการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของบุคคลซึ่งอาจจะใช้บัญชีม้าในการรับเงิน เราสามารถนำชื่อบัญชีนั้นไปตรวจสอบประวัติว่าเคยมีการฉ้อโกงผู้อื่นหรือไม่ ที่ http://xn--92cwp0c0b2a7i.com/ หรือ blacklistseller.com

ขายส้นค้า

หลอกลงทุน (Hybrid Scam)

มิจฉาชีพมักจะสร้างโปรไฟล์หรู หน้าตาดี ถ่ายรูปกับเงินก้อนโต รถหรู บ้านหลังใหญ่ สร้างเรื่องราวให้ดูน่าเชื่อถือ โฆษณาบน Social media ชวนเชื่ออ้างว่าลงทุนหลักพัน ได้เงินหลักแสน และมีหน้าม้ามาคอมเมนท์ว่าทำแล้วได้จริง

หรืออ้างตัวเป็นเทรดเดอร์สอนเทรดสร้างกำไร พยายามทำให้เหยื่อเชื่อว่ามิจฉาชีพเป็นกูรู เพื่อเข้ามาตีสนิทเหยื่อ บางรายอาจเข้ามาเพื่อพูดคุยในเชิงชู้สาว เมื่อเหยื่อเริ่มสนิทใจและหลงกล จะชักชวนให้เหยื่อลงทุนเหมือนตัวเอง โดยจะส่งเว็บไซต์ปลอมให้เหยื่อ และคอยโน้มน้าวจนเหยื่อลงเงินไปจำนวนมาก จากนั้นจะหนีหายไป

นอกจากนี้ที่พบเห็นได้บ่อย คือ การแอบอ้างชื่อผู้มีชื่อเสียง บริษัทเอกชนหรือใช้ภาพหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อชักชวนให้ลงทุน ที่สร้างเพจปลอมขึ้นมายิงโฆษณาไปตามสื่อโซเชียลมีเดีย ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าเพจเหล่านั้นเป็นเพจมิจฉาชีพและตกเป็นเหยื่อในที่สุด

วิธีสังเกต

1. มักจะอ้างว่าได้ผลตอบแทนสูง
2.โดยปกติการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนได้ เพราะผลตอบแทนจะผันผวนตามปัจจัยต่างๆ เช่น สภาวะเศรษฐกิจ ธุรกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3. มีการหว่านล้อม โดยการนำเสนอแคมเปญต่างๆ ให้เร่งรีบตัดสินใจลงทุน

4. แอบอ้างบุคคลมีชื่อเสียง หรือสถาบันต่างๆ บอกว่าใคร ๆ ก็ลงทุน และให้เราไปชวนคนอื่นมาลงทุนเพิ่ม

5.ไม่สามารถตรวจสอบได้ ไม่สามารถรู้แหล่งที่มาของรายได้ธุรกิจ หากนำชื่อไปค้นหาว่าได้รับอนุญาตหรือไม่ ก็หาไม่เจอ
6. ในการสมัครช่องทางการลงทุนผ่านออนไลน์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย มักจะมีการยืนยันตัวตนผ่านทาง SMS เพื่อเป็นการยืนยันตัวตน

7.นอกเหนือจาการยืนยันตัวตน ทาง SMS การทำธุรกรรมจะมีข้อความส่งเข้ามาทาง e-mail เพื่อเก็บเป็นหลักฐานได้

8.หากให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นนอก Store และแอปที่ไม่รู้จัก ขอให้ตระหนักเลยว่ามีกลิ่นตุๆ มิจฉาชีพแน่นอน

9. การลงทุน มีความเสี่ยง ควรศึกษาให้ดีก่อนการลงทุน ดังนั้นหากใครชักชวนให้ลงทุนสามารถตรวจสอบทาง รายชื่อที่ได้รับอนุญาตจากทาง ก.ล.ต.ว่ามี มีตัวตนจริง ได้ที่ www.sec.or.th/licensecheck แอปพลิเคชัน SEC Check First หรือติดต่อไปยังผู้ให้บริการดังกล่าวเพื่อสอบถามรายละเอียดและข้อเท็จจริง

หลอกลง ทุน

หลอกให้รัก (Romance Scam)

มิจฉาชีพจะแฝงตัวมาในสื่อโซเชียลมีเดียหรือแอปพลิเคชันหาคู่ สร้างโปรไฟล์ สวย หล่อ ดูดี มีฐานะร่ำรวย หรือเป็นชาวต่างชาติ เข้ามาพูดคุยเหมือนมีใจ เข้ามาเพิ่มเป็นเพื่อนพูดคุยทำความรู้จักในเชิงชู้สาว

หากเหยื่อหลงเชื่อใจจะถูกหว่านล้อมด้วยคำพูดให้เหยื่อเชื่อว่ารัก จากนั้นจะใช้กลอุบายต่างๆ หลอกให้โอนเงิน เช่น ส่งของมาให้ แต่ติดปัญหาเรื่องภาษีหรือศุลกากร, อ้างญาติป่วยแต่ประกันยังเบิกจ่ายไม่ได้ หรือหลอกว่าได้รับมรดกเป็นเงินมหาศาลแต่ต้องชำระภาษีก่อน เป็นต้น

วิธีสังเกต

1. มีโปรไฟล์รูปร่างหน้าตาดี บุคคลิกมีเสน่ห์ น่าหลงใหล เพอร์เฟคจนน่าแปลกใจ
2. พูดจาดี คำพูดปากหวาน ให้เหยื่อเป็นคนสำคัญ และเอาอกเอาใจ
3. มักจะพูดถึงเรื่องราวความร่ำรวย อวดเงิน รถและบ้าน ของตัวเอง
4. โปรไฟล์อาจเป็นรูปของบุคคลอื่น ควรนำภาพไปตรวจสอบบนอินเทอร์เน็ตก่อนในเบื้องต้น
5. มิจฉาชีพจะไม่ยอมให้มีการวิดีโอคอลพูดคุยกัน
6. มักจะมีเรื่องราวให้เราโอนเงินให้

22 2

หลอกทำงาน (Job offer Scams)

มิจฉาชีพออกอุบายรับสมัครงานในรูปแบบต่างๆ จะใช้วิธีการยิงโฆษณาประกาศรับสมัครงานตามโซเชียลมีเดีย โดยมักอ้างว่า มีตำแหน่งหน้าที่ รายได้ดี เเละมีสวัสดิ งานง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน เช่น รับสมัครงาน “ดูคลิป – กดไลก์ -กดแชร์” งานการตลาด งานรับออเดอร์เป็นต้น อ้างว่ามีค่าตอบแทนให้สูง พยายามล่อลวงให้เราจ่ายเงินก่อน โดยอ้างว่าเป็นเงินประกัน ค่าสมัครสมาชิก หรือเงินลงทุน ฯลฯ

จากนั้นก็อาจจะส่งงานให้เรา ทำให้เราหลงเชื่อว่าได้ทำงานจริงได้ค่าตอบแทนจริง แล้วล่อลวงให้ลงทุนเพิ่ม ก่อนหายไป หรือบางรายโอนเงินค่าดำเนินการให้ปุ๊บหายปั๊บเลยก็มี

นอกจากนี้ยังมีพวกนายหน้าชักชวนไปทำงานต่างประเทศ ที่ยิงโฆษณาหาคนไปทำงาน หรือชักชวนผู้ที่สนใจตามหมู่บ้านต่างๆ เรียกรับเงินค่าดำเนินการค่าวีซ่า หรือค่าเดินทาง เมื่อเหยื่อหลงกลให้เงินก็ไม่ได้พาไปทำงานที่ต่างประเทศแต่อย่างใด

บอกจาี้ยังมีกลุ่มนายหน้าที่พาไปทำงานต่างประเทศจริง แต่….. ถูกหลอกไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน บีบบังคับให้ทำงานโดยไม่สมัครใจ หลอกลวงเอาผลประโยชน์จากผู้อื่น เช่น คอลเซ็นเตอร์ หรือไปเป็นแรงงานทาส ถูกบังคับให้ทำงานวันละ หลาย ชม. ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีวันหยุด ถ้าขัดขืนหรือทำไม่ได้ตามยอดที่ต้องการ ก็จะถูกกักขัง ทำร้ายร่างกาย หรือบางรายถูกข่มขืน หากต้องการกลับมาประเทศจะต้องนำเงินมาจ่ายเป็นค่าไถ่ตัว

หลอกทไงาน

วิธีสังเกต

1. โฆษณารับสมัครงานออนไลน์ ไม่มีการเรียกสัมภาษณ์ ไม่บอกรายละเอียดงาน สถานที่ทำงาน ต้องเอะใจแล้วนะว่ามิจฉาชีพ
2. ข้อมูลบริษัทไม่สามารถค้นหาได้ ไม่มีระบุแผนที่ หรือรูปแบบธุรกิจที่ชัดเจน
3. งานอะไรก็ตามที่ให้เราโอนเงินก่อนเพื่อเป็นค่าดำเนินการ อันนี้มิจฉาชีพแน่นอน
4. สถานที่นัดพบเป็นที่ลับตาคน ไม่มีที่ตั้งบริษัทชัดเจน หรือนัดแถวชายแดน ลักษณะนี้ไม่ใช่งานถูกกฎหมาย 100 %
5. การตรวจสอบการจัดหางานไปทำต่างประเทศ ต้องผ่านกองบริหารเเรงงานไทยไปต่างประเทศ www.doe.go.th/overseas

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo