General

กอนช. เฝ้าระวัง 22 จังหวัด เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 8-11 มิ.ย.นี้

กอนช. เฝ้าระวัง 22 จังหวัด เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 8-11 มิ.ย.นี้

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) รายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ดังนี้

กอนช.

เฝ้าระวัง 22 จังหวัด เสี่ยงน้ำท่วมน้ำหลาก

  1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์ พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 8-11 มิถุนายน 2566 โดยมีผลกระทบกับ

  • ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเชียงดาว แม่แจ่ม แม่วาง กัลยาณิวัฒนา จอมทอง สะเมิง อมก๋อย และฮอด) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จังหวัดลำพูน (อำเภอทุ่งหัวช้าง แม่ทา บ้านโฮ่ง และป่าซาง) จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) จังหวัดแพร่ (อำเภอเด่นชัย) จังหวัดพิจิตร (อำเภอบางมูลนาก) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอฟากท่า) จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอบรรพตพิสัย) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอวิเชียรบุรี) จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอหนองขาหย่าง)
  • ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดสระแก้ว (อำเภอวัฒนานคร) จังหวัดชลบุรี (อำเภอพานทอง) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง บ้านค่าย และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แหลมสิงห์ และขลุง) จังหวัดตราด (อำเภอเกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง เมืองตราด แหลมงอบ และคลองใหญ่)
  • ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จังหวัดกระบี่ (อำเภอ คลองท่อม เกาะลันตา เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอละงู) จังหวัดยะลา (อำเภอรามัน)

กอนช.

ผลการดำเนินงาน 12 มาตรการรองรับหน้าฝน

  1. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566

2.1 กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมระบบไฟฟ้าที่สถานีสูบน้ำ

พระโขนงและสถานีสูบน้ำอุโมงค์พระโขนง ซึ่งเป็นจุดระบายน้ำที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร โดยการตรวจสอบระบบจ่ายไฟฟ้าของระบบสูบน้ำ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันปัญหาระบบไฟฟ้าขัดข้องที่อาจเกิดขึ้น ทั้งด้านกายภาพ เช่น ตัดกิ่งไม้ ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสัตว์ และตรวจสอบระบบไฟฟ้า เสริมความมั่นคงของสถานีสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ บ่อสูบน้ำ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประจำจุดพื้นที่ร่วมกัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง

ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ให้สามารถบริหารจัดการการระบายน้ำในการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

2.2 กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกคลองดงน้อย ต.นิยมชัย  อ.สระโบสถ์ จ.ลพบุรี ซึ่งจะช่วยบำรุงรักษาร่องน้ำธรรมชาติให้กลับมาคืนสภาพช่วยกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ลดความรุนแรงของกระแสน้ำในช่วงฤดูฝน เพิ่มประสิทธิภาพในการเดินเรือ การระบายน้ำ การอุปโภคบริโภค และเพิ่มพื้นที่รับน้ำเพื่อใช้ในภาคการเกษตร โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 50 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 100 ไร่

กอนช.

  1. สภาพอากาศ

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมชายฝั่งประเทศเมียนมา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo