General

เปิดศูนย์เยียวยาจิตใจ ‘Care D+ Space’ สยามพารากอน หลังเหตุกราดยิง

“หมอชลน่าน” เปิดศูนย์เยียวยาจิตใจ Care D+ Space สยามพารากอน ตั้งบูธดูแลสุขภาพจิต โดยทีมสหวิชาชีพ หลังเหตุกราดยิงสะเทือนใจ

วานนี้ (5 ต.ค. 2566) ที่ Tourist Service Center ศูนย์การค้าสยามพารากอน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. และ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดศูนย์ดูแลเยียวยาจิตใจ Care D+ Space ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงย่านปทุมวัน

สยามพารากอน

สำหรับศูนย์ดังกล่าว มีการตั้งบูธการดูแลสุขภาพจิต โดยทีมสหวิชาชีพจากกรมสุขภาพจิต มีการคัดกรองสุขภาพจิตผ่านช่องทางดิจิทัล การให้บริการประเมินตนเองด้วยเครื่อง Biofeedback และการให้คำปรึกษาแนะนำดูแลสุขภาพจิตเบื้องต้น

ทั้งนี้ นพ.ชลน่านได้ลองเข้าประเมิน Biofeedback พบว่า มีความเครียดทางกายเล็กน้อย ไม่มีความเครียดทางจิตใจ สามารถจัดการกับความเครียดได้ดี

นพ.ชลน่านกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์เหนือความคาดหมาย มีการทำร้าย มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ซึ่งตั้งแต่วันที่เกิดเหตุกรมสุขภาพจิตมีทีมเยียวยาจิตใจ (MCATT) เข้ามาประเมินสภาพจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด เพื่อรักษาบาดแผลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ขณะที่ทางสยามพารากอนให้ใช้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นพื้นที่ให้บริการของ Care D+ Space ดูแลทั้งคนในห้างที่มาจับจ่ายใช้สอย หรือทราบว่ามีการดูแล นอกจากนี้ ยังทำคิวอาร์โคดให้สแกน เพื่อเข้ารับการประเมินได้ หรือสื่อสารผ่านโทรศัพท์ 1667

444

ขอย้ำว่าจุดนี้ไม่ใช่ศูนย์บำบัดด้านจิตเวช แต่เป็นศูนย์เยียวยาด้านจิตใจ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาคนประสบเหตุ

สำหรับขั้นตอนการรับบริการจะมีให้ประเมินความรุนแรงของความเครียด มี Biofeedback ซึ่งเป็นเครื่องวัดที่บอกสภาวะจิตใจและร่างกายได้ โดยใช้นิ้วมือเข้าไป ใช้เวลา 2 นาที เครื่องอ่านออกมา จากการหลั่งสารในร่างกาย ซึ่งบอกลึกถึงขนาดเรามีสภาวะมองตัวเองอย่างไร ควบคุมสติ สมาธิตอบสนองต่อสิ่งเร้า ลักษณะเส้นเลือดเป็นอย่างไร เป็นต้น

จากนั้นจะส่งเข้าสู่นักให้คำปรึกษาแนะนำ ถ้ามีความจำเป็นเจอผู้เชี่ยวชาญ ก็มีจิตแพทย์สื่อสารทางเทเลเมดิซีน

เราทำมา 2 วันแล้ว ตั้งแต่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยวันแรกมีผู้รับบริการ 23 คน เครียดมาก 9 คน ทุกรายรับการเยียวยาแนะนำ

222

หลังจากนี้จะเปิดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยศูนย์นี้ยังให้บริการชาวต่างชาติได้ มีบุคลากรที่สามารถพูดคุยสื่อสารได้ด้วย ทั้งนี้ การดูแลทางจิตสำคัญ เราพร้อมเป็นเพื่อน ให้คำปรึกษาแนะนำคนรับผลกระทบ ให้กำลังใจทุกคนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อคนไทยในวงกว้าง ถ้าช่วยกันสร้างความเชื่อมั่น ความเชื่อมั่นจะกลับมาเร็ว ผลกระทบจะลดน้อยลงโดยเฉพาะมิติทางเศรษฐกิจ ช่วยกันดูแลมิติทางสุขภาพ โดยเฉพาะฐานเล็กที่สุดคือครอบครัว

ด้าน นพ.ศรุตพันธุ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า Care D+ Space หรือฟื้นฟูจิตใจหลังภยันตราย เป็นความร่วมมือระหว่าง สธ. กทม. และสยามพารากอน การให้บริการจะแบ่งออกเป็นจุด ๆ ได้แก่

111

สถานีแรกเป็นจุดลงทะเบียน จะมีให้สแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อทำการประเมินความเครียดด้วยตนเอง ว่าความเครียดอยู่ระดับใด น้อย กลาง หรือมาก จากนั้นสถานทีที่สอง จะเป็นสถานีเช็กอินเปิดโอพีดีการ์ด ที่จะมีนักวิชาชีพ ทั้งนักวิชาการสาธารณสุขและพยาบาลช่วยประเมินอีกครั้งว่าระดับเครียดอยู่ระดับใด

หากมีความเครียดน้อยก็มีสถานีที่ 3 จะมีโปรแกรมกระตุ้น คือ เซียมซีความสุข เป็นกลเม็ดสร้างความสุข ถ้าเครียดกลางถึงมากมาสถานีที่ 4 พบนักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวช โดยจะมีเครื่อง Biofeedback ประเมินระดับเครียดด้วย

เท่าที่เจอตอนนี้มีเข้ามาประมาณ 30 กว่าเคสที่มีความเครียด ส่วนใหญ่จะเป็นเครียดน้อย มีเครียดมากประมาณ 10 ราย ส่วนหใญ่จะมีโรคเก่า หรือเห็นเหตุการณ์ตรงนั้น ส่วนใหญ่เป็นพนักงานห้างที่หลบอยู่ตรงนั้น ซึ่งจุดนี้สามารถรองรับ 40-50 คนต่อวัน และจะเปิดประมาณ 7 วัน คือวันที่ 5-11 ตุลาคม 2566 แล้วประเมินผลอีกครั้ง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo