General

กอนช. เตือน! 12 จังหวัด ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหหลาก และดินถล่ม 8-11 ก.ค.นี้ เช็กเลย!

กอนช. เตือน! 12 จังหวัด ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหหลาก และดินถล่ม 8-11 ก.ค.นี้ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือ

นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ลงนาม ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

โดยระบุว่า กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

กอนช.

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม

ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและเสี่ยงดินถล่มบริเวณต้นน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรธรณี

พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมือง ที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 8 – 11 กรกฎาคม 2566

กอนช.

  1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอโขงเจียม และสิรินธร)
  • จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร และหว้านใหญ่)
  • จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม และธาตุพนม)
  1. ภาคตะวันออก
  • จังหวัดระยอง (อำเภอนิคมพัฒนา เขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย)
  • จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว)
  • จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ และเมืองตราด)
  1. ภาคใต้
  • จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์)
  • จังหวัดตรัง (อำเภอหาดสำราญ กันตัง วังวิเศษ ย่านตาขาว เมืองตรัง และห้วยยอด)
  • จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา)
  • จังหวัดพังงา (อำเภอตะกั่วป่า และกะปง)
  • จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า มะนัง ท่าแพ และควนกาหลง)
  • จังหวัดพัทลุง (อำเภอป่าบอน)

กอนช.

เตรียมพร้อมรับมือ

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้ั

  1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมือง ที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน
  2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

357711789 584804213824103 3405329812966352651 n

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo