General

กทม. เปิด 3 แผนลด ‘PM2.5’ และบริหารจัดการฝุ่น ‘ระยะวิกฤต’

กทม. เปิด 3 แผนลด “PM2.5” และบริหารจัดการฝุ่น “ระยะวิกฤต” ตามปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นพิษ

กรุงเทพมหานคร เปิดแผนลด PM2.5 และบริหารจัดการฝุ่นระยะวิกฤต รวม 3 ระยะ โดยแบ่งตามปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นพิษ (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ดังนี้

PM2.5

แผนลดฝุ่นกรณีค่าฝุ่นไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. 

ติดตามเฝ้าระวัง

  • นักสืบฝุ่น นักเรียนอาสาสมัครแจ้งปัญหา
  • RISK MAP  นำข้อมูลจุดเสี่ยงต่างๆ ลงแผนที่ทั้งหมดเช่น โรงงาน แพลนท์ปูน สถานที่ก่อสร้าง อู่พ่นสีรถ เหล่านี้อยู่ตรงไหน และสามารถตรวจสอบได้ว่ามาตรวจเมื่อไหร่ผลตรวจสอบเป็นอย่างไร ทำให้ควบคุมแหล่งกำเนิดได้ละเอียดและ realtime มากขึ้น
  • แจ้งเตือน 1 ครั้ง/วัน
  • ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจฝุ่น 722 จุด อนาคตจะเพิ่มเป็น 1,000 จุด

ป้องกันประชาชน

  • ธงคุณภาพอากาศ รร.กทม.
  • ห้องเรียนปลอดฝุ่น ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ 300 เครื่องให้กับศูนย์เด็กเล็ก 1,734 เครื่องให้กับโรงเรียนอนุบาล รวมทั้งพัฒนาห้องปลอดฝุ่นร่วมกับกรมอนามัย
  • DIY เครื่องฟอกอากาศ
  • ล้างถนน ลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น

กำจัดต้นตอ

  • ตรวจควันดำ รถยนต์ 7 จุด/วัน อู่รถเมล์ 2 วัน/สัปดาห์
  • พัฒนาทางเท้า จราจร จุดจอดจักรยาน
  • ส่งเสริม EV เพิ่มสถานีชาร์จ เป้า 45 จุด
  • FEEDER 4+1 เส้นทาง ให้บริการรถรถยนต์ไฟฟ้าในบางเส้นทาง
  • ตรวจคุณภาพอากาศเชิงรุก 2 ครั้ง/เดือน
  • เตรียมรถอัดฟาง 3 คัน ป้องกันการเผาหญ้าที่รกร้าง

สร้างการมีส่วนร่วม

  • ประชาชนแจ้งเตือนปัญหา ผ่านแอปพลิเคชัน Traffy Foudue
  • จัดตั้งสภาลมหายใจ

PM2.5

แผนบริหารจัดการฝุ่นกรณีค่าฝุ่นตั้งแต่ 37.6 – 75  มคก./ลบ.ม.

ป้องกันประชาชน

  • ตั้ง WAR ROOM ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
  • แจ้งเตือน 3 ครั้ง/วัน

กำจัดต้นตอ

  • ตรวจควันดำ 3 วัน/สัปดาห์
  • ห้ามจอดรถบนถนนสายหลักสายรอง
  • งดจุดธูป เทียน วัด/ศาลเจ้า
  • ห้ามเผาในที่โล่ง ห้ามเผาเศษวัสดุเหลือจากการเกษตร ตอซังข้าว

ติดตามเฝ้าระวัง

  • โรงเรียนสู้ฝุ่น 437 แห่ง เครือข่ายโรงเรียนกทม. รณรงค์ให้ความรู้และความร่วมมือในการป้องกัน
  • แจกหน้ากากอนามัย
  • หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 50 เขต ให้คำแนะนำ ดูแล และรักษา
  • คลินิกมลพิษทางอากาศ 8 แห่ง

PM2.5

แผนบริหารจัดการฝุ่นกรณีค่าฝุ่น 75 .1 มคก./ลบ.ม. ขึ้นไป 

ป้องกันประชาชน

  • แจ้งเตือนผ่าน LINE ALERT
  • กำจัดต้นตอ อาทิ  แพลนท์ปูน ไซต์ก่อสร้าง อู่รถเมล์ ท่าเรือคลองเตย และนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพื่อไปตรวจที่ต้นกำเนิด จากรกถบรรทุก รถเมล์
  • ประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ
  • หยุดการก่อสร้าง เพื่อหยุดต้นตอการเกิดฝุ่นละออง ทั้งจากขั้นตอนการก่อสร้าง และจากรถบรรทุกวัสดุก่อสร้าง
  • ลดค่าโดยสาร BTS ส่วนต่อขยาย

ติดตามเฝ้าระวัง

  • ประกาศขอความร่วมมือให้ทำงานอยู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันกทม.มีเครือข่าย WFH 100 แห่ง
  • ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำฝนหลวง

ช่่องทางตรวจสอบคุณภาพอากาศ

ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

  • แอปพลิเคชัน AirBKK
  • www.airbkk.com
  • www.pr-bangkok.com
  • FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
  • FB: กรุงเทพมหานคร
  • LINE ALERTฃ
  • LINE OA @airbangkok

ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo