General

กรมทรัพยากรธรณี แนะวิธีสังเกต ‘พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม’ วิธีลดผลกระทบ เช็กเลย

กรมทรัพยากรธรณี เผยจุดสังเกตลักษณะพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม พร้อมแนะนำวิธีการลดผลกระทบจากดินถล่ม เช็กรายละเอียดที่นี่

กรมทรัพยากรธรณี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก เผยในช่วงมรสุมฤดูฝน ธรณีพิบัติภัยที่เสี่ยงจะเกิดขึ้นได้มากขึ้นคือ แผ่นดินถล่ม หรือการเคลื่อนที่ของมวลดิน หรือหิน ลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก มีสาเหตุจากทั้งกระบวนการตามธรรมชาติ และการกระทำของมนุษย์

พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม

ส่วนแผ่นดินถล่มในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อมีฝนตกหนัก และต่อเนื่องนานหลายวัน แต่พิบัติภัยนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกพื้ที่ จุดสังเกตลักษณะพื้นที่เสี่ยงเกิดดินถล่ม โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยบ้านเรือนประชาชนที่มีลักษณะ ดังนี้

จุดสังเกตลักษณะพื้นที่เสี่ยงเกิดดินถล่ม

  • หมู่บ้านตั้งในบริเวณหุบเขาแคบรูปตัววี ติดกับภูเขาและใกล้กับทางน้ำไหล
  • หมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณหน้าหุบเขาบนตะกอนน้ำพารูปพัด หรือที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็นสบห้วย
  • มีร่องรอยและรอยดินแยกบนภูเขาเหนือหมู่บ้าน
  • หมู่บ้านที่ถูกน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมบ่อย ๆ มีกองหิน ทราย และซากไม้อยู่เป็นจำนวนมากในลำน้ำ บริเวณหมู่บ้าน และใกล้เคียง
  • หมู่บ้านที่เคยเกิดเหตุการณ์ดินถล่ม หรือมีหลักฐานทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าเคยเกิดดินถล่มในอดีต

พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม

วิธีการลดผลกระทบจากดินถล่ม

เฝ้าระวังการแจ้งเตือนภัยในชุมชนของตนเอง จากกระบอกวัดปริมาณน้ำฝนที่ได้รับ เพื่อสามารถแจ้งเตือนภัยดินถล่มล่วงหน้า

ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัยทำการติดตามและตรวจสอบข้อมูลสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอาสาสมัครเครือข่ายฯ ทธ. เพื่อวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์

ออกข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากให้กับเครือข่าย ฯ ทธ. และประชาชนทั่วไป เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดินถล่ม : ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี และ https://anyflip.com/kera/dslm

ข้อมูลและภาพ : กองธรณีพิบัติภัย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo